Monday, September 24, 2012

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
          หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออ นไลน์ ฉบับวันที่ 17 กันยายน 2552 ได้นำเสนอข่าวในคอลัมน์เกษตร ในหัวข้อข่าวว่า 425 ล้าน เลี้ยงไก่พื้นเมืองฟื้นฟูเศรษฐกิจผู้เลี้ยงสัตว์ปีก โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยจะมีการจัดทำฟาร์มสาธิตประจำอำเภอทุกตำบล ควบคู่กับการถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง ให้เป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันโรคระบาดสัตว์ปีก ซึ่งจะใช้งบประมาณ 425,078,840 บาท ดำเนินงาน เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก ฉะนั้นเราควรหันมาศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองกันดีกว่า


เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือช่วงชั้นที่ 3 เรื่องการเลี้ยงสัตว์

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ได้ผลดี
          ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่จะให้ได้ผลผลิตดีนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ดังนี้
          * พันธุ์ดี * อาหารดี *โรงเรือนดี * การจัดการ (การเลี้ยงดู) ดี * การควบคุมป้องกันโรคดี
1. พันธุ์ดี
          ปัจจุบันไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง และไก่ชน ส่วนใหญ่และไก่พื้นเมืองจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชนสังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนดำ หน้าดำ และแข้งดำ หงอนหิน แต่จะมีแม่พันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา สีทอง แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน ซึ่งเป็นลักษณะหงอนของไก่ชน เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ไก่ชน เพราะว่าไก่ชนมีรูปร่างใหญ่และยาว เจริญเติบโตดี และแม่พันธุ์ก็ไข่ดก เนื่องจากนักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างต่อเนื่องนับ ร้อยปีมาแล้วเกษตกร เพื่อนบ้านจะขอซื้อขอยืมหรือขอไปขยายพันธุ์มากกว่าไก่พันธุ์อื่นๆ กรมปศุสัตว์ได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์คัดพันธุ์ไก่พื้นเมืองมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2532 โดยเริ่มจากสายพันธุ์ไก่ชน จาก 17 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่ง แต่เน้นในด้านการเจริญเติบโต และไข่ดก เพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลาย ถึง 17 สีขน เช่น เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เหลืองเลา ประดู่เลา แสมดำ เป็นต้น

2. อาหารดี
         อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ข้าวเปลือก ปลายข้าว และรำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอาจใช้ข้าวโพด ใบกระถินบดให้ละเอียด กากถั่วเหลือง และปลาป่น ฯลฯ
             โดยหลักการแล้ว ไก่พื้นเมืองต้องการอา หารที่ดีมีคุณภาพที่มีพร้องทั้งไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งมีพร้อมในอาหารสำเร็จรูป แต่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนบท จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรับประทานในครัวเรือน โดยปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ จะมีการให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกโปรยให้กินก่อนไก่พื้นเมืองเข้าโรงเรือน แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ต้องการให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตเร็ว ขายได้ราคาดี ควรให้อาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามที่ไก่พื้นเมืองต้องการ อาจใช้หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 2 (หัวอาหาร 1 ส่วน ปลายข้าว 2 ส่วน รำ 2 ส่วน) หรืออาจใช้สูตรอาหารต่อไปนี้
สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่พื้นเมือง

แรกเกิด จนถึงอายุ 2  เดือน
     1. หัวอาหารอัดเม็ดสำหรับไก่ระยะแรก 8  กิโลกรัม
     2. รำรวม 8  กิโลกรัม
     3. ปลายข้าว 10  กิโลกรัม
สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 2 เดือนขึ้นไป
     1. รำรวม 38  กิโลกรัม
     2. ปลายข้าว 60  กิโลกรัม
     3. เปลือกหอยป่น 2  กิโลกรัม


3. โรงเรือนดี

           โรงเรือนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวแน่นอน โรงเรือนอาจจะทำเป็นเพิงหมาแหงนกลาย แบบหน้าจั่วและอื่น ๆ การที่จะเลือกแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่ในชนบทจะเลี้ยงไก่พื้นเมืองในบริเวณบ้าน และทำโรงเรือนไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใต้ยุ้งฉางการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบนี้จะหวังผลแน่นอนไม่ได้ ไก่พื้นเมืองบางรุ่นรอดตายมาก บางรุ่นอาจตายหมด มีจำนวนน้อยรายมากที่ทำโรงเรือนแยกต่างหากจากบริเวณบ้านพัก ดังนั้น เพื่อให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยพักหลับนอนในตอนกลาง คืนด้วยโรงเรือนไก่พื้นเมืองมีความสำคัญมาก สภาพของโรงเรืองไก่พื้นเมืองที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
         1. สามารถป้องกันแดดกันฝนได้ดี
         2. ภายในโรงเรือนควรโปร่ง ไม่อับทึบ ไม่ชื้น และระบายอากาศดีแต่ไม่ถึงกับมีลมโกรก
         3. ควรสร้างโรงเรือนแบบประหยัด ใช้สิ่งก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น รักษาความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง
         4. ป้องกันศัตรูต่าง ๆ ได้ดี เช่น สุนัข แมว นก และหนู
         5. ห่างจากที่พักพอสมควร สะดวกต่อการเข้าปฏิบัติงานดูแลไก่พื้นเมือง มีที่ให้อาหารและน้ำ

4. การจัดการ (การเลี้ยงดู) ดี

           เมื่อลูกไก่พื้นเมืองออกจากไข่หมดแล้ว ควรให้แม่ไก่พื้นเมืองเลี้ยงลูกเอง โดยย้ายแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองลงมาขังในสุ่มหรือในกรงในระยะนี้ ควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าว หรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่พื้นเมืองกินและมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลาเมื่อลูกไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกไก่พื้นเมืองแข็งแรงดีแล้ว จึงเปิดสุ่มหรือกรงให้ลูกไก่พื้นเมืองไปหากินกับแม่ไก่พื้นเมืองได้โดย ธรรมชาติแม่ไก่พื้นเมืองจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แยกลูกไก่พื้นเมืองออกจากแม่ไก่พื้นเมือง โดยนำไปเลี้ยงในกรงหรือแยกเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักตัวเตรียมไข่ในรุ่นต่อไป

            ลูกไก่พื้นเมืองอายุ 2 สัปดาห์ที่แยกออกจากแม่ไก่พื้นเมืองใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยัง ป้องกันตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงต่างหากในกรงเพื่อให้แข็งแรงปราดเปรียว และเมื่อมีอายุได้ 1 -2 เดือนจึงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระยะนี้ลูกไก่พื้นเมืองจะมีการตายมากที่ สุดผู้ที่เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องน้ำ อาหาร และการป้องกันโรค 
5. การควบคุมป้องกันโรคดี
          ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ผู้ที่เลี้ยงควรยึดหลัก "กันไว้ดีกว่าแก้" เพราะปัญหาโรคเป็นปัญหาสำคัญที่จะทำให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่ประสบผล สำเร็จ ในปีหนึ่ง ๆ จะสูญเสียไก่พื้นเมืองจึงต้องมีการสุขาภิบาลที่ดี และการให้วัคซีนป้องกันโรค ดังนี้
การสุขาภิบาลการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
        1. ต้องดูแลทำความสะอาดโรงเรือนและภาชนะต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค พยายามอย่าปล่อยให้โรงเรือนชื้นแฉะ
        2. สร้างโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
        3. กำจัดแหล่งน้ำสกปรก รอบ ๆ บริเวณโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียง
        4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพ อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าบูดเสีย
        5. มีน้ำสะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
        6. ถ้ามีไก่พื้นเมืองป่วยไม่มากนักให้กำจัดเสีย และจัดการเผาหรือฝังให้เรียบร้อย จะช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี
        7. อย่าทิ้งซากไก่พื้นเมืองที่เป็นโรคลงแหล่งน้ำเป็นอันขาดเพราะเชื้อโรคจะแพร่ระบาดได้
        8. ไก่พื้นเมืองที่ซื้อมาใหม่ ควรแยกเลี้ยงไว้ต่างหาก โดยกักขังไว้ประมาณ 15 วัน หากไม่เป็นโรคจึงนำมาเลี้ยงในบริเวณเดียวกันได้
        9. เมื่อมีโรคระบาดไก่พื้นเมืองเกิดขึ้น ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่สามารถจะดูแลหรือป้องกันรักษาเองได้ ควรปรึกษาผู้รู้

การให้วัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่พื้นเมือง ควรปฏิบัติดังนี้
         การเลี้ยงไก่พื้นเมือง แม้ว่าจะมีการสุขาภิบาลที่ดี แต่โดยปกติสิ่งแวดล้อมจะมีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ไก่พื้นเมืองเป็นโรคได้ทุกเวลา ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจึงต้องสร้างความต้านทานโรคโดยการให้วัคซีนป้องกันโรค ซึ่งควรให้ตั้งแต่ไก่พื้นเมืองอายุยังน้อยและสม่ำเสมอตามตารางที่กำหนด การให้วัคซีนจะให้ผลดีที่สุดต่อเมื่อ
        - สุขภาพของไก่พื้นเมืองแข็งแรง ไม่เป็นโรค
        - วัคซีนที่ใช้มีคุณภาพดี
        - เครื่องมือที่ใช้กับวัคซีนสะอาด และผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคแล้ว
       - ให้วัคซีนไก่พื้นเมืองครบตามขนาดที่กำหนด
       - ให้วัคซีนอย่างสม่ำเสมอและพยายามให้วัคซีนไก่พื้นเมืองที่มีสุขภาพดีทุกตัวในฝูงเดียวกัน
       - การให้วัคซีนแต่ละชนิดควรเว้นระยะห่างกันประมาณ 5-7 วัน


ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
        1.การเลี้ยงสัตว์ปีกมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราอย่างไร
        2.การเลี้ยงสัตว์ปีกไว้บริโภคเองกับซื้อสัตว์ปีกชำแหละจากท้องตลาดมาจำหน่าย อย่างไหนจะได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยกว่ากัน

กิจกรรมเสนอแนะ
       - ศึกษาค้าคว้าเกี่ยวกับ การเลี้ยงสัตว์ปีกชนิดอื่นเพิ่มเติม และทำรายงานส่งคนละ 1 เรื่อง
       - การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
        สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสัตว์ปีก

การเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดี

การเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดี

ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่จะให้ได้ผลผลิตดีนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ดังนี้
  1. โรงเรือนหรือเล้าไก่ ต้องมีโรงเรือนหรือเล้าให้ไก่นอน มีหลังคากันแดดกันฝนได้ ไม่ควรเลี้ยงไก่ไว้ใต้ถุนบ้าน เพราะนอกจากจะไม่ถูกสุขลักษณะแล้ว คนบนเรือนจะถูกไรไก่รบกวนอีกด้วย เกษตรกรสามารถทำเล้าไก่แบบง่าย ๆ ได้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก จาก ฯลฯ สถานที่ตั้งของเล้าไก่ ควรให้ห่างจากตัวบ้านพอสมควรและอยู่ในที่ดอนไม่ชื้นแฉะ ไม่ควรอยู่ใกล้ต้นไม้ เพราะไก่ชอบนอนบนต้นไม้จะไม่เข้าไปนอนในเล้า พื้นเล้าอาจจะปูด้วยแกลบหรือขี้เลื่อยหรือฟางแห้งหนาอย่างน้อย 4 ซ.ม. และต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุก ๆ 3 เดือนให้หนาเท่าเดิมอยู่เสมอ เล้ากว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ ประมาณ 30-40 ตัว
    เล้ากว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ประมาณ 6-8 ตัว
    ควรมีกรงไก่ขนาดเล็กอีก 2 กรง คือ
    • กรงหรือสุ่มสำหรับเลี้ยงแม่ไก่กับลูกอ่อน 1 กรง
    • กรงหรือสุ่ม สำหรับเลี้ยงไก่เล็ก 1 กรง
  2. รางน้ำ ต้องมีรางน้ำสำหรับน้ำสะอาดให้ไก่กิน อาจใช้รางไม้ไผ่ผ่าครึ่งก็ได้
  3. รางอาหาร ควรมีรางสำหรับให้อาหารไก่ เพราะการให้ไก่จิกกินอาหารบนพื้นดินทำให้ไก่เป็นโรคพยาธิได้ง่าย ขนาดราง :
    ไก่ใหญ่ 10 ตัว ใช้รางยาว 1 เมตร
    ไก่รุ่น 10 ตัว ใช้รางยาว 50 เซนติเมตร
    ไก่เล็ก 10 ตัว ใช้รางยาว 20 เซนติเมตร
  4. รางใส่กรวดและเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่น ไก่ทุกขนาดต้องกินกรวดและเปลือกหอยเพื่อนำไปสร้างกระดูกและเปลือกไข่ กรวดและเปลือกหอยต้องตั้งทิ้งไว้ให้กินตลอดเวลา
  5. รังไข่ ปกติแม่ไก่พื้นเมืองจะไข่ในรังไข่เมื่อไข่ได้ 10-12 ฟองจึงจะเริ่มฟักต้องมีจำนวนรังไข่เท่ากับจำนวนแม่ไก่ที่ไข่เพื่อไม่ให้ไก่ แย่งกัน ขนาดรังไข่กว้างและยาว 1 ฟุต สูง 8 นิ้วฟุต หรือใช้เข่งก็ได้รองด้วยหญ้าหรือฟางแห้งให้ถึงครึ่งควรตั้งรังไข่ให้อยู่ใน ที่มิดชิด ไม่ร้อนเกินไป ฝนสาดไม่ถึง แต่แม่ไก่เดินเข้าออกสะดวก
  6. ม่านกันฝน ด้านที่ฝนสาดหรือแดดส่องมาก ๆ ควรมีม่านผ้าใบ กระสอบ หรือเสื่อเก่า ๆ ห้อยทิ้งไว้โดยเฉพาะมุมที่วางรังไข่
  7. คอนนอน สำหรับให้ไก่นอน ควรจะพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของเล้า คอนนอนควรเป็นไม้กลมดีกว่าไม้เลี่ยมซึ่งไก่จะจับคอนนอนได้ดีและเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลที่หน้าอกไก่อีกด้วย

การฟักลูกไก่

การฟักลูกไก่

ธรรมชาติของไก่พื้นบ้าน เมื่อฟักลูกไก่ออกแล้วยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู โดยหาอาหารตาม ธรรมชาติและป้องกันภยันตรายทั้งหลายจนลูกไก่อายุประมาณระหว่าง 6-10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกหากินตามอิสระ การที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่นั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้นได้ดังนี้ ในระหว่างการเลี้ยงลูกนั้น แม่ไก่จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิง ทำให้การออกไข่ของชุดต่อไปล่าช้า อัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจากร้อนจัดแล้วฝนตก ทำให้ลูกไก่ได้รับสภาวะเครียด ถ้าปรับตัวไม่ทันมักจะตาย ในแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ย่อมทำให้ลูกไก่ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำลง เป็นผลทำให้ลูกไก่ตายด้วยโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จำนวนลูกไก่ที่ฟักได้ต่อปีต่อแม่ไก่ลดลง ผลเสียดังกล่าวข้างต้น โดยปกติเกษตรกรมักมองข้ามและไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะราคาไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง ๆ อย่างไรก็ตามถ้าเกษตรกรจะยอมลงทุนบ้างและให้ความเอาใจใส่เพิ่มขึ้นอีกเล้กน้อยก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าว
ลูกไก่ชน
ได้มากพอควร ซึ่งอาจเพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขทำได้โดยการแยกลูกไก่จากแม่ไก่มากเองภายในคอกไก่ การกกลูกไก่ คือการให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่โดยอาศัยความอบอุ่นจากหลอดไฟฟ้า หรือลวดร้อน หรือเตาถ่าน เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเสมือน บริเวณใต้ปีกไก่ของแม่ไก่ที่คอยให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ นั่นเอง อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้สำหรับการกกลูกไก่ประกอบด้วย
  1. วัสดุรองพื้นคอก ที่นิยมใช้คือ แกลบเพราะหาได้สะดวก หรือจะเป็นพวกขี้เลื่อย หรือฟางข้าวแห้งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวพอประมาณก็ได้
  2. แผงกั้นกกลูกไก่ อุปกรณ์ชนิดนี้มีไว้สำหรับจำกัดบริเวณลูกไก่ให้อยู่เฉพาะบริเวณที่มีความอบอุ่น และมีอาหาร ลูกไก่แรกเกิดนั้น จะยังไม่คุ้นเคยว่าบริเวณใดอบอุ่น ถ้าไม่มีแผงกั้นกก ลูกไก่อาจเดินหลงไปตามมุมคอกไก่ซึ่งความอบอุ่นไปไม่ถึง ย่อมส่งผลสูญเสียต่อการเลี้ยง แผงกั้นกกอาจทำจากไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดใดก็ได้ที่กั้นแล้วลูกไก่ลอดผ่านไม่ได้ โดยมากมักวางแผงกั้นกกเป็นรูปวงกลมจะดีกว่าวางเป็นรูปเหลี่ยม
  3. หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ 100 วัตต์พร้อมฝาโป๊ะ 1 ชุด สามารถใช้กกลูกไก่ได้ประมาณ 10-50 ตัว แต่ในหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า อาจดัดแปลงใช้เตาถ่านที่ยังมีความร้อนอยู่วางไว้บริเวณกึ่งกลางของแผงกั้นกก แล้วใช้แผ่นสังกะสีล้อมรอบเตาถ่ายนั้น ไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เดินชน หรือโดดลงไปในเตาถ่าน
  4. ม่านกั้นคอกไก่ มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ลมฝนผ่านเข้าในคอกในระยะการกก ม่านนั้นอาจทำจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น พวกถุงปุ๋ยเก่า ๆ หรือพวกพลาสติก ซึ่งต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำเป็นม่าน
  5. ที่ให้น้ำและอาหาร อาจทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก หรือทำจากยางรถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ ก็ได้ แต่ขนาดของยางไม่ควรกว้างและลึกเกินไป การกกลูกไก่นั้น จะใช้เวลาประมาณ 3-5 สัปดาห์ ส่วนในฤดูร้อนจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ การกกในฤดูร้อนในช่วงกลางวันไม่จำเป็นต้องเปิดกกเพราะอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว บางครั้งยังต้องเปิดม่านเพื่อให้ลมพัดผ่านระบายความร้อนภายในคอกออกไปด้วย ส่วนในเวลากลางคืน ควรเปิดกกและปิดม่านให้เรียบร้อย

ไก่ชน

ไก่ชน
ไก่ชน เป็นกีฬาที่ต้องอาศัยความเข้าใจ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นบาป แต่ถ้าจะมองให้ลึกซึ้งตามมุมมองของคนที่ชอบไก่ชน ก็จะมองเห็นชัดในแง่มุมของศิลปะการต่อสู้ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่มีความพลิ้วไหวและสวยงามมาก ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ การคิดค้นพัฒนาสายพันธุ์เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นหนึ่งในวงการไก่ชน

ในการพัฒนาสายพันธุ์นั้นจะมีใครสักกี่คนที่ประสบผลสำเร็จบ้าง หรือที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองจนเป็นที่ยอมรับของบรรดาพี่น้องในวง การไก่ชน ถ้าทำได้ถือว่าบุคคลนั้นมีความประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความหลงใหลในความซับซ้อนและความละเอียดอ่อน ของกลวิธีเพื่อเพาะพันธุ์สายพันธุ์ไก่ชนที่ดี ผมถือว่ามันเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เพราะทดสอบเพื่อประเมินผลความสำเร็จของการเพาะพันธุ์ไก่ชนนั้นคือ การนำไก่เข้าชนในสนาม หากไม่เป็นที่พอใจก็แสดงว่าการเพาะพันธุ์ที่ผ่านมาล้มเหลวใช้ไม่ได้ ต้องมานั่งทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของความผิดพลาดนั้นๆ ซึ่งกว่าจะทราบผลก็ต้องใช้เวลาเป็นปี

วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน



วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน
วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับออกชน มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประสบการและทุนทรัพย์ อย่างไรก็ตามวิธีที่ผมจะได้นำเสนอในครั้งนี้เป็นวิธีที่เป็นที่นิยมกันมาก มีขั้นตอน ดังนี้

การเตรียมความพร้อม
1. การเตรียมไก่ หรือการคัดเลือกไก่หนุ่ม
ไก่ หนุ่มเป็นไก่ที่เราต้องทำการคัดเลือกหาตัวที่ดีที่สุดในรุ่นเดียวกัน มีความสมบูรณ์ที่สุด และมีลักษณะต้องตา ที่สำคัญ ต้องแม่นตอ 2 แข็ง ลำโต เชิงชนสวย อายุตั้งแต่ 10 เดือนขึ้นไป
2. เตรียมอุปกรณ์และที่นอนสำหรับไก่
ควร จัดเตรียมสุ่มไก่ พรหมสำหรับรอง ผ้าเช็ดน้ำ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ควรให้ไก่ใช้ร่วมกัน และที่สำคัญที่นอนของไก่จะต้องสะอาดปราศจากสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งหลาย

การอาบน้ำไก่
1. ตอนเช้า
ก่อน อาบน้ำไก่ควรสังเกตการณ์ย่อยอาหารของไก่ ว่าไก่มีการย่อยอาหารดีหรือไม่ และจึงทำการบริหารและคลายกล้ามเนื้อ บริเวณคอและโคนปีก ตามด้วยการให้กินยาบำรุงกำลัง แล้วเริ่มอาบน้ำไก่ในช่วงสายของทุกวัน (ให้ปฏิบัติเฉพาะวันที่อากาศแจ่มใส) ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ ลงกระเบื้อง ทำการนวดและเช็ดตามขน และเนื้อตัวบาง ๆ ตามด้วยขมิ้นผสมปูนลงตามร่องเนื้อบาง ๆ แล้วผึ่งแดด พร้อมกับให้ข้าวเปลือก และน้ำ (ให้กินตามสมควรหลังจากนั้นรีบเก็บทันที) ปล่อยให้ไก่อาบแดดไปเรื่อยๆ เมื่อไก่มีอาการหอบก็นำไก่เข้าร่ม อย่าให้กินน้ำจนกว่าจะหายจากอาการหอบ ถึงจะให้กินน้ำได้ (ถ้าไก่ผอมไม่ควรผึ่งแดดให้มากเพราะจะทำให้ผอมมากไปอีก ถ้าอ้วนเกินไปต้องผึ่งแดดให้มากสักหน่อย เพราะจะทำให้น้ำหนักลดลงได้เร็วขึ้น) ควรคุมน้ำหนักทุกครั้งที่มีการซ้อม และการเลี้ยงทุกวันตอนเช้า
2. การอาบน้ำช่วงบ่าย
ก่อนอาบน้ำไก่ควร เช็คสภาพร่างกายไก่ ว่ามีความสมบูรณ์ หรือมีอาการผิดปกติอย่างไร แล้วเริ่มอาบน้ำไก่ในช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. ทุกวัน (ให้ปฏิบัติเฉพาะวันที่อากาศแจ่มใส หรือปรับเปลี่ยนได้ตามความสะดวก และขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่เลี้ยง) ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ ทำการนวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อโดยการเช็ดตามขน ,ร่องเนื้อและเป็นการล้างขมิ้นผสมปูนออกจากตัวไก่ แล้วผึ่งแดด พร้อมกับให้ข้าวเปลือก และน้ำ (ให้กินตามสมควรหลังจากนั้นรีบเก็บทันที) ปล่อยให้ไก่อาบแดดไปเรื่อยๆ เมื่อขนเริ่มแห้งก็ปล่อยไก่เดินบนสนามหญ้า

หมายเหตุ ควรทำการซ้อมไก่ หลังจากที่อาบน้ำได้ประมาณ 7 วัน แล้วจึงเริ่มซ้อมครั้งแรกสัก 1-2 ยก ๆ ละประมาณ 15 นาที ซ้อมสัก 3 ครั้ง เพื่อให้ไก่ได้ใจ และดุดัน ครั้งที่ 4 ซ้อม 2 ยกๆ ละ 20 นาที รวมแล้วให้ได้ 6 – 8 ยก
***ระยะการปล้ำควรห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ***

ไก่ชนเหล่าอีตุ้ม ประวัติและความเป็นมา :


อีตุ้ม เป็นไก่ชนออกสีเยียร์แดง มีประวัติความเป็นมาดังนี้ พ่อของอีตุ้มนั้น เป็นไก่ชนสายพันธุ์ไซง่อน ประเภท ลีลา เบอร์แข้งใหญ่ มีลักษณะเชิงชนที่ดี มีไอคิวสูง ไม่เหมือนกับไก่ไซง่อน อื่นๆ ทั่วไป เหล่าพ่อดั้งเดิมเป็นสายพันธุ์ไซง่อนของ CP คือเจ้า481 และเหล่า เบอร์ 247 เชิงชนดีเป็นไซง่อนไอคิวสูง ต่อมาได้นำเข้ากับแม่พม่า 100 และได้ลูกทั้งสิ้น เป็นตัวผู้ อยู่ 5 ตัว อีตุ้มเป็นตัวสุดท้ายของครอก พี่ๆที่ออกมาก่อนนั้น ชนะในสนามชนไก่ รวมกันหลายต่อหลายไฟท์ สำหรับตัวอีตุ้มเองนั้น ชนะในสนามชนไก่ทั้งสิ้น 5 ไฟท์ ด้วยกัน จากนั้น จึงปลดระวางเป็นพ่อพันธุ์ ที่สำคัญอีตุ้ม มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดพันธุกรรมจาก รุ่นสู่รุ่น และลูกสู่หลาน ได้อย่างดีเยี่ยม ดังจะเห็นได้จาก สีสรรค์ และเกล็ดแข้ง รวมทั้งลีลา และเชิงชน ที่สำคัญนัมเบอร์แข้งนั้น .... ทุกสิ่งที่กล่าวมาถ่ายสู่ลูกหลานได้เป็นอย่างดี จะสังเกตุเห็นได้ชัดว่า ลูกของอีตุ้มนั้น จะออกมาในลักษณะสีเยียร์ ประมาณ 80-90% มีทั้งเยียร์ แดง , เทา, และ เขียว และเกล็ดแข้งจะมีกำไลแทบทั้งสิ้น ในแต่ละครอกจะมีประมาณ 40% ที่เป็นกำไลพันลำทั้งลำ นอกนั้น จะมีกำไลปะปนอยู่ด้วยแทบทุกตัว อาจจะเป็นใต้เดือน ตรงเดือย เหนือเดือย หรือเป็นแบบกำไลฟ้าผ่า ก็มีให้เห็นบ่อย แต่รับประกัน เบอร์แข้งหนักหน่วง ไก่ร้อง ไก่ดิ้น ไก่ชัก แทบทั้งสิ้น

เดิมทีอี ตุ้มเป็นของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในจังหวัด ชลบุรี กว่าจะได้อีตุ้มมาเข้าสังกัดนั้น ยากเย็นแสนเข็ญมาก มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เป็นผู้ไปเจรจาของซื้อมาให้ ใช้เงินไปจำนวน 170,000 บาท รวมทั้งนกเขาชวา และนกกรงหัวจุกอีกจำนวนหนึ่ง ได้ไก่หนุ่มมาทั้งหมด ตัวผู้ 3 ตัว และตัวเมีย 3 ตัวด้วยกัน คือ อีตุ้ม, เพชรดำ และเจ้าบ่อทอง ส่วนตัวเมีย 3 ตัวนั้น ปัจจุบันได้กระจัดกระจายหายไปแล้ว คาดว่าจะมีผู้หวังดีรับไปอุปการะเลี้ยงดู ..... ทั้ง 3 ตัวนั้น เป็นไก่ดีทั้ง 3 ตัว เลี้ยงชนชนะรวมกันทั้ง 3 ตัว ได้17 ไฟท์ ต่อมาเจ้าบ่อทองไฟท์ที่ 4 โดนตีตาบอด จึงปลดระวางทำพ่อพันธุ์เป็นอันดับแรก แต่ให้ลูกออกมานำไปชนก็ตาบอดกลับมาทั้ง 2 ตัว เลยไม่ได้นำมาทำพ่อพันธุ์อีกเลย คงเหลือเจ้าเพชรดำ และอีตุ้มที่ยังคงออกท้าชนเรื่อยไป ต่อมาได้ปลดระวางอีตุ้ม และเจ้าเพชรดำเป็นพ่อไก่...ตามลำดับ
ชื่อพ่อพันธุ์ : อีตุ้ม (ปัจจุบัน เสียชีวิตแล้วเมื่อปี 2553 อายุทั้งสิ้น 11 ปี)
สี : เยียร์แดง ลายดอก
สายพันธุ์ : พม่า+ง่อน
เกล็ด : กำไลพันลำ ปัดตลอด แตกหน้าเดือย
ลีลา เชิงชน : ขยับโยก ใต้คาง ถอยดีด ตีซอก ซ้าย-ขวา ตีคอ ตีกระเดือก (หัก ชัก ดิ้น).....เบอร์แข้งหนักมาก
สถิติ : 5 ไฟท์

ลูกๆที่กำลังทำเนื้อทำตัว อยู่ในขณะนี้ แบ่งเป็นชุดๆ ชุดแรกตั้งชื่อ ว่าชุด " สามก๊ก" มีด้วยกันหลายตัวแต่ที่เก็บไว้เพื่อทำสายพันธุ์ต่อนั้น เราตั้งชื่อรุ่น หรือชุดว่า "สามก๊ก" มาทำความรู้จักกับพวกเค้าเลยครับ ชุดนี้มีทั้งหมด 14 ตัว ไปอยู่กับเจ้าของสนามชนไก่แถวสุขาภิบาล 3 เป็นสีแดง 2 ตัว, อยู่กรุงเทพกรีฑา 1 ตัว และที่อื่นๆ


ชื่อ / Name
 รายละเอียด / Description หมายเหตุ / Remark

กวนอู
อายุ 11 เดือน เป็นลูกของอีตุ้ม ชุดแรกๆที่ออกมาสร้างชื่อเสียง สถิติ 4 ไฟท์ ตีไก่ตายมาแล้ว 3 ตัว ไฟท์แรกเสมอ
สีออกเป็นสีเยียร์แดง รอย 3.0
 
 
เตียวหุย
 อายุ 11 เดือน เป็นไก่สีออกเทา (เยียร์เทา) มีลำหัก ลำชัก ซ้อมปล้ำตีไก่หัก มาแล้วถึง 2 ตัว ระหว่างไล่อัน ปัจจุบันกำลังเตรียมทำตัวต่อไป
รอย 3.1
 
 
จูล่ง
 เป็นไก่เยียร์สีเขียว มีลำหัก ลำชัก อายุได้ 9 เดือน กำลังจับเลี้ยงทำเนื้อทำตัว ปล้ำซ้อมมา 3 อัน ไม่เคยเกิน 12 นาที....
1.  ครั้งแรกเจอกันเอง กับเจ้าขงเบ้ง ไก่เหล่าเดียวกัน ตีหัก ตีชัก เป็นเหตุให้เราไม่นำไก่เหล่าอีตุ้มด้วยกันมา ซ้อมกันเองอีกเลย...ยืนได้ประมาณ 17 นาที
http://www.youtube.com/watch?v=8tP-DHaP9Pk
2. ครั้งที่ 2 ปล้ำกับไก่ เยียร์ด้วยกัน ตี กระเดือก ตีลำโต ปล้ำได้ เพียง 7 นาที ตีคู่ต่อสู้หางบานทุกดอก มีหักทุกลำ เจ้าของขอจับออกก่อนๆที่จะโดนหนัก
http://www.youtube.com/watch?v=lxlvQxEANFU
3. ครั้งที่ 3 ปล้ำกับไก่พม่า ได้แค่ 8 นาทีกว่าๆ มีหัก มีชัก คู่ต่อสู้ตั้งใจจะมาปราบเหล่าอีตุ้ม ผลปรากฏว่ากระโดดออกจากสังเวียน หนีตายในนาทีที่ 8
http://www.youtube.com/watch?v=sY_exlRl84s
ปัจจุบันเจ้าจูล่ง เริ่มเลี้ยงทำตัวแล้ว รอย 3.0
 
 
เจ้าขงเบ้ง
 เป็นไก่เยียร์สีน้ำตาลเทา อายุได้ 9 เดือน ปล้ำซ้อมมาแล้ว 1 ครั้ง พอดีโดนดึงขนหางหลุด ตอนไล่จับเข้าสุ่ม เลยไม่ได้นำออกทำตัว ใช้เป็นพ่อไก่ คาดว่าหลังจากถ่ายแล้วขนหางขึ้นจะนำมาใช้ทำตัวต่อไป
ปล้ำได้เพียง 5 นาทีกว่าๆ คู่ต่อสู้โดนลูกกระเดือก วิ่งออกทันที
รอย 3.4
 
 
เจ้าเล่าปี่
 ปัจจุบันปล้ำซ้อมไปแล้ว 3-4 ครั้ง ตีไก่หัก ชัก ดิ้น มา 2 ตัว อายุเพิ่งจะได้ 10 เดือน เลยยังไม่ได้เคี่ยวเข็ญนัก
รอย 3.0
 

โจโฉ
อายุได้ 9 เดือนเศษ ปล้ำไล่แข็งมา 7-8 อัน แล้วเตรียมออกเร็วๆนี้ ตีไก่ ตาปิด บอดมาแล้ว มีหัก ชัก ดิ้น เห็นๆ

รอย 2.8
 

ลิโป้
อายุได้ 10 เดือนเศษ เป็นไก่ตัวใหญ่ที่สุดในรุ่น น้ำหนักอยู่ที่ 3.7 ยังไม่สามารถหาคู่ซ้อมได้ ลองเอาไก่ลูกอายุ รอยใกล้เคียงกัน เตะดูปรากฏว่า ตีไก่ลูกอายุ หัก...ลมแบบไม่ต้องยืน เบอร์แข้งหนักสุดๆ ปัจจุบันใช้เป็นพ่อพันธุ์ อยู่ คาดว่าลูกชุดแรกจะออกประมาณ กลางเดือน กุมภาพันธุ์ 2553  

เตียวเสี้ยน
เป็นตัวเมีย อายุ ได้ 9 เดือนเศษ กำลังทดลองผสมกับพ่อไก่ ได้ไฟท์ มาแล้ว 4ไฟท์ ปัจจุบันถ่ายอยู่ เลยนำเข้าผสมพันธุ์ก่อน คาดว่าลูกชุดแรกจะเกิด เดือน กุมภาพันธ์ 2553 เช่นกัน  
     

 ชุดลูกอีตุ้ม ชุดถัดไป เข้ากับเหล่าเพชรดำ ใช้ชื่อรุ่นว่า รุ่น " มังกรหยก" ชุดนี้มี 7 ตัว
Name / Picture Description Remark

ก้วยเจ๋ง
ตัวนี้ไปอยู่อุบล  

มารบูรพา
ตัวนี้ส่งไปอยู่ที่ยะลา  

ยาจกอุดร
ตัวนี้ไม่แน่ใจนะครับ แต่น่าจะกทม แถวพระราม 9  

พิษประจิม
ตัวนี้ส่งไปโคราช  


   เปิดจำหน่ายอยู่นะครับ
   เปิดจำหน่ายอยู่นะครับ
   ตัวเมีย ชุดมังกรหยกนี้ ส่งไป ลพบุรี 1 ตัวครับ  

 ชุดต่อไป ตั้งชื่อว่า ชุด " เพชรพระอุมา " เข้ากับแม่สายมณีแดง ร้อยเอ็ด และ แม่ง่อน(โยกเยก) ชุดนี้มี 7 ตัว
Name / Picture Description Remark

รพินทร์ ไพรวัลย์
ชุดนี้สีออกเทา และดำ มีบางตัวติดสร้อยแดง มาด้วย  จำหน่ายไปแล้ว

จามเทวี
ตัวนี้คาดว่าจะส่งไปอยุธยานะครับ  

แม่แหม่ม
 ไปอยู่สุรินทร์ นะครับ  จำหน่ายไปแล้ว
 
แงซาย
 สีออกสีเขียว นะครับ ทั้งตัว  เปิดจำหน่ายอยู่ครับ

ตาเกิ่น
  เปิดจำหน่ายอยู่ครับ


 ยังไงจะทยอยลงให้ชมทุกชุดนะครับ แต่ละชุดมีน้อยมากๆครับ....

ไก่ที่ชนได้ทุก สไตล์


 

ไก่ที่ชนได้ทุก สไตล์มีไหมเป็นอีกคำถามที่รอคำตอบจากหลายท่าน ...ในความเป็นจริงแทบไม่มีเลย ไก่ที่สามารถชนได้ทุกสไตล์นั้นส่วนมากเป็นไก่ที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว จะหาในสายเลือดใดเลือดหนึ่งคงพบยาก แต่หลายท่านก็ได้แต่แสวงหา...ประสบการณ์กว่า 30 ปีในวงการสอนให้รู้ว่าไก่ที่สามารถชนได้ทุกสไตล์นั้นเป็นเพียงไก่บางตัวที่ มีลักษณะพิเศษเท่านั้น เมื่อเวลาถ่ายทอดสายเลือดมันจะไม่สามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นทั้งหมดอันเป็น ลักษณะพิเศษของมันไปยังลูกหลานได้ทั้งหมด

สรุปก็คือมันจะถ่ายทอดสาย เลือดแบบขาด ๆ เกิน ๆ ในบางสิ่งบางอย่างเสมอ ดังนั้นเราจึงพบว่าไก่ เก่ง ๆ จะมีมีลูกที่เก่งเหมือนตัวพ่อเลยสักตัว อย่างมากก็ใกล้เคียง

แต่บาง ตัวเมื่อผสมกับแม่สายเลือดถูกทางกันก็จะได้ความพิเศษที่เหนือกว่าตัว พ่อ..คือเก่งกว่าพ่อ แต่ลักษณะเด่นของพ่อที่มีทั้งหมดก็ไม่ปรากฎในรุ่นลูกทั้งหมดเช่นกัน

ดัง นั้นเราจึงพบว่าในการเลี้ยงชนจริง ๆ จะปรากฎในทุกเห่าทุกเชิงทุกปีไป เพียงแต่ว่าไก่สไตล์ใดจะมีมากมีน้อยตามกระแสที่คนเลี้ยงเพาะพัฒนาขึ้นมาเท่า นั้นเอง อย่างคนเลี้ยงไก่จะพบว่าตอนนี้ป่าก๋อยก็มาแรงเพราะสามารถปะทะพม่าได้อย่าง สนุก ในขณะที่คนเลี้ยงไก่เชิงไทยก็พลอยดีใจเพราจะได้เลี้ยงไก่ไทยไปตีกับป่าก๋อย ส่วนพวกเลี้ยงลูกผสมและพม่าก็หวังว่าจะมาตีกับไก่ไทยดังนี้เป็นต้น

จึงสรุปว่าเก่งที่สุดไม่มีมีแต่งูกินหางกันเรื่อยไป


การส่งไก่ชนไทย ไปต่างประเทศ

การส่งไก่ชนไทย ไปต่างประเทศ

การเลี้ยงไก่ชน สัตว์เศรษฐกิจที่มาแรงขณะนี้ นอกจากตลาดในประเทศแล้วยังมีตลาดต่างประเทศอีกด้วย ตลาดต่างประเทศเป็นตลาดที่มีศักยภาพ มีแนวโน้มที่เติบโตมาก จากสถิติตัวเลขของกรมปศุสัตว์ ระบุว่า ปี ค.ศ.1999 มีการส่งไก่ชนไทยไปต่างประเทศตลอดทั้งปี รวม 3,628 ตัว( คงไม่นับรวมที่เดินข้ามแถบชายแดน) เป็นมูลค่าเท่าไรก็ต้องประมาณการเอาเอง ประเทศที่ส่งไปนั้นจากรายงานของกรมปศุสัตว์เช่นกันแจ้งว่าเมื่อปี 1999 มีการส่งไก่ชนไทยไป อินโดนีเซีย ( 3,513 ตัว ) บรูไน ( 26 ตัว ) กัมพูชา ( 20 ตัว ) สหรัฐอเมริกา (6 ตัว ) ฯลฯ ผู้ค้ารายใหญ่คงไม่มีปัญหาสำหรับการส่งออกหรือนำเข้า แต่รายใหม่รายย่อยหรือผู้สนใจอยากส่งไก่ไปขายเมืองนอก หรือสั่งไก่ชนจากต่างประเทศเข้ามาบ้างนั้นคงต้องศึกษาหาวิธีก่อน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ท่านผู้อ่านจึงขอนำระเบียบของกรมปศุสัตว์ เกี่ยวกับการส่งสัตว์ไปต่างประเทศ และการนำเข้ามาเสนอให้ทราบกันเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจ

การนำออกสิ่งมีชีวิต

การดำเนินการล่วงหน้า

ผู้ขออนุญาตนำสัตว์มีชีวิตไปยังประเทศใด ให้ติดต่อกับประเทศนั้นเพื่อขอทราบเงื่อนไข (Requirement) การนำสัตว์มีชีวิต เข้าประเทศนั้น ผู้ขออนุญาตฯ นำเงื่อนไข (Requirement) ที่ได้รับมาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าออก ที่ จะนำสัตว์ออก เพื่อเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์จะได้ดำเนินการตรวจสอบโรคสัตว์ ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอื่น ๆตามเงื่อนไขที่ประเทศปลายทาง กำหนดให้ถูกต้องเรียบร้อยตามความประสงค์ของประเทศปลายทางนั้น ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้องขอนำสัตว์ออกนอกประเทศด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนนำออก ตามแบบฟอร์มที่กรมปศุสัตว์กำหนด ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าออกนั้น พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว หากไม่สามารถติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจพร้อม แบบสำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบมาด้วย ในกรณีที่สัตว์จะนำออกได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด หรือได้รับการทดสอบโรคระบาดแล้ว ให้ผู้ขออนุญาตนำหลักฐานการฉีด วัคซีน หลักฐานการทดสอบโรค มาแสดงประกอบขณะยื่นคำร้องต่อสัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์ เพื่อพิจารณาอนุญาตนำออกราชอาณาจักรด้วย ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรเพื่อการค้า ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำการค้าสัตว์ตามแบบฟอร์มของกรมปศุสัตว์ และแนบ ใบแสดงราคาสัตว์มาด้วยทุกครั้ง ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาราจักรต้องเขียนชื่ผู้ส่งออกและผู้รับปลายทาง เป็นภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตรงกับเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสือเดินทางเพื่อเจ้าหน้าที่ใช้ประกอบในการพิจารณาออกใบรับรอง สุขภาพสัตว์

การดำเนินการช่วงนำออก

เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกหนังสือใบอนุญาตนำออกฯ (แบบ ร.9) และหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ ( Health Certificate) ฉบับภาษา อังกฤษให้ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ขออนุญาตนำไปแสดงต่อสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ (ท่าเข้า) ของประเทศปลายทาง ผู้ขออนุญาตนำออกต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สายการบิน หรือเจ้าหน้าที่เรือสินค้า และเจ้าหน้าที่ศุลกากรด้วยตนเอง โดยนำเอกสารหนังสือใบ อนุญาต (แบบ ร.9) ของกรมปศุสัตว์ไปแสดง ผู้นำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำออกฯ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499
ขั้นตอนการส่งสัตว์เลี้ยงออกนอกราชอาณาจักร
  • ยื่นคำร้องขอส่งสัตว์ออก (แบบ ร.1/1)
  • ตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนการเดินทางไม่เกิน 2-3 วัน ด่าน ฯ
  • ออกใบอนุญาตส่งสัตว์ออก (แบบ ร.9) พร้อมเอกสารรับรองสุขภาพสัตว์ (HEALTH CERTIFICATE)
คำแนะนำ ในการยื่นคำร้องขออนุญาตส่งสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร ควรมีเอกสารประกอบดังนี้
  • สำเนาพาสปอร์ตเจ้าของสัตว์ สำเนาบัตรประจำตัวผู้ดำเนินพิธีการส่งออก
  • สำเนาใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (RABIES VACCINATION CERTIFICATE)
กรณีสุนัข แมว ส่งออก ถ้าเป็นนก หรือสัตว์ชนิดอื่น ต้องมีเอกสารรับรองการส่งออกจากกรมป่าไม้ หรือคำยินยอมให้ส่งออกได้จากเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์ป่าท่าอากาศยานกรุงเทพฯ และหรือมีเอกสาร CITES กำกับ

การนำเข้าสัตว์มีชีวิต

การดำเนินการล่วงหน้า

ติดต่อ สอบถาม ขอคำแนะนำเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้น เนื่องจากสัตว์นำเข้าต้องผ่านการกักตรวจจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่าง ประเทศ ณ คอกกักกันสัตว์ของด่าน หากผู้นำเข้าประสงค์จะกักกันสัตว์ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ตรวจ รับรองความเหมาะสมให้เรียบร้อยก่อน
การยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าฯ ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันและควรจะติดต่อด้วยตนเอง โดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัว ผู้มอบอำนาจแนบมาด้วยทุกครั้ง
กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริง จึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการ อนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การนำเข้าของสัตว์นั้น
ผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำเข้า ฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) ของกรมปศุสัตว์แล้วให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อประเทศต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด (เงื่อนไขประกอบการนำสัตว์เข้าประเทศของกรมปศุสัตว์ จะปรับปรุงสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นปัจจุบัน และป้องกันมิให้โรคระบาดสัตว์ ทุกชนิดจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย)
ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึงเพื่อสัตวแพทย์ควบคุมรถบรรทุกสัตว์ไปยังสถานกักกัน สัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด และออกเอกสารใบแจ้ง อนุมัตินำเข้า (ร.6) ให้ผู้ขออนุญาตนำไปติดต่อ ดำเนินการทางพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น สัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต้นทาง หรือเจ้าหน้าที่สถานฑูตประเทศต้นทาง ประจำประเทศไทย หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ต้องตรงตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์กำหนด ทุกประการ ถ้ามีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ไม่ตรงตาม เงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด สัตว์นั้นจะไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศไทย สัตว์ที่นำเข้ามาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree) แนบมาด้วยทุกครั้ง
ผู้นำเข้าต้องเตรียมสำเนาเอกสารแสดงราคาสัตว์ มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำเข้าราชอาณาจักร การดำเนินการช่วงนำเข้า ผู้นำสัตว์เข้าราชอาณาจักรที่มิใช่สัตว์พันธุ์ หรือเป็นสัตว์พันธุ์แต่ไม่มีหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติสัตว์นำเข้าฯ ประกอบมา ผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าราชอาณาจักรที่กำหนดในกฏกระทรวงฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542 เมื่อเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้ว จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า นำสัตว์ไปกักตรวจ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กำหนด
การดำเนินการหลังการนำเข้า สัตว์จะถูกนำไปกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ในระยะเวลาที่นักวิชาการสัตวแพทย์จะพิจารณา เพื่อให้นักวิชาการสัตวแพทย์ เก็บตัวอย่างต่าง ๆ จากสัตว์ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าปลอดโรค และผ่านพ้นระยะเวลาการกักกันแล้ว จึงจะอนุญาตเคลื่อนย้าย ออกจากสถานกักกันสัตว์ได้ โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกใบอนุญาตนำเข้า (ร. 7) มอบให้ผู้นำเข้าไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีสัตว์ป่วย สัตว์ตาย ขณะเดินทางมาถึง หรือระหว่างกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ทันที เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและ เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อชันสูตรโรคต่อไป

ชีวิตที่ต้องชน

 เมื่อการชนไก่กลายสภาพจากกีฬาพื้นบ้านสู่ธุรกิจที่ ให้ผลตอบแทนงาม จนทำให้สังเวียนไก่ชนเป็นมากกว่าสนามกีฬา นักสู้ติดปีกผู้ไม่อาจเลือกทางเดินสายอื่นคงไม่เคยรู้ว่า เลือดเนื้อที่มันต้องสังเวยจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นผลประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือใคร

 

  แม้จะไม่มีใครสามารถระบุช่วงเวลาที่แน่ชัดของต้นกำเนิดไก่ชนในประเทศไทยได้ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บรรดาผู้ศึกษาตำนานไก่ชนมักนำมากล่าวอ้างอยู่ เสมอ คือภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงการเล่นชนไก่ของพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชาที่เมือง หงสาวดี ฝีมือพระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จัน จิตรกร) ภายในวิหารวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีคำบรรยายว่า "พระนเรศวรเมื่ออยู่หงสาวดี เล่นพนันไก่กับมังสามเกลียด มังสามเกลียดก็ว่าไก่เชลยเก่ง พระนเรศวรตรัสตอบว่า ไก่เชลยตัวนี้จะพนันเอาเมืองกัน ต่างองค์ต่างไม่พอใจในคำตรัส พ.ศ. 2121 พระชันษา 23 ปี"
        หากอ้างอิงตามข้อความดังกล่าวก็แสดงว่าคนไทยเลี้ยงและตีไก่ชนมาไม่น้อยกว่า 400 ปี ขณะที่ผู้รู้บางท่านเชื่อว่าน่าจะสืบย้อนไปได้ถึงสมัยสุโขทัยหรือศรีวิชัย เลยทีเดียว ส่วนประวัติศาสตร์ของชนชาติอื่นนั้นสามารถย้อนกลับไปถึงสมัยก่อนคริสตกาล ซึ่งถือว่าไก่ชนเป็นส้ตว์ที่ควรเคารพนับถือ บันทึกของดีโอโดรัส ซีคูลัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ระบุว่า ชาวซีเรียโบราณบูชาไก่ชนเยี่ยงเทพเจ้า ขณะที่ชาวกรีกและโรมันเชื่อมโยงไก่ชนกับเทพอพอลโล เมอร์คิวรีและมาร์ส
        ทว่าหน้าประวัติศาสตร์กลับไม่เคยบันทึกถึงจุดเริ่มต้นในการนำไก่มาชนกันเป็น เกมกีฬา ได้แต่ประมาณว่าเมื่อ 3,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยฟีนิเชียน ฮิบรูและคานาไนตส์ การชนไก่ไม่เพียงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง แต่การเลี้ยงไก่เพื่อลงชิงชัยในสังเวียนยังถือเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการค้าขายไก่ชนอีกด้วย ล่วงมาถึงยุคคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์ ทรงชักนำให้ชาวโรมันสนุกสนานกับกีฬาชนไก่และยังนำเข้าไปเผยแพร่ในเกาะอังกฤษ รวมทั้งประเทศในภาคพื้นยุโรปอย่างสเปน และฝรั่งเศสด้วย
        "พวกเอ็งมีอะไรดีนักหนาหรือ จึงพาให้ผู้คนหลงใหลได้ถึงเพียงนี้" ผมตั้งคำถามกับเจ้าสัตว์ปีกนักสู้ผู้ทระนง ที่กำลังยืนยืดอกโก่งคอคล้ายกำลังส่งเสียงขันกังวาลบนปกหน้านิตยสารไก่ชน เล่มหนึ่ง หลังจากพลิกผ่านตา ผมก็ต้องประหลาดใจ เพราะบทความและโฆษณาในเล่มล้วนบ่งบอกความเป็นธุรกิจของวงการไก่ชนมากกว่าที่ จะเป็นกิจกรรมเล็กๆ ในชุมชนห่างไกลความเจริญเช่นในอดีต หน้าโฆษณาสี่สีเกือบทั้งหมดเป็นการเสนอขายลูกไก่ชนสายพันธุ์แชมป์ ทั้งไทยแท้ ลูกผสมพม่า ลูกผสมเวียดนาม (ไซ่ง่อน) ของฟาร์มทั่วประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละแห่ง
        "เอก อิ๊ เอ้ก เอ้ก" เจ้าโต้งแข่งกันแผดเสียงขันก้องกังวาลอย่างที่คนเมื่องรุ่นใหม่อาจไม่เคยได้ ยินออกมาจากสุ่มที่วางเรียงรายหลายสิบลูกบนผืนพรม เสียงที่แว่วมาไม่ขาดสายตั้งแต่ผมขับรถเข้าใกล้โชคบัญชาฟาร์ม จังหวัดนครปฐม ช่วยทำให้ผมมั่นใจว่าคงไม่ต้องกลับรถอีกเป็นรอบที่สาม
        รถขับเคลื่อนสี่ล้อค่อยๆเคลื่อนผ่านแอ่งน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกตามมาตรการที่อาจเล็ดรอดเข้ามา ตามมาตรการที่เข้มงวดจนลูกค้าออกปากเหน็บแนมว่า "ยากยิ่งกว่าไปร้านทองเสียอีก" เมื่อรถผ่านน้ำยาเข้ามาแล้ว ยังต้องพ่นยาฆ่าเชื้อที่คน ซึ่งต้องสวมรองเท้าบูตและล้างมือให้สะอาดก่อนจะจับไก่ ในช่วงที่มีการระบาดของโรค นอกจากฉีดยาในฟาร์มทั้งเช้าและเย็นแล้ว ยังห้ามนำรถเข้ามาในฟาร์มเด็ดขาดด้วย "ความสะอาดคือสิ่งสำคัญครับ" บัญชา ปัญญาวานิชกุล เจ้าของฟาร์มและเกษตรกรดีเด่น สาขาเลี้ยงสัตว์ (ไก่ชน) ประจำปี 2546 ให้เหตุผล
        สำหรับความเสียหายของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ชนจากการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก นั้น  นายสัตวแพทย์ ชัย วัชรงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมอาชีพไก่ชนไทย บอกผมด้วยคำพูดสั้นๆคำเดียว แต่สีหน้าบ่งบอกความรู้สึกอย่างชัดเจนว่า "รุนแรง" เขาจำแนกปัญหาออกเป็น 3 กรณีว่า การไม่อนุญาตให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคทำให้ไก่พื้นเมืองและไก่ชนล้มตายไปไม่ น้อยกว่า 20 ล้านตัว การห้ามทำกิจกรรมชนไก่ส่งผลต่อชาวบ้านที่เพาะเลี้ยงไก่ชน เพราะไม่รู้จะเอาไปไก่ไปทำอะไร และการห้ามการเคลื่อนย้ายส่งทำให้กิจกรรมการชนไก่ซบเซา

ไก่ชนเหลืองหางขาว

ไก่ชนเหลืองหางขาว
ไก่ชน
เป็นไก่ชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะที่บ้านกร่าง จังหวัดพิษณุโลก ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ไก่ชนนี้เพื่อชนกับ ไก่ชนของพม่าและพระองค์ทรงเป็นฝ่ายชนะ ปัจจุบันไก่ชนนี้ไม่ได้เป็นเพียงที่รู้จักในประเทศไทย เท่านั้น ยังมีเป็นที่รู้จักในพม่าด้วย