เหลืองหางขาว
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช
ความเป็นมา
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จึงชนชนะ จนได้รับสมญาว่า "เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง" ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้า และทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดประกวดครั้งแรกขึ้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2533 และในปี 2534 ได้จัดตั้ง ชมรมอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ ตำบลหัวรออำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การ บริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกจนถึงปี 2542 ได้จัด ตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นทุกอำเภอ รวม 12 กลุ่มเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ เป็นสมบัติคู่ชาติตลอดไป
แหล่งกำเนิด
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็น ไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาว และ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกจนถึงขณะนี้ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช นับว่าเป็นของดีของจังหวัดพิษณุโลก และ เป็นสมบัติของชาติไทย ที่กำลังได้รับความสนใจ กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์ และ พัฒนาสายพันธุ์ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน สำนักปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ดังต่อไปนี้ สายพันธุ์ เหลืองหางขาว เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป(วัดจากใต้ ปากล่างตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน) เพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตรขึ้นไป
ไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาว มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
ความเป็นมา
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จึงชนชนะ จนได้รับสมญาว่า "เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง" ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้า และทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดประกวดครั้งแรกขึ้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2533 และในปี 2534 ได้จัดตั้ง ชมรมอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ ตำบลหัวรออำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การ บริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกจนถึงปี 2542 ได้จัด ตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นทุกอำเภอ รวม 12 กลุ่มเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ เป็นสมบัติคู่ชาติตลอดไป
แหล่งกำเนิด
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็น ไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาว และ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกจนถึงขณะนี้ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช นับว่าเป็นของดีของจังหวัดพิษณุโลก และ เป็นสมบัติของชาติไทย ที่กำลังได้รับความสนใจ กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์ และ พัฒนาสายพันธุ์ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน สำนักปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ดังต่อไปนี้ สายพันธุ์ เหลืองหางขาว เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป(วัดจากใต้ ปากล่างตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน) เพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตรขึ้นไป
ไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาว มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
- สี ออกเหมือนดอกโสน ขาวอมแดง ขาวอมเหลือง
- ปาก ปากใหญ่ขาว คือ ปากสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้าง ปากยาวอวบใหญ่คล้ายกับปากนกแก้ว มีร่องน้ำเห็นได้อย่างชัดเจน ตรงกลางนูนเป็นสันราง ตา ตาขาวจะมีเส้นสีแดงๆ เรียกว่าตาเพชร ตาเป็นลักษณะตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ เล็กหรี่ รอบตาดำสีขาวอมเหลือง หาง ขนหางกระรวยมีสีขาว พุ่งออกยาวมองเห็นได้เด่นชัด ถ้ายิ่งขาวและยาวมากๆ จะดีมาก ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายหางโค้งตกลงเพียงเล็กน้อย ขาแข้งและเดือย มีสีขาวอมเหลือง เป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดมีลักษณะแข็งและหนาแน่นเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลืองทุกเล็บ ไม่มีสีอื่นๆปนเลย
- หงอน ด้านบนของหงอนจะบาง เรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนที่ติดกับหนังศรีษะหนาแน่น อาจมีลักษณะเป็นหงอนแจ้ หงอนหิน หงอนบายศรี
- ตุ้มหู จะมีสีแดงสีเดียวกับหงอน ไม่มีสีขาวเลย ตุ้มหูมีขนาดเล็ก รัดรับกับใบหน้า ไม่หย่อนยาน
- เหนียง เล็ก รัดติดกับคาง ไม่ยานหรือไม่มีเหนียง
- รูปหน้า เล็ก แหลม ยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมัน กะโหลกศรีษะหนาและยาว
- อก อกไก่จะแน่นกลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกหนา ยาว และตรง
หลัง เป็นแผ่นกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก มองดูแล้วเรียบตรง ไม่โค้งนูน - ไหล่ ตั้ง ยกตรง มีความกว้างพอสมควร
- คอ ยาว ใหญ่ กระดูกข้อถี่
- ปั้นขา จะใหญ่แข็งแรง มีเนื้อมาก กล้ามเนื้อแน่น
- สร้อยคอ เหลือง หรือเหลืองแกมส้ม สร้อยคอยาวต่อกับสร้อยหลัง
- สร้อยหลัง เป็นสีเดียวกับสร้อยคอ ควรเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มตั้งแต่โคนคอจนถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า
- สร้อยปีก สีเดียวกับสร้อยคอ เรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกจนถึงปีกชัย มองดูเป็นแผ่น
ไก่เหลืองหางขาว ที่ประกาศรับรองพันธุ์
ไก่เหลืองหางขาว สมาคมฯ ได้กำหนดอุดมทัศนีย์ไว้ และประกาศรับรองพันธุ์ไปแล้ว 6 ชนิด คือ
- เหลืองใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเหลืองแก่ดังสีทองแท่ง ขนปีกในสีดำ ขนปีกนอกสีขาว ขนหางพัดสีดำปลายขาว ขนหางกะลวยสีขาวปลายดำ คู่กลางขาวปลอด ปาก-แข้ง-เล็บ-เดือย สีขาวอมเหลือง แบบสีงาช้าง ตาสีตาปลาหมอตาย (ขาวอมเหลืองอ่อน) ขนปิดรูสีเหลืองแบบสร้อย มีหย่อมกระพระเจ้า 5 พระองค์
- ไก่เหลืองรวกพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนไก่เหลืองใหญ่ทุกประการ แต่ต่างกันตรงสีขน สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก เป็นสีเหลืองกลางดังสีทองทา หรือสีไม้รวกแก่แห้ง
- ไก่เหลืองโสนพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนไก่เหลืองใหญ่ทุกประการ แต่ต่างกันตรงสีขน สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก เป็นสีเหลืองอ่อนดังสีทองเปลว(ทองปิดพระ) หรือสีดอกโสน หรือดอกคูณ
- เหลืองเลาพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนเหลืองใหญ่ เหลืองรวก เหลืองโสนทุกประการ ต่างกันตรงสร้อคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก โดยโคนสร้อยจะเป็นสีขาว ปลายสร้อยจะเป็นสีเหลือง ส่วนไก่เหลืองพระเจ้า 5 พระองค์ตัวอื่นๆ โคนสร้อยจะเป็นสีดำปลายเหลือง
- ไก่เหลืองทับทิม ลักษณะจะเหมือนเหลืองทั้ง 4 ที่กล่าวมา ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก โคนสร้อย สีดำปลายสร้อยสีเหลืองมีจุดขาวอมเหลืองอยู่ปลายสร้อย เรียกว่า "ทับทิม หรือ ดาวเรือง" ไม่มีหย่อมกระพระเจ้า 5 พระองค์
- ไก่เหลืองเอกา หรือบางทีเรียกเหลืองธรรมดา ลักษณะเหมือนไก่เหลืองทั้ง 5 ต่างกันตรงที่ไม่มีหย่อมกระ พระเจ้า 5 พระองค์ ไม่มีจุดทับทิมหรือดาวเรืองในสร้อย สีสร้อยมีทั้งแก่ กลาง อ่อน
- หน้าตา ตัวสวยงามหน้าจะแหลม กลมยาว หัว 2 ตอน ปากใหญ่ จมูกเรียบ หงอนหินกอดกระหม่อม เหนียงคางรัดเฟ้ด ขอบตา 2 ชั้นโค้งรี สีตาปลาหมดตาย จะเป็นไก่ฉลาด
- สีสัน ตัวสวยงาม สีขนพื้นตัว ขนปีกขนหางต้องถูกต้อง ขนสร้อยต้องเหลืองรับกันตลอดอย่างสม่ำเสมอ ขนแห้งสมบูรณ์มีน้ำขนจะเป็นไก่มีสกุล
- รูปร่าง ตัวสวยงาม ต้องรูประหง สูงใหญ่ จับกลมยาว 2 ท่อน ใหล่หน้าใหญ่บั้นท้ายโตแบน ปั้นขาใหญ่ คอยาวปล้องคอชิดแน่นวงเดียว หางยาว พัดคืบกะลวยศอก อุ้งหางชิด ปีกใหญ่แน่นยาวไม่แกว่ง จะเป็นไก่แข็งแรง
- แข้งขา-เกล็ด ตัวสวยงามต้องแข้งกลมเป็นลำเทียน ลำหวายหรือไม้คัด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ เป็นแถว เป็นแนว เป็นดอกเป็นดวง นิ้วยาวเรียวมีเกล็ดแตก เหน็บ แซม ที่นิ้วมาก เป็นเกล็ดพิฆาต เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรู งูจงอาอง กากบาท ดอกจัน จักรนารายณ์ ขุนแผนสะกดทัพ จะเป็นไก่ตีเจ็บ
- กิริยาชั้นเชิง ตัวสวยงาม ต้องยืน เดิน วิ่ง ท่าทางสง่าผ่าเผย เดินกำนิ้ว กระพือปีก เล่นสร้อย ส่งเสียงขัน ตลอดเวลา สัมผัสร่างจะมีเชิงนิยมจะเป็นไก่เหนือชั้นกว่าไก่อื่น ไก่ทุกตัวไม่ว่าเหลืองไหน ถ้ามีคุณสมบัติความงามครบ 5 ประการ หรือมีมากที่สุด ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เช่น คอดอก เห็บเสี้ยน เท้าหน่อ ขี้ขาว หวัด จะเป็นไก่ชนะได้รับรางวัล
0 comments:
Post a Comment