Saturday, November 24, 2012

ฟาร์มไก่มาตรฐาน

ฟาร์มไก่มาตรฐาน

สำหรับท่านใดที่มี ฟาร์ม หรือ ซุ้มไก่ชน ต้องการที่จะแก้ไข หรือ เพิ่มข้อมูลใน หน้าฟาร์มไก่ชน ให้แจ้งข้อมูลมาได้ที่นี่
No. ฟาร์ม / ซุ้ม เจ้าของ / ผจก. / ผอ. ที่อยู่ โทรศัพท์
1 ฟาร์มไก่ชนกำนันวิเชียร กำนันวิเชียร ตันศิริ หมู่ 9 หนองจอก (02)5431425
2 เจ้าพระยาฟาร์ม ณฐพล (สม) ร่วมทรัพย์ ถนนปทุม - สามโคก ปทุมธานี 01-8741107
3 ศูนย์อนุรักษ์ไก่ฯพิษณุโลก ภิเษก บูรณเขตต์ อ.เมืองพิษณุโลก 01-8863272
4 ตลาดนัดไก่พื้นเมือง มาโนช บุญประสิทธิ์ โพธิ์ทอง อ่างทอง 01-9355910
5 ซุ้มไก่ราชวิถี อ.วีระเดช พะเยาศิริพงษ์ ซอยราชวิถี 24 (02)6682665
6 ชัยปราการ เอก  ปากน้ำ สุขุมวิท กม30ปากน้ำ 02-3955716
7 โชคบัญชา บัญชา ปัญญาวานิชกุล ดอนยายหอม นครปฐม 034-229147
8 พญาเจ้าฟ้า สมาน ทองคำ ดอนเมือง กทม 01-4100811
9 เพชรพญาฟาร์ม สมนิตย์ งามวุฒิวร กรุงเทพฯ - สุพรรณบุรี 01- 6137944
10 ชมรมบ้านดาวเทียม สมชัย ยะหัตตะ ศรีราชา ชลบุรี 038-352070
11 ขุนพลไก่ไทย สมชาย (จิว)โชครุ่งเริญยิ่ง บางบัวทอง นนทบุรี (02)5717208
12 สมบัติฟาร์ม สมบัติ สุขปาน สิงห์บุรี 01-8533844
13 ประทุมฟาร์ม ประทุม คงคำ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 055-311385
14 นครอุดรธานี วิชัย มะลิจักร์ หนองไผ่ เมืองอุดร 042-207898
16 ทรัพย์ประเสริฐ รุ่งโรจน์ กลั่นเกษร บางบัวทอง นนทบุรี  
17 ขิง อยุธยา องอาจ (ขิง) วิสุทธิธรรม ข้างวัดพนมยงค์ อยุธยา 01- 2747118
18 ฟาร์มวังโค้ง ปัญญา บุญสมบุญ 50 ม1 วังโค้ง เพชรบูรณ์ 01-9625733
19 เอกศักดิ์ฟาร์ม เอกศักดิ์ ศิวบุณย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 01-9253036
20 ชมรมฯ เขื่อนยันฮี จักรกฤช ช้างรบ เขื่อนภูมิพล ตาก 055-549420
21 ชมรมอนุรักษ์ท่าม่วง ถกล อริยะพงศ์ ท่าม่วง กาญจนบุรี (034)561700
22 ฟาร์มศรีกรุง ศรีกรุง (02)5343421 (02)5653306
23 ฟาร์มไก่ไทย สายัณห์ ประทุม ชัยบาดาล ลพบุรี 01-9566385
24 ศยามไทย ศยาม นาครทรรพ (02)5432328 (02)3781931
25 ศิริมงคล เล็ก เรืองรัตนตรัย ท่าพริก เมืองตราด 039-540163
26 หนองแซง อนันต์ รัตนจิตร หนองแซง สระบุรี 036-366294
27 อาร์.เอส.ฟาร์ม เริงศักดิ์ กลับประสิทธิ์ อ.เมือง จ.เชียงราย 01-8465305
28 แสงเพชร โอภาส สินศุภฤกษ์ ต.ศรีสำราญ อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี 01-9759226
29 นารายณ์ไก่ชน ชาตรี สุรนานันท์ บ้านโป่ง ราชบุรี 01-4863410
30 ซุ้มไก่ชนลูกทองแดง อัศวิน ไทยรัตน์ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 053-388690
31 ประดู่ลาย หนูจันทร์ มีสา ต.หนองแวง อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี 01-2601056
32 ตลาดไก่ชนแปดริ้ว ประยุทธ์ เอื้ออารีย์ ข้าง ร.พ.โสธรวราเวช 038-514080
33 ซุ้มไก่ชนเพชรกลาโหม ร.อ. วสันต์ จันทร์เชื้อ และทีมงาน 41/1 หมู่ 5 ตง บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 089-7056312
34 ซุ้มจันแดง นายจักรกฤษณ์ บุรีรัตน์ 224 ม.9 ต.บางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 081-1426126
35 ซุ้ม m100 คุณลี - คุณนาฟ หลังหมู่บ้านนักกีฬา วงเเหวนรอบนอก 081-4226595
36 ซุ้ม แสนหมาน นายสมนึก ชายเจริญ (จอมมารบู) 7 หมู่ 2 ต.ขามเฒ่า อ.เมือง จ. นครพนม 48000 และ 68 ม. 5 ต.โพนทอง อ. บ้านแพง จ.นครพนม 48140 08-9842-4416, 08-9842-2081
37 สระบัวเจริญฟาร์ม คุณศุภฤกษ์ สุวรรณนที (ผู้บริหาร) 1022 ถ.เพชรเกษม ต.ห้วยจรเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม 081-9420841
38 ซุ้มตระกูลลี พิทักษ์ ลีวงศักดิ์ (สังกัดซุ้มตระกูลลีโคราช) 61/1 ต.บางบุตร อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 21000 085-5542669
39 อยุธยาป่าก๋อย ไก่ป่าก๋อย สายเพชรยืนยง เจ อยุธยาป่าก๋อย 634 / 44 หมู่ 5 ซ.พยอม7 ต.พยอม อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13180 087-0991346
40 ดอกไม้ไทย ธนาคม ธนกาญจน์ 20/8 ม. 19 ต. ดอนฉิมพลี อ. บางน้ำเปรี้ยว จ. ฉะเชิงเทรา 24170 081-8247648
41 พยัคฆ์ใต้ Mr.ALAMDAR 8/2 ม.4 ต.ซากอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส 96210 080-7015679
42 สายน้ำปาว นายสัญชัย ชัยศิริ 82 ถ.ประดิษฐ์ ซ.3 อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000 081-8714200
43 สำนักไก่ชนพยัคฆ์มังกร คุณเฉลิมพร จำวัน 6 หมู่ 9 บ้านนามั่ง ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี  
44 ฟาร์มไก่ชน เพชรบางจาก (แพร่บางจาก) พ่อเลี้ยงนอง สุนทรเมือง / นายเจษฏาพร สุนทรเมือง 122/2 ม.5 ต.ป่าแมต อ.เมือง จ.แพร่ี  
45 ซุ้มเบบี้มายด์ นู๋แหม่ ร้านเบบี้มายด์บิวตี้ ถ. เอกชัย ซ. เอกชัย 70 ตรงข้ามครัวแสวงซีฟู๊ด 2 นู๋แหม่ โทร 088-503-2257 นเรศ โทร 085-135-4746
46 ซุ้มโชคชัยอนันต์ นายชัยอนันต์ ราชชมภู สวนป่าสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยอนันต์ โทร 085-4994563
47 ซุ้ม อั๋นพม่าเขลางค์ วังน้ำลี้ อั๋น 167/1 ม.7 ต.ท่าผา อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130 อั๋น โทร 085-7233873
48 ซุ้มวังน้ำลี้โคราช   6/1 หมู่3 บ้านดอนทะแยง ต.บ้านปรางค์ อ.คง จ.นครราชสีมา โทร 080-7258064
49 ซุ้มบ้านโนนสง่าพัฒนา คุณใหญ่ บ้านโนนสง่าพัฒนา อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ โทร 087-8321641
50 ซุ้ม ส.สยาม   52/2 (ข้ามสะพานตรงข้ามวัดราชโกษา) ซอยแก้วเจริญ แยก 1-2 ถนนขุมทอง-ลำต้อยติ่ง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. โทร 02-212-7161, 081-3000-735
51 ซุ้มเพชรการะเวก คุณสมทรง การะเวก (เอ้ ) 92 หมู่ 5 ต.ทัพหลวง อ.เมือง จ.นครปฐม โทร 081-0076349,085-1451238 e-mail / msn: benzaudio@hotmail.com
52 ซุ้มเพชรน้ำลี้ นาย วิชัย อุชุปัจ <พ่อหนานชัย> 30 หมู่ 9 ตำบลเหล่ายาว อ.บ้านโฮ๋ง จังหวัดลำพูน 51130 โทร 0817730875
53 ซุ้ม ส.เอกา พิษณุโลก นาย ชนินทร์ รัตนะทิพย์ 123/62427 หมู่ 2 ตำบล อรัญญิก อำเภอเมื่อง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร 0881742689 เกมส์ ส.เอกา พิษณุโลก
54 ซุ้มดาบหมานลำพูน ดต.สมาน อินธรรมขันธ์ 169 หมู่ 2 บ้านห้วยปันจ๊อย ต.หนองยวง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน 51120 โทร 089-6347149 ดต.สมาน อินธรรมขันธ์

สมุดประจำตัวไก่ชน

สมุดประจำตัวไก่ชน

การจัดทำสมุดประจำตัว ไก่ชนของกรมปศุสัตว์นี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันโรค และเพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ความ เข้าใจในการบันทึกประวัติไก่ ของตน เนื่องจากไก่ชนเป็นไก่ที่เลี้ยงไว้เพื่อการกีฬา จะมีการเคลื่อนย้าย หรือนำไปแข่งขันในต่างพื้นที่เป็นประจำ ความจำเป็นในการควบคุมโรคจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีการเกิดโรคระบาดของสัตว์ปีก อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการฝังไมโครชิพ แต่จะต้องพัฒนาการฝังชิพไม่ให้ไก่ชนเกิดความรำคาญ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการชนของไก่เปลี่ยนไปได้
กรมปศุสัตว์ได้กำหนดมาตาการเฝ้าระวังและ ควบคุมเคลื่อนย้าย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ดังนี้
  1. ผู้เลี้ยงไก่ชนทั้งที่เป็นลักษณะฟาร์มและไม่เป็นลักษณะฟาร์มต้องขึ้น ทะเบียน กับกรมปศุสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพื้นที่ทุกจังหวัด
  2. สัตวแพทย์สำนักงานปศุสุตว์จังหวัด จะดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างจากทุกฟาร์มหรือ ทุกบ้านที่มีการเลี้ยงไก่ชนเป็นประจำทุก ๒ เดือน เพื่อตรวจเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์ปีก ซึ่งการดำเนินการเฝ้าระวังเช่นนี้จะดำเนินการกับการเลี้ยงสัตว์ปีกทุกประเภท ไม่เฉพาะการเลี้ยงไก่ชน
  3. ไก่ที่มีไว้เพื่อชน ต้องทำสมุดประจำตัวไก่ชน และต้องแสดงสมุดประจำตัวไก่ชน ต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ในระหว่างทางการเคลื่อนย้าย หรือเมื่อเคลื่อนย้ายถึงปลายทาง เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบแหล่งที่มาของไก่ชนว่ามีโรคระบาดหรือไม่ และเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้เลี้ยงไก่ชนในการลดขั้นตอนการขออนุญาต เคลื่อนย้าย นอกจากนี้การจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน ยังเป็นการเพิ่มมาตรฐานการเลี้ยงไก่ชนในประเทศไทยด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าไก่ชนทั้งภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศได้มาก
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหลัง
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหลัง

ขั้นตอนการจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน

  1. ปศุสัตว์จังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงไก่ชนทราบถึงรายละเอียด การจัดทำ สมุดประจำตัวไก่ชน รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ
  2. ไก่ชนที่จะทำสมุดประจำตัว ต้องมีอายุตั้งแต่ ๘ เดือนขึ้นไป
  3. เจ้าของไก่ชน ยื่นแบบคำขอ ทำสมุดประจำตัวไก่ชน (แบบ กช.๑) ที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักปศุสัตว์อำเภอ
  4. เจ้าหน้าที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักปศุสัตว์อำเภอ จะนัดหมายเข้าของไก่ชน เพื่อตรวจสุขภาพไก่ชน เก็บตัวอย่างเพื่อนำไปทดสอบโรค และ ตรวจประวัติการได้รับวัคซีน พร้อมถ่ายรูปไก่ชน จำนวน ๓ รูป คือ
    • รูปทั้งตัว ๑ รูป
    • รูปถ่ายส่วนหัวด้านซ้าย หรือ ด้านขวา ๑ รูป
    • รูปถ่ายแข้ง ๒ ข้าง ๑ รูป โดยถ่ายภาพ ด้านหน้าของแข้งให้เห็นเกร็ดชัดเจน
  5. รูปถ่ายไก่ชน เมื่อติดในสมุดประจำตัวไก่ชน แล้ว ให้ประทับตราสำนักปศุสัตว์จังหวัด ที่ขอบของรูปถ่ายทั้ง ๓ รูป เพื่อป้องกันการเปลี่ยนรูปถ่าย
  6. การกรอกข้อมูลประวัติไก่ชน
    • พันธุ์ หมายถึง พันธุ์ของไก่ชน ได้แก่ ไทย หรือ พม่า หรือ เวียดนาม หรือ ลูกผสมไทย-พม่า เป็นต้น
    • สี หมายถึง สีที่ปรากฏจริง เช่น ขนคอแดง ขนหลังแดง และ หางดำ หรือ ระบุ ตามภาษาไก่ชน เช่น ประดู่หางดำ หรือ เหลืองหางขาว หรือ นกกรด เป็นต้น
    • ตำหนิ หมายถึง ลักษณะที่ไม่สามารถ ลบเลือนได้ เช่น ตาลาย หรือ เดือยดำ หรือ นิ้วก้อยซ้ายหัก เป็นต้น
    • ส่วนสูง หมายถึง วัดจากพื้นที่ไก่ยืนถึงหัวปีก โดยให้ไก่ยืนท่าปรกติ
  7. เจ้าหน้าที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด เก็บตัวอย่างโดยวิธี Cloacal Swab เพื่อนำไปตรวจ ทดสอบโรค
  8. เมื่อได้รับผลการทดสอบโรคเป็นลบ จึงมอบสมุดประจำตัวไก่ชน ให้กับเจ้าของ โดยระบุเลขประจำตัวไก่ชน ๘ หลัก (ID Number) ดังนี้
    • หลักที่ ๑ และ ๒ เป็น อักษรย่อของจังหวัด
    • หลักที่ ๓ และ ๔ เป็น ปี พ.ศ.
    • หลักที่ ๕ ถึง ๘ เป็น ลำดับการออก สมุดประจำตัว
    เช่น กท ๔๗ ๐๐๐๑, ปท ๔๗ ๐๐๑๙

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza)

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza)

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) เป็น โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Avian Influenza virus type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมี surface antigens ที่สำคัญ ได้แก่ haemagglutinin (H) มี ๑๕ ชนิด และ neuraminidase (N) มี ๙ ชนิด เชื้อไวรัส Influenza แบ่งเป็น ๓ type ได้แก่
Type A แบ่งย่อยเป็น ๑๕ subtype ตามความแตกต่างของ H และ N antigen พบได้ในคนและสัตว์ต่างๆ เช่น สุกร ม้า และสัตว์ปีกทุกชนิด
Type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน
Type C ไม่มี subtype พบเฉพาะในคนและสุกร

อาการ

โรคไข้หวัดนก อาการที่แสดงนั้นมีความผันแปรตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส และสัตว์ที่ได้รับเชื้อ สัตว์อาจจะไม่แสดงอาการป่วย แต่จะมีระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น (Seroconverion) ภายใน 10-14 วัน จึงสามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรค สัตว์อาจจะแสดงอาการดังนี้
กินอาหารลดลง ปริมาณไข่ลดในไก่ไข่ นอกจากนี้อาจจะมีอาการ ไอ จาม ขนร่วง มีไข้ หน้าบวม ซึม ท้องเสีย ในรายที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงอาจตายกระทันหัน ซึ่งมีอัตราตายสูง ๑๐๐%
ไวรัสชนิดนี้จะไม่ทำให้เป็ดป่วย แต่อาจทำให้สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ป่วยได้ เช่น ไก่งวง

แหล่งของไวรัส

สัตว์ปีกทุกชนิดมีความไวต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สามารถที่จะแยกเชื้อได้จากนกน้ำ รวมทั้ง นกชายทะเล นกนางนวล ห่าน และนกป่า เป็ดป่าสามารถที่จะนำเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยที่จะไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญในสัตว์ปีก
ความเสี่ยงของการระบาดโรคไข้หวัดนกจากนกน้ำ โรคไข้หวัดนกมีการระบาดในนกป่าและเป็ด นกน้ำเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ไก่งวงยังเป็นแหล่งกักโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคไข้หวัดนกได้ ความเสี่ยงของไก่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันที่มีโอกาสสัมผัสกับนกน้ำเป็นความเสี่ยงสูง แต่ยังไม่ทราบว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้การระบาดไม่แน่นอนในแต่ละพื้นที่นั้น

วิธีติดต่อของโรค

  1. การติดต่อของโรคจากการสัมผัสกับอุจจาระ เป็นวิธีติดต่อที่สำคัญระหว่างนกด้วยกัน นกป่าจะ เป็นตัวนำเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไปยังนกในโรงเรือนที่เปิดได้ โดยผ่านทางการปนเปื้อนของอุจจาระ
  2. การติดเชื้อโดยทางการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค (Mechanical Transmission) มูลของนกเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสที่สำคัญ การขับเชื้อไวรัสทางมูลเป็นเวลา ๗๑๔ วัน หลังการติดเชื้อ แต่ไม่พบเชื้อไวรัสในสิ่งปูรองได้ในระยะเวลานานถึง ๔ สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ไวรัสสามารถจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง ๑๐๕ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง ดังนั้น วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ คน และสัตว์ เช่น นกป่า หนู แมลง นกกระจอก จึงเป็นปัจจัยในการกระจายของโรคได้
  3. การติดเชื้อจากการหายใจเอาสิ่งคัดหลั่งของตัวป่วย ก็เป็นได้
  4. ไวรัสไข้หวัดนกสามารถพบในเปลือกไข่ชั้นในและชั้นนอก อย่างไรก็ตาม การติดต่อจากแม่ไก่ผ่านมายังลูกไก่ทางไข่ (Vertical transmission) ยังไม่มีการรายงาน ส่วนการติดโรคผ่านไข่ไปยังฟาร์มอื่นนั้นมักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อที่เปลือกไข่ หรือถาดไข่ และจัดเป็นการติดต่อที่สำคัญวิธีหนึ่ง

การติดต่อโรค จากสัตว์ปีกมาสู่คน

การติดต่อโรคนี้จากสัตว์ปีกมาสู่คน เป็นไปได้ยาก จากข้อมูลการเกิดโรคในคนที่ประเทศฮ่องกง และประเทศอื่นๆ พบว่าเป็นการติดต่อโดยตรงจากตัวสัตว์ปีกมีชีวิต ไม่มีรายงานการติดต่อมายังคน โดยการบริโภคเนื้อไก่ และ ไข่ มาตรการการป้องกันการแพร่กระจายของโรค โรคไข้หวัดนก ในฟาร์มที่มีโรคระบาด ประกอบด้วย ๓ หลักการที่สำคัญ คือ
  1. การป้องกันการกระจายของเชื้อ
    1. ไม่ให้มีการนำสัตว์ปีกเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีการระบาดของโรคภายหลังจากการกำจัดสัตว์ป่วย ในระยะเวลา ๒๑ วัน
    2. กำจัดวัชพืชรอบโรงเรือน และกำจัดสิ่งปูรองตลอดจนอาหารของสัตว์ป่วยนั้น
    3. มีโปรแกรมควบคุมพาหะของโรค เข่น แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หนู และนก เนื่องจากสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวนำพาเชื้อโรคจากอุจจาระของสัตว์ป่วยไปยังที่ต่างๆได้
    4. ป้องกันการสะสมของแหล่งน้ำภายในฟาร์ม ซึ่งเพิ่มปริมาณของนกที่เคลื่อนย้ายเข้ามา และมีโอกาสเป็นสื่อให้การแพร่กระจายของโรคขยายวงออกไป
    5. จำกัดแหล่งอาหารซึ่งเป็นปัจจัยให้นกเคลื่อนย้ายมาอาศัย
    6. ให้ความรู้พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังที่ต่างๆ
  2. การควบคุมการเคลื่อนย้าย
    1. จัดระบบควบคุมการเข้า-ออกฟาร์มของบุคคลภายนอกและบุคคลภายในฟาร์ม
    2. ลดการเคลื่อนย้ายระหว่างภายในฟาร์มและภายนอกฟาร์ม โดยใช้ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์และโทรสาร
    3. ให้ใช้มาตรการทำลายเชื้อโรคคนที่เข้า-ออกฟาร์ม
    4. ไม่อนุญาตให้พนักงานขับรถยนต์ พนักงานขนส่งเข้า-ออกฟาร์มโดยที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
  3. การรักษาสุขอนามัย
    1. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค และควบคุมไม่ให้มีการปนเปื้อนอุจจาระไปกับรถหรือยานพาหนะ
    2. ล้างวัสดุ อุปกรณ์และยานพาหนะด้วยผงซักฟอก และยาฆ่าเชื้อ
    ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการควบคุมและลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสคือ
    1. Formaldehyde
    2. Iodine compound
    3. Quaternary ammonium compound
    4. สารที่เป็นกรด
    5. ความร้อน ๙๐ °C เวลา ๓ ชั่วโมง หรือ ๑๐๐ °C เวลา ๓๐ นาที
    6. ความแห้ง
มาตรการสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ หรือผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ในฟาร์มที่มีการระบาด โรงฆ่าสัตว์ปีก ผู้รับซื้อสัตว์ปีกซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดโรคนั้นควรปฏิบัติดังนี้
มาตรการสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง
  1. ควบคุมการเข้า - ออก ของคน สัตว์ ไม่ให้ยานพาหนะและคน โดยเฉพาะรถรับซื้อไก่ รถรับซื้อไข่ รถรับซื้อขี้ไก่ รวมถึงคนรับซื้อไก่ ไข่ หรือ ขี้ไก่เข้ามาในฟาร์ม หรือบริเวณบ้าน
  2. งดซื้อไก่จากพื้นที่อื่นๆเข้ามาเลี้ยง
  3. รักษาความสะอาดในโรงเรือน ทำโรงเรือนแบบปิด หรือใช้ตาข่ายคลุม และกำจัดเศษอาหาร เพื่อ ป้องกันไม่ให้สัตว์อื่น ๆ รวมทั้งนก หนูเข้ามาในโรงเรือน เพราะอาจนำเชื้อโรคเข้ามาในฟาร์ม
  4. ไม่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะเช่นแม่น้ำลำคลอง เลี้ยงไก่ หากจำเป็นให้ผสมยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน
  5. หากมีไก่ป่วยหรือตายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที ไม่นำไก่ที่ป่วยหรือตายออกมาจำหน่าย อย่าทิ้งซากสัตว์ลงในแหล่งน้ำ หรือที่สาธารณะ ต้องกำจัดทิ้งโดยการเผา หรือฝังในหลุมลึกไม่น้อยกว่า ๕ เมตร ณ จุดเกิดโรค รวมทั้งมูลไก่ ไข่ และอาหารสัตว์ด้วย แล้วราดด้วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  6. ก่อนเข้าไปในฟาร์ม สัมผัสสัตว์ป่วย ซากสัตว์ที่ตาย หรือทำลายสัตว์ ควรสวมผ้าพลาสติกกันเปื้อน ผ้าปิดปาก จมูก ถุงมือ หมวก หลังเสร็จงานรีบอาบน้ำด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว พลาสติก หรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือต้องถอดทิ้ง หรือนำไปซักหรือล้างให้สะอาดก่อนนำมาใช้อีก
  7. ทำลายเชื้อโรคในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดโดยการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณฟาร์ม กรง เล้า พื้นคอก และรอบๆ เช้า เย็น ทุกวัน
มาตรการสำหรับฟาร์มไก่เนื้อและไก่ไข่
  1. ห้ามนำยานพาหนะต่างๆ โดยเฉพาะรถส่งอาหารไก่ รถรับซื้อไก่ รถรับซื้อไข่ หรือ รถรับซื้อขี้ไก่ เข้ามาในฟาร์ม หรือบริเวณบ้านโดยไม่จำเป็น หากต้องเข้าฟาร์มต้องใช้ยาฆ่าเชื้อโรคฉีดพ่นยานพาหนะทุกครั้งก่อนเข้า และออกจากฟาร์ม
  2. ป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนคนที่เข้า-ออกฟาร์ม โดย
    • ห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าฟาร์มโดยไม่จำเป็น
    • บุคคลที่ต้องเข้า-ออกฟาร์ม ต้องจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม และให้เปลี่ยนรองเท้า ของฟาร์มที่เตรียมไว้
    • ไม่ควรเข้าไปในฟาร์มอื่นเพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคจากฟาร์มอื่นเข้มาในฟาร์ม
  3. รักษาความสะอาดในโรงเรือน ทำโรงเรือนแบบปิด หรือใช้ตาข่ายคลุม และกำจัดเศษอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์อื่น ๆ รวมทั้งนก หนูเข้ามาในโรงเรือน เพราะอาจนำเชื้อโรคเข้ามาในฟาร์ม
  4. ป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนไข่ และถาดไข่ในฟาร์มไข่ไก่โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ไข่และถาดไข่ทุกครั้งที่นำเข้าฟาร์ม
  5. หากมีไก่ป่วยหรือตายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีเพื่อรับซื้อไก่ที่เหลือใน ฟาร์มและปฏิบัติตามคำแนะนำของปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อมาสู่สัตว์อื่น ไม่นำไก่ที่ป่วยหรือตายออกมาจำหน่าย อย่าทิ้งซากสัตว์ที่ตายลงในแหล่งน้ำ หรือที่สาธารณะ ต้องกำจัดทิ้งโดยการเผา หรือฝังในหลุมลึกไม่น้อยกว่า ๕ เมตร ณ จุดเกิดโรค รวมทั้งมูลไก่ ไข่ และอาหารสัตว์ แล้วราดด้วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ผู้รับซื้อสัตว์ปีก
  1. ต้องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ตัวรถ ล้อรถ และกรงใส่สัตว์ปีกให้ทั่วถึงทุกซอกทุกมุม หลังจากนำสัตว์ปีกส่งโรงฆ่าแล้ว
  2. เมื่อซื้อสัตว์ปีกที่ใดแล้ว ไม่ควรแวะซื้อที่อื่นอีก หากจำเป็นไม่ควรควรนำยานพาหนะเข้าไปในฟาร์ม และต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อที่เสื้อผ้า รองเท้าและตัวคนจับสัตว์ปีก
  3. อย่าซื้อสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย หรือสัตว์ปีกจากฟาร์มที่มีสัตว์ปีกตายมากผิดปกติ
ผู้รับซื้อสัตว์ปีก
  1. ต้องงดซื้อสัตว์ปีกป่วยเข้าฆ่า
  2. ถ้ามีสัตว์ปีกตายให้ทำลายด้วยการฝัง เผา ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่บริเวณโรงฆ่า ทุกซอกทุกมุมหลังเสร็จสิ้นการฆ่าสัตว์ปีกทุกครั้ง
  3. หากพบสัตว์ปีกหรือเครื่องในมีความผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์โดยเร็ว

วิธีการทำลายเชื้อ

สิ่งที่ต้องทำลายเชื้อ วิธีการทำลายเชื้อ
  1. ยานพาหนะ
    1. ใช้น้ำฉีดแรงดันสูงเพื่อทำความสะอาดยานพาหนะ
    2. พ่นยาฆ่าเชื้อบนรถและล้อรถด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มฟอร์มาลดีไฮด์ กลุ่ม กลูตาราลดีไฮด์ กลุ่มควอเตอร์นารีแอมโมเนียม กลุ่มฟีนอล หรือสารประกอบคลอรีน
  2. วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเรือน แช่อุปกรณ์ต่าง ๆ ในน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มคลอรีน กลุ่มควอเตอร์นารีแอมโมเนียม กลุ่มฟีนอลหรือกลุ่มกลูตาราลดีไฮด์
  3. โรงเรือน ฉีดพ่นบริเวณโรงเรือนและรอบโรงเรือนทุกวัน เช้า-เย็น ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเช่นเดียวกับที่ใช้ฉีดพ่นยานพาหนะ
  4. ถาดไข่
    1. แช่ถาดไข่ในน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มน้ำสบู่เช้มข้น ผงซักฟอก สารประกอบคลอรีน สารประกอบควอเตอร์นารีแอมโมเนียมหรือสารประกอบฟีนอล เป็นระยะเวลานาน 10-30 นาที หรือ
    2. รมควันถาดไข่ในห้องแบบปิด หรือใช้ผ้าพลาสติกคลุม โดยใช้ฟอร์มาลีน 40 % ผสมกับด่างทับทิม ในอัตราส่วนฟอร์มาลีน 50 มล. ต่อ ด่างทับทิม 10 กรัม ในพื้นที่ขนาด 2 x 2 x 2 เมตร เป็นระยะเวลา 24 ชม.
  5. ไข่
    1. จุ่มไข่ในน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มไฮโปคลอไรท์ หรือสารประกอบฟีนอล
    2. รมควันโดยใช้วิธีเดียวกับถาดไข่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือ โทร. ๐๒-๖๕๓๔๔๔๔ ต่อ ๔๑๔๑ หรือ ๔๑๑๕
มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการทั่วไปสำหรับการควบคุม ป้องกันโรคในสัตว์ปีก ที่เคยได้แนะนำเกษตรกรเมื่อเริ่มมีการระบาดของโรคมาแล้ว และต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดมากขึ้นในกรณีเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือ โทร. ๐๒-๖๕๓๔๔๔๔ ต่อ ๔๑๔๑ หรือ ๔๑๑๕
  1. หากพบว่าสัตว์ปีกเช่นไก่ เป็ด หรือนกที่เลี้ยงไว้ในบ้าน ป่วยตายอย่างรวดเร็วหรือ ผิดปกติมากกว่า 1 ตัวขึ้นไป หรือมีนกตกลงมาตายในบริเวณบ้านหรือใกล้บ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก ควรเก็บตัวอย่างซากสัตว์ที่ตายส่งตรวจหาสาเหตุการตาย โดยใส่ถุง พลาสติก 2 ชั้น มัดปากถุงให้แน่น เก็บใส่ภาชนะแช่น้ำแข็งส่งห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคของกรมปศุสัตว์ที่ อยู่ใกล้ที่สุด
  2. หากไม่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกอื่น ๆ ให้ทำการทำลายซากสัตว์ปีกดังกล่าว โดยการเผา หรือฝังในบริเวณที่พบสัตว์ตาย โดยขุดหลุมลึกพอประมาณที่สัตว์จะไม่สามารถคุ้ยซากขึ้นมาได้ ใส่ซาก สัตว์ปีกลงไป แล้วราดทับด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น น้ำคลอรีน หรือ ปูนขาว แล้วฝังกลบทับให้แน่น อาจใช้วัตถุหนักทับเพื่อความมั่นใจ
  3. ก่อนหยิบจับซากสัตว์ทุกครั้ง ต้องสวมผ้าปิดปาก จมูก สวมถุงมือ หรือใส่ถุงพลาสติก เพื่อป้องกันการสัมผัสกับซากสัตว์โดยตรง เมื่อฝังเสร็จให้ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด
  4. หลังการเก็บซากสัตว์แล้ว ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น จอบ เสียมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือทำลายถุงมือ ผ้าปิดปาก จมูก ทิ้งโดยเผา หรือฝัง
สามารถส่งซากสัตว์วินิจฉัยโรคได้ที่
  1. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. โทร 0-2589-7908-11
  2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออก (ชลบุรี) ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง ชลบุรี
  3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (สุรินทร์)
  4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ขอนแก่น) ต.ท่าพระ อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น
  5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนล่าง (พิษณุโลก) อ.เมือง พิษณุโลก
  6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาค เหนือตอนบน (ห้างฉัตร) อ.ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
  7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาค ตะวันตก (ราชบุรี) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จังหวัดราชบุรี
  8. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ (ทุ่งสง) อ.ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  9. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ 02-6534444 ต่อ 4141 หรือ 4115

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์

อาหารไก่พื้นบ้าน

อาหารไก่พื้นบ้าน

ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้
  1. ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
  2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
  3. ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
  4. ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
  5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยัง เป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย
  6. ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่ อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง
  7. สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
  8. ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ
  9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว
  10. ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด
  11. ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วใน
  12. ช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้
  13. ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่ หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด
นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์
เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการคำนวณ คือ
  1. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหาร กับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้อง การผสมในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23
  2. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11
  3. จากข้อ 1 และข้อ 2 สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้

อาหารไก่พื้นบ้าน 2


ก่อนอื่นเกษตรกรต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ไก่ต้องการอาหารเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หายใจ เดิน วิ่ง และการกินอาหาร ใช้ในการสร้างกระดูก เนื้อ หนัง ขน เล็บ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใช้ในการสร้างไข่ และผลิตลูกไก่ ดังนั้น การที่ไก่จะเจริญเติบโตดี มีความแข็งแรง และให้ไข่มาก ไก่ จะต้องได้กินอาหารเพียงพอ และได้กินอาหารดี โดยสม่ำเสมอทุกวัน ไก่ต้องการอาหารประเภทใดบ้าง ความต้องการอาหารของไก่คล้ายกับคนมาก ไก่ต้องการอาหารทั้งหมด 6 อย่าง คือ
  1. อาหารประเภทแป้ง เพื่อนำไปสร้างกำลัง ใช้ในการเดิน การวิ่ง อาหารประเภทนี้ได้จากรำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก กากมันสำปะหลัง
  2. อาหารประเภทเนื้อ เพื่อนำไปสร้างขน เล็บ เลือด เนื้อหนัง อาหารประเภทนี้ได้จากแมลง ไส้เดือน ปลา ปลาป่น
  3. อาหารประเภทไขมัน นำไปสร้างความร้อนให้ร่างกาย อบอุ่นได้จากกากถั่ว กากมะพร้าว ไขสัตว์ น้ำมันหมู กากงา
  4. อาหารประเภทแร่ธาตุ ไก่ต้องการอาหารแร่ธาตุไปสร้างกระดูก เลือด และเปลือกไข่ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้จากเปลือกหอยป่น กระดูกป่น
  5. อาหารประเภทไวตามิน สร้างความแข็งแรง และกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และ บำรุงระบบประสาท มีในหญ้าสด ใบกระถิน ข้าวโพด รำข้าว ปลาป่น
  6. น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดต่อร่างกาย ถ้าขาดน้ำไก่จะตายภายใน 24 ชั่วโมง ต้องมีน้ำให้ไก่กินตลอดเวลา การปล่อยให้ไก่หาอาหารเองตามธรรมชาติจนเคยชิน ทำให้เกษตรกรเข้าใจว่าไก่กินรำและปลายข้าวและอาหารตามธรรมชาติก็ เป็นการเพียงพอแล้วแต่การที่จะเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดีนั้นเกษตรกร
จะต้องให้การเอาใจใส่เรื่องอาหารและน้ำให้มากขึ้นโดยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
  1. ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน
  2. ให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ
  3. ให้อาหารไก่หลาย ๆ ชนิดผสมกัน เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ดหรือชนิดผง
  4. มีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่นตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา
  5. ให้หญ้าสด ใบกระถิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน
  6. ในฤดูแล้ง ไก่มักจะขาดหญ้ากินเกษตรกรควรปลูกกระถินไว้บริเวณใกล้ๆ คอก วิธีปลูกนั้นให้นำเมล็ดกระถินมาลวกด้วยน้ำร้อนนาน 2 ถึง 3 นาที แล้วนำไปแช่น้ำเย็น เสร็จแล้วจึงนำไปเพาะในดินใส่ถุงพลาสติก จนกระทั่งต้นกระถินสูงประมาณ 1 เมตร
  7. จึงย้ายไปปลูกเป็นแถวหรือแนวรั้ว เมื่อต้นกระถินติดดีแล้ว ควรตัดให้ต้นต่ำ ๆ เพื่อไก่จะได้กินถึงหรือจะคอยตัดให้ไก่กินก็ได้ นอกจากนั้นเราอาจเพาะข้าวเปลือกหรือถั่วเขียวให้ไก่กินก็ได้ การเพาะถั่วเขียวให้เอาเมล็ดถั่วเขียวแช่เย็นไว้ 12 ชั่วโมง ล้างใส่ไหคว่ำไว้หมั่นรดน้ำทุก 2-3 ชั่วโมง พอครบ 3 วันก็เอาออกให้ไก่กินได้ ถั่วเขียว 4 กระป๋องนมให้แม่ไก่กินได้ประมาณ 100 ตัว
  8. การใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมได้สะดวกเป็นวิธีที่จะเสริมให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น
  9. การสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อย ๆ และเลิกแย่งกันกินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว
ข้อมูลจาก กรมปศุสัตว์

Monday, September 24, 2012

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
          หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออ นไลน์ ฉบับวันที่ 17 กันยายน 2552 ได้นำเสนอข่าวในคอลัมน์เกษตร ในหัวข้อข่าวว่า 425 ล้าน เลี้ยงไก่พื้นเมืองฟื้นฟูเศรษฐกิจผู้เลี้ยงสัตว์ปีก โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยจะมีการจัดทำฟาร์มสาธิตประจำอำเภอทุกตำบล ควบคู่กับการถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง ให้เป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันโรคระบาดสัตว์ปีก ซึ่งจะใช้งบประมาณ 425,078,840 บาท ดำเนินงาน เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก ฉะนั้นเราควรหันมาศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองกันดีกว่า


เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือช่วงชั้นที่ 3 เรื่องการเลี้ยงสัตว์

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ได้ผลดี
          ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่จะให้ได้ผลผลิตดีนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ดังนี้
          * พันธุ์ดี * อาหารดี *โรงเรือนดี * การจัดการ (การเลี้ยงดู) ดี * การควบคุมป้องกันโรคดี
1. พันธุ์ดี
          ปัจจุบันไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง และไก่ชน ส่วนใหญ่และไก่พื้นเมืองจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชนสังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนดำ หน้าดำ และแข้งดำ หงอนหิน แต่จะมีแม่พันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา สีทอง แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน ซึ่งเป็นลักษณะหงอนของไก่ชน เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ไก่ชน เพราะว่าไก่ชนมีรูปร่างใหญ่และยาว เจริญเติบโตดี และแม่พันธุ์ก็ไข่ดก เนื่องจากนักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างต่อเนื่องนับ ร้อยปีมาแล้วเกษตกร เพื่อนบ้านจะขอซื้อขอยืมหรือขอไปขยายพันธุ์มากกว่าไก่พันธุ์อื่นๆ กรมปศุสัตว์ได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์คัดพันธุ์ไก่พื้นเมืองมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2532 โดยเริ่มจากสายพันธุ์ไก่ชน จาก 17 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่ง แต่เน้นในด้านการเจริญเติบโต และไข่ดก เพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลาย ถึง 17 สีขน เช่น เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เหลืองเลา ประดู่เลา แสมดำ เป็นต้น

2. อาหารดี
         อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ข้าวเปลือก ปลายข้าว และรำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอาจใช้ข้าวโพด ใบกระถินบดให้ละเอียด กากถั่วเหลือง และปลาป่น ฯลฯ
             โดยหลักการแล้ว ไก่พื้นเมืองต้องการอา หารที่ดีมีคุณภาพที่มีพร้องทั้งไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ซึ่งมีพร้อมในอาหารสำเร็จรูป แต่การเลี้ยงไก่พื้นเมืองในชนบท จะเป็นการเลี้ยงเพื่อรับประทานในครัวเรือน โดยปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ จะมีการให้อาหารเสริมบ้าง เช่น ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกโปรยให้กินก่อนไก่พื้นเมืองเข้าโรงเรือน แต่สำหรับผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ต้องการให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตเร็ว ขายได้ราคาดี ควรให้อาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามที่ไก่พื้นเมืองต้องการ อาจใช้หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำ ในอัตราส่วน 1 : 2 : 2 (หัวอาหาร 1 ส่วน ปลายข้าว 2 ส่วน รำ 2 ส่วน) หรืออาจใช้สูตรอาหารต่อไปนี้
สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่พื้นเมือง

แรกเกิด จนถึงอายุ 2  เดือน
     1. หัวอาหารอัดเม็ดสำหรับไก่ระยะแรก 8  กิโลกรัม
     2. รำรวม 8  กิโลกรัม
     3. ปลายข้าว 10  กิโลกรัม
สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 2 เดือนขึ้นไป
     1. รำรวม 38  กิโลกรัม
     2. ปลายข้าว 60  กิโลกรัม
     3. เปลือกหอยป่น 2  กิโลกรัม


3. โรงเรือนดี

           โรงเรือนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองนั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัวแน่นอน โรงเรือนอาจจะทำเป็นเพิงหมาแหงนกลาย แบบหน้าจั่วและอื่น ๆ การที่จะเลือกแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่ในชนบทจะเลี้ยงไก่พื้นเมืองในบริเวณบ้าน และทำโรงเรือนไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใต้ยุ้งฉางการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบนี้จะหวังผลแน่นอนไม่ได้ ไก่พื้นเมืองบางรุ่นรอดตายมาก บางรุ่นอาจตายหมด มีจำนวนน้อยรายมากที่ทำโรงเรือนแยกต่างหากจากบริเวณบ้านพัก ดังนั้น เพื่อให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยพักหลับนอนในตอนกลาง คืนด้วยโรงเรือนไก่พื้นเมืองมีความสำคัญมาก สภาพของโรงเรืองไก่พื้นเมืองที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
         1. สามารถป้องกันแดดกันฝนได้ดี
         2. ภายในโรงเรือนควรโปร่ง ไม่อับทึบ ไม่ชื้น และระบายอากาศดีแต่ไม่ถึงกับมีลมโกรก
         3. ควรสร้างโรงเรือนแบบประหยัด ใช้สิ่งก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น รักษาความสะอาดง่าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคได้ทั่วถึง
         4. ป้องกันศัตรูต่าง ๆ ได้ดี เช่น สุนัข แมว นก และหนู
         5. ห่างจากที่พักพอสมควร สะดวกต่อการเข้าปฏิบัติงานดูแลไก่พื้นเมือง มีที่ให้อาหารและน้ำ

4. การจัดการ (การเลี้ยงดู) ดี

           เมื่อลูกไก่พื้นเมืองออกจากไข่หมดแล้ว ควรให้แม่ไก่พื้นเมืองเลี้ยงลูกเอง โดยย้ายแม่ไก่พื้นเมืองและลูกไก่พื้นเมืองลงมาขังในสุ่มหรือในกรงในระยะนี้ ควรมีถาดอาหารสำหรับใส่รำ ปลายข้าว หรือเศษข้าวสุกให้ลูกไก่พื้นเมืองกินและมีถ้วยหรืออ่างน้ำตื้น ๆ ใส่น้ำสะอาดให้กินตลอดเวลาเมื่อลูกไก่พื้นเมืองอายุประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกไก่พื้นเมืองแข็งแรงดีแล้ว จึงเปิดสุ่มหรือกรงให้ลูกไก่พื้นเมืองไปหากินกับแม่ไก่พื้นเมืองได้โดย ธรรมชาติแม่ไก่พื้นเมืองจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้แยกลูกไก่พื้นเมืองออกจากแม่ไก่พื้นเมือง โดยนำไปเลี้ยงในกรงหรือแยกเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้แม่ไก่พื้นเมืองฟักตัวเตรียมไข่ในรุ่นต่อไป

            ลูกไก่พื้นเมืองอายุ 2 สัปดาห์ที่แยกออกจากแม่ไก่พื้นเมืองใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยัง ป้องกันตัวเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเลี้ยงต่างหากในกรงเพื่อให้แข็งแรงปราดเปรียว และเมื่อมีอายุได้ 1 -2 เดือนจึงปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติในระยะนี้ลูกไก่พื้นเมืองจะมีการตายมากที่ สุดผู้ที่เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องน้ำ อาหาร และการป้องกันโรค 
5. การควบคุมป้องกันโรคดี
          ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ผู้ที่เลี้ยงควรยึดหลัก "กันไว้ดีกว่าแก้" เพราะปัญหาโรคเป็นปัญหาสำคัญที่จะทำให้ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่ประสบผล สำเร็จ ในปีหนึ่ง ๆ จะสูญเสียไก่พื้นเมืองจึงต้องมีการสุขาภิบาลที่ดี และการให้วัคซีนป้องกันโรค ดังนี้
การสุขาภิบาลการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้
        1. ต้องดูแลทำความสะอาดโรงเรือนและภาชนะต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค พยายามอย่าปล่อยให้โรงเรือนชื้นแฉะ
        2. สร้างโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
        3. กำจัดแหล่งน้ำสกปรก รอบ ๆ บริเวณโรงเรือนและบริเวณใกล้เคียง
        4. อาหารไก่ต้องมีคุณภาพ อาหารที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าปล่อยให้เน่าบูดเสีย
        5. มีน้ำสะอาดให้ไก่กินตลอดเวลา
        6. ถ้ามีไก่พื้นเมืองป่วยไม่มากนักให้กำจัดเสีย และจัดการเผาหรือฝังให้เรียบร้อย จะช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี
        7. อย่าทิ้งซากไก่พื้นเมืองที่เป็นโรคลงแหล่งน้ำเป็นอันขาดเพราะเชื้อโรคจะแพร่ระบาดได้
        8. ไก่พื้นเมืองที่ซื้อมาใหม่ ควรแยกเลี้ยงไว้ต่างหาก โดยกักขังไว้ประมาณ 15 วัน หากไม่เป็นโรคจึงนำมาเลี้ยงในบริเวณเดียวกันได้
        9. เมื่อมีโรคระบาดไก่พื้นเมืองเกิดขึ้น ผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองไม่สามารถจะดูแลหรือป้องกันรักษาเองได้ ควรปรึกษาผู้รู้

การให้วัคซีนป้องกันโรคระบาดไก่พื้นเมือง ควรปฏิบัติดังนี้
         การเลี้ยงไก่พื้นเมือง แม้ว่าจะมีการสุขาภิบาลที่ดี แต่โดยปกติสิ่งแวดล้อมจะมีเชื้อโรคอยู่ ซึ่งสามารถทำให้ไก่พื้นเมืองเป็นโรคได้ทุกเวลา ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจึงต้องสร้างความต้านทานโรคโดยการให้วัคซีนป้องกันโรค ซึ่งควรให้ตั้งแต่ไก่พื้นเมืองอายุยังน้อยและสม่ำเสมอตามตารางที่กำหนด การให้วัคซีนจะให้ผลดีที่สุดต่อเมื่อ
        - สุขภาพของไก่พื้นเมืองแข็งแรง ไม่เป็นโรค
        - วัคซีนที่ใช้มีคุณภาพดี
        - เครื่องมือที่ใช้กับวัคซีนสะอาด และผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคแล้ว
       - ให้วัคซีนไก่พื้นเมืองครบตามขนาดที่กำหนด
       - ให้วัคซีนอย่างสม่ำเสมอและพยายามให้วัคซีนไก่พื้นเมืองที่มีสุขภาพดีทุกตัวในฝูงเดียวกัน
       - การให้วัคซีนแต่ละชนิดควรเว้นระยะห่างกันประมาณ 5-7 วัน


ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
        1.การเลี้ยงสัตว์ปีกมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราอย่างไร
        2.การเลี้ยงสัตว์ปีกไว้บริโภคเองกับซื้อสัตว์ปีกชำแหละจากท้องตลาดมาจำหน่าย อย่างไหนจะได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยกว่ากัน

กิจกรรมเสนอแนะ
       - ศึกษาค้าคว้าเกี่ยวกับ การเลี้ยงสัตว์ปีกชนิดอื่นเพิ่มเติม และทำรายงานส่งคนละ 1 เรื่อง
       - การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
        สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสัตว์ปีก

การเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดี

การเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดี

ในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่จะให้ได้ผลผลิตดีนั้น มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ดังนี้
  1. โรงเรือนหรือเล้าไก่ ต้องมีโรงเรือนหรือเล้าให้ไก่นอน มีหลังคากันแดดกันฝนได้ ไม่ควรเลี้ยงไก่ไว้ใต้ถุนบ้าน เพราะนอกจากจะไม่ถูกสุขลักษณะแล้ว คนบนเรือนจะถูกไรไก่รบกวนอีกด้วย เกษตรกรสามารถทำเล้าไก่แบบง่าย ๆ ได้เอง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก จาก ฯลฯ สถานที่ตั้งของเล้าไก่ ควรให้ห่างจากตัวบ้านพอสมควรและอยู่ในที่ดอนไม่ชื้นแฉะ ไม่ควรอยู่ใกล้ต้นไม้ เพราะไก่ชอบนอนบนต้นไม้จะไม่เข้าไปนอนในเล้า พื้นเล้าอาจจะปูด้วยแกลบหรือขี้เลื่อยหรือฟางแห้งหนาอย่างน้อย 4 ซ.ม. และต้องเปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุก ๆ 3 เดือนให้หนาเท่าเดิมอยู่เสมอ เล้ากว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ ประมาณ 30-40 ตัว
    เล้ากว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร เลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ได้ประมาณ 6-8 ตัว
    ควรมีกรงไก่ขนาดเล็กอีก 2 กรง คือ
    • กรงหรือสุ่มสำหรับเลี้ยงแม่ไก่กับลูกอ่อน 1 กรง
    • กรงหรือสุ่ม สำหรับเลี้ยงไก่เล็ก 1 กรง
  2. รางน้ำ ต้องมีรางน้ำสำหรับน้ำสะอาดให้ไก่กิน อาจใช้รางไม้ไผ่ผ่าครึ่งก็ได้
  3. รางอาหาร ควรมีรางสำหรับให้อาหารไก่ เพราะการให้ไก่จิกกินอาหารบนพื้นดินทำให้ไก่เป็นโรคพยาธิได้ง่าย ขนาดราง :
    ไก่ใหญ่ 10 ตัว ใช้รางยาว 1 เมตร
    ไก่รุ่น 10 ตัว ใช้รางยาว 50 เซนติเมตร
    ไก่เล็ก 10 ตัว ใช้รางยาว 20 เซนติเมตร
  4. รางใส่กรวดและเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่น ไก่ทุกขนาดต้องกินกรวดและเปลือกหอยเพื่อนำไปสร้างกระดูกและเปลือกไข่ กรวดและเปลือกหอยต้องตั้งทิ้งไว้ให้กินตลอดเวลา
  5. รังไข่ ปกติแม่ไก่พื้นเมืองจะไข่ในรังไข่เมื่อไข่ได้ 10-12 ฟองจึงจะเริ่มฟักต้องมีจำนวนรังไข่เท่ากับจำนวนแม่ไก่ที่ไข่เพื่อไม่ให้ไก่ แย่งกัน ขนาดรังไข่กว้างและยาว 1 ฟุต สูง 8 นิ้วฟุต หรือใช้เข่งก็ได้รองด้วยหญ้าหรือฟางแห้งให้ถึงครึ่งควรตั้งรังไข่ให้อยู่ใน ที่มิดชิด ไม่ร้อนเกินไป ฝนสาดไม่ถึง แต่แม่ไก่เดินเข้าออกสะดวก
  6. ม่านกันฝน ด้านที่ฝนสาดหรือแดดส่องมาก ๆ ควรมีม่านผ้าใบ กระสอบ หรือเสื่อเก่า ๆ ห้อยทิ้งไว้โดยเฉพาะมุมที่วางรังไข่
  7. คอนนอน สำหรับให้ไก่นอน ควรจะพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของเล้า คอนนอนควรเป็นไม้กลมดีกว่าไม้เลี่ยมซึ่งไก่จะจับคอนนอนได้ดีและเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลที่หน้าอกไก่อีกด้วย

การฟักลูกไก่

การฟักลูกไก่

ธรรมชาติของไก่พื้นบ้าน เมื่อฟักลูกไก่ออกแล้วยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู โดยหาอาหารตาม ธรรมชาติและป้องกันภยันตรายทั้งหลายจนลูกไก่อายุประมาณระหว่าง 6-10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกหากินตามอิสระ การที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่นั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้นได้ดังนี้ ในระหว่างการเลี้ยงลูกนั้น แม่ไก่จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิง ทำให้การออกไข่ของชุดต่อไปล่าช้า อัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจากร้อนจัดแล้วฝนตก ทำให้ลูกไก่ได้รับสภาวะเครียด ถ้าปรับตัวไม่ทันมักจะตาย ในแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ย่อมทำให้ลูกไก่ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำลง เป็นผลทำให้ลูกไก่ตายด้วยโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จำนวนลูกไก่ที่ฟักได้ต่อปีต่อแม่ไก่ลดลง ผลเสียดังกล่าวข้างต้น โดยปกติเกษตรกรมักมองข้ามและไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะราคาไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง ๆ อย่างไรก็ตามถ้าเกษตรกรจะยอมลงทุนบ้างและให้ความเอาใจใส่เพิ่มขึ้นอีกเล้กน้อยก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าว
ลูกไก่ชน
ได้มากพอควร ซึ่งอาจเพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขทำได้โดยการแยกลูกไก่จากแม่ไก่มากเองภายในคอกไก่ การกกลูกไก่ คือการให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่โดยอาศัยความอบอุ่นจากหลอดไฟฟ้า หรือลวดร้อน หรือเตาถ่าน เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเสมือน บริเวณใต้ปีกไก่ของแม่ไก่ที่คอยให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ นั่นเอง อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้สำหรับการกกลูกไก่ประกอบด้วย
  1. วัสดุรองพื้นคอก ที่นิยมใช้คือ แกลบเพราะหาได้สะดวก หรือจะเป็นพวกขี้เลื่อย หรือฟางข้าวแห้งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวพอประมาณก็ได้
  2. แผงกั้นกกลูกไก่ อุปกรณ์ชนิดนี้มีไว้สำหรับจำกัดบริเวณลูกไก่ให้อยู่เฉพาะบริเวณที่มีความอบอุ่น และมีอาหาร ลูกไก่แรกเกิดนั้น จะยังไม่คุ้นเคยว่าบริเวณใดอบอุ่น ถ้าไม่มีแผงกั้นกก ลูกไก่อาจเดินหลงไปตามมุมคอกไก่ซึ่งความอบอุ่นไปไม่ถึง ย่อมส่งผลสูญเสียต่อการเลี้ยง แผงกั้นกกอาจทำจากไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดใดก็ได้ที่กั้นแล้วลูกไก่ลอดผ่านไม่ได้ โดยมากมักวางแผงกั้นกกเป็นรูปวงกลมจะดีกว่าวางเป็นรูปเหลี่ยม
  3. หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ 100 วัตต์พร้อมฝาโป๊ะ 1 ชุด สามารถใช้กกลูกไก่ได้ประมาณ 10-50 ตัว แต่ในหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า อาจดัดแปลงใช้เตาถ่านที่ยังมีความร้อนอยู่วางไว้บริเวณกึ่งกลางของแผงกั้นกก แล้วใช้แผ่นสังกะสีล้อมรอบเตาถ่ายนั้น ไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เดินชน หรือโดดลงไปในเตาถ่าน
  4. ม่านกั้นคอกไก่ มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ลมฝนผ่านเข้าในคอกในระยะการกก ม่านนั้นอาจทำจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น พวกถุงปุ๋ยเก่า ๆ หรือพวกพลาสติก ซึ่งต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำเป็นม่าน
  5. ที่ให้น้ำและอาหาร อาจทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก หรือทำจากยางรถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ ก็ได้ แต่ขนาดของยางไม่ควรกว้างและลึกเกินไป การกกลูกไก่นั้น จะใช้เวลาประมาณ 3-5 สัปดาห์ ส่วนในฤดูร้อนจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ การกกในฤดูร้อนในช่วงกลางวันไม่จำเป็นต้องเปิดกกเพราะอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว บางครั้งยังต้องเปิดม่านเพื่อให้ลมพัดผ่านระบายความร้อนภายในคอกออกไปด้วย ส่วนในเวลากลางคืน ควรเปิดกกและปิดม่านให้เรียบร้อย

ไก่ชน

ไก่ชน
ไก่ชน เป็นกีฬาที่ต้องอาศัยความเข้าใจ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นบาป แต่ถ้าจะมองให้ลึกซึ้งตามมุมมองของคนที่ชอบไก่ชน ก็จะมองเห็นชัดในแง่มุมของศิลปะการต่อสู้ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่มีความพลิ้วไหวและสวยงามมาก ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ การคิดค้นพัฒนาสายพันธุ์เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นหนึ่งในวงการไก่ชน

ในการพัฒนาสายพันธุ์นั้นจะมีใครสักกี่คนที่ประสบผลสำเร็จบ้าง หรือที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองจนเป็นที่ยอมรับของบรรดาพี่น้องในวง การไก่ชน ถ้าทำได้ถือว่าบุคคลนั้นมีความประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความหลงใหลในความซับซ้อนและความละเอียดอ่อน ของกลวิธีเพื่อเพาะพันธุ์สายพันธุ์ไก่ชนที่ดี ผมถือว่ามันเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เพราะทดสอบเพื่อประเมินผลความสำเร็จของการเพาะพันธุ์ไก่ชนนั้นคือ การนำไก่เข้าชนในสนาม หากไม่เป็นที่พอใจก็แสดงว่าการเพาะพันธุ์ที่ผ่านมาล้มเหลวใช้ไม่ได้ ต้องมานั่งทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของความผิดพลาดนั้นๆ ซึ่งกว่าจะทราบผลก็ต้องใช้เวลาเป็นปี

วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน



วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน
วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับออกชน มีอยู่ด้วยกันหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประสบการและทุนทรัพย์ อย่างไรก็ตามวิธีที่ผมจะได้นำเสนอในครั้งนี้เป็นวิธีที่เป็นที่นิยมกันมาก มีขั้นตอน ดังนี้

การเตรียมความพร้อม
1. การเตรียมไก่ หรือการคัดเลือกไก่หนุ่ม
ไก่ หนุ่มเป็นไก่ที่เราต้องทำการคัดเลือกหาตัวที่ดีที่สุดในรุ่นเดียวกัน มีความสมบูรณ์ที่สุด และมีลักษณะต้องตา ที่สำคัญ ต้องแม่นตอ 2 แข็ง ลำโต เชิงชนสวย อายุตั้งแต่ 10 เดือนขึ้นไป
2. เตรียมอุปกรณ์และที่นอนสำหรับไก่
ควร จัดเตรียมสุ่มไก่ พรหมสำหรับรอง ผ้าเช็ดน้ำ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ควรให้ไก่ใช้ร่วมกัน และที่สำคัญที่นอนของไก่จะต้องสะอาดปราศจากสิ่งที่เป็นอันตรายทั้งหลาย

การอาบน้ำไก่
1. ตอนเช้า
ก่อน อาบน้ำไก่ควรสังเกตการณ์ย่อยอาหารของไก่ ว่าไก่มีการย่อยอาหารดีหรือไม่ และจึงทำการบริหารและคลายกล้ามเนื้อ บริเวณคอและโคนปีก ตามด้วยการให้กินยาบำรุงกำลัง แล้วเริ่มอาบน้ำไก่ในช่วงสายของทุกวัน (ให้ปฏิบัติเฉพาะวันที่อากาศแจ่มใส) ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ ลงกระเบื้อง ทำการนวดและเช็ดตามขน และเนื้อตัวบาง ๆ ตามด้วยขมิ้นผสมปูนลงตามร่องเนื้อบาง ๆ แล้วผึ่งแดด พร้อมกับให้ข้าวเปลือก และน้ำ (ให้กินตามสมควรหลังจากนั้นรีบเก็บทันที) ปล่อยให้ไก่อาบแดดไปเรื่อยๆ เมื่อไก่มีอาการหอบก็นำไก่เข้าร่ม อย่าให้กินน้ำจนกว่าจะหายจากอาการหอบ ถึงจะให้กินน้ำได้ (ถ้าไก่ผอมไม่ควรผึ่งแดดให้มากเพราะจะทำให้ผอมมากไปอีก ถ้าอ้วนเกินไปต้องผึ่งแดดให้มากสักหน่อย เพราะจะทำให้น้ำหนักลดลงได้เร็วขึ้น) ควรคุมน้ำหนักทุกครั้งที่มีการซ้อม และการเลี้ยงทุกวันตอนเช้า
2. การอาบน้ำช่วงบ่าย
ก่อนอาบน้ำไก่ควร เช็คสภาพร่างกายไก่ ว่ามีความสมบูรณ์ หรือมีอาการผิดปกติอย่างไร แล้วเริ่มอาบน้ำไก่ในช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. ทุกวัน (ให้ปฏิบัติเฉพาะวันที่อากาศแจ่มใส หรือปรับเปลี่ยนได้ตามความสะดวก และขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่เลี้ยง) ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ ทำการนวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อโดยการเช็ดตามขน ,ร่องเนื้อและเป็นการล้างขมิ้นผสมปูนออกจากตัวไก่ แล้วผึ่งแดด พร้อมกับให้ข้าวเปลือก และน้ำ (ให้กินตามสมควรหลังจากนั้นรีบเก็บทันที) ปล่อยให้ไก่อาบแดดไปเรื่อยๆ เมื่อขนเริ่มแห้งก็ปล่อยไก่เดินบนสนามหญ้า

หมายเหตุ ควรทำการซ้อมไก่ หลังจากที่อาบน้ำได้ประมาณ 7 วัน แล้วจึงเริ่มซ้อมครั้งแรกสัก 1-2 ยก ๆ ละประมาณ 15 นาที ซ้อมสัก 3 ครั้ง เพื่อให้ไก่ได้ใจ และดุดัน ครั้งที่ 4 ซ้อม 2 ยกๆ ละ 20 นาที รวมแล้วให้ได้ 6 – 8 ยก
***ระยะการปล้ำควรห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ***

ไก่ชนเหล่าอีตุ้ม ประวัติและความเป็นมา :


อีตุ้ม เป็นไก่ชนออกสีเยียร์แดง มีประวัติความเป็นมาดังนี้ พ่อของอีตุ้มนั้น เป็นไก่ชนสายพันธุ์ไซง่อน ประเภท ลีลา เบอร์แข้งใหญ่ มีลักษณะเชิงชนที่ดี มีไอคิวสูง ไม่เหมือนกับไก่ไซง่อน อื่นๆ ทั่วไป เหล่าพ่อดั้งเดิมเป็นสายพันธุ์ไซง่อนของ CP คือเจ้า481 และเหล่า เบอร์ 247 เชิงชนดีเป็นไซง่อนไอคิวสูง ต่อมาได้นำเข้ากับแม่พม่า 100 และได้ลูกทั้งสิ้น เป็นตัวผู้ อยู่ 5 ตัว อีตุ้มเป็นตัวสุดท้ายของครอก พี่ๆที่ออกมาก่อนนั้น ชนะในสนามชนไก่ รวมกันหลายต่อหลายไฟท์ สำหรับตัวอีตุ้มเองนั้น ชนะในสนามชนไก่ทั้งสิ้น 5 ไฟท์ ด้วยกัน จากนั้น จึงปลดระวางเป็นพ่อพันธุ์ ที่สำคัญอีตุ้ม มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดพันธุกรรมจาก รุ่นสู่รุ่น และลูกสู่หลาน ได้อย่างดีเยี่ยม ดังจะเห็นได้จาก สีสรรค์ และเกล็ดแข้ง รวมทั้งลีลา และเชิงชน ที่สำคัญนัมเบอร์แข้งนั้น .... ทุกสิ่งที่กล่าวมาถ่ายสู่ลูกหลานได้เป็นอย่างดี จะสังเกตุเห็นได้ชัดว่า ลูกของอีตุ้มนั้น จะออกมาในลักษณะสีเยียร์ ประมาณ 80-90% มีทั้งเยียร์ แดง , เทา, และ เขียว และเกล็ดแข้งจะมีกำไลแทบทั้งสิ้น ในแต่ละครอกจะมีประมาณ 40% ที่เป็นกำไลพันลำทั้งลำ นอกนั้น จะมีกำไลปะปนอยู่ด้วยแทบทุกตัว อาจจะเป็นใต้เดือน ตรงเดือย เหนือเดือย หรือเป็นแบบกำไลฟ้าผ่า ก็มีให้เห็นบ่อย แต่รับประกัน เบอร์แข้งหนักหน่วง ไก่ร้อง ไก่ดิ้น ไก่ชัก แทบทั้งสิ้น

เดิมทีอี ตุ้มเป็นของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในจังหวัด ชลบุรี กว่าจะได้อีตุ้มมาเข้าสังกัดนั้น ยากเย็นแสนเข็ญมาก มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เป็นผู้ไปเจรจาของซื้อมาให้ ใช้เงินไปจำนวน 170,000 บาท รวมทั้งนกเขาชวา และนกกรงหัวจุกอีกจำนวนหนึ่ง ได้ไก่หนุ่มมาทั้งหมด ตัวผู้ 3 ตัว และตัวเมีย 3 ตัวด้วยกัน คือ อีตุ้ม, เพชรดำ และเจ้าบ่อทอง ส่วนตัวเมีย 3 ตัวนั้น ปัจจุบันได้กระจัดกระจายหายไปแล้ว คาดว่าจะมีผู้หวังดีรับไปอุปการะเลี้ยงดู ..... ทั้ง 3 ตัวนั้น เป็นไก่ดีทั้ง 3 ตัว เลี้ยงชนชนะรวมกันทั้ง 3 ตัว ได้17 ไฟท์ ต่อมาเจ้าบ่อทองไฟท์ที่ 4 โดนตีตาบอด จึงปลดระวางทำพ่อพันธุ์เป็นอันดับแรก แต่ให้ลูกออกมานำไปชนก็ตาบอดกลับมาทั้ง 2 ตัว เลยไม่ได้นำมาทำพ่อพันธุ์อีกเลย คงเหลือเจ้าเพชรดำ และอีตุ้มที่ยังคงออกท้าชนเรื่อยไป ต่อมาได้ปลดระวางอีตุ้ม และเจ้าเพชรดำเป็นพ่อไก่...ตามลำดับ
ชื่อพ่อพันธุ์ : อีตุ้ม (ปัจจุบัน เสียชีวิตแล้วเมื่อปี 2553 อายุทั้งสิ้น 11 ปี)
สี : เยียร์แดง ลายดอก
สายพันธุ์ : พม่า+ง่อน
เกล็ด : กำไลพันลำ ปัดตลอด แตกหน้าเดือย
ลีลา เชิงชน : ขยับโยก ใต้คาง ถอยดีด ตีซอก ซ้าย-ขวา ตีคอ ตีกระเดือก (หัก ชัก ดิ้น).....เบอร์แข้งหนักมาก
สถิติ : 5 ไฟท์

ลูกๆที่กำลังทำเนื้อทำตัว อยู่ในขณะนี้ แบ่งเป็นชุดๆ ชุดแรกตั้งชื่อ ว่าชุด " สามก๊ก" มีด้วยกันหลายตัวแต่ที่เก็บไว้เพื่อทำสายพันธุ์ต่อนั้น เราตั้งชื่อรุ่น หรือชุดว่า "สามก๊ก" มาทำความรู้จักกับพวกเค้าเลยครับ ชุดนี้มีทั้งหมด 14 ตัว ไปอยู่กับเจ้าของสนามชนไก่แถวสุขาภิบาล 3 เป็นสีแดง 2 ตัว, อยู่กรุงเทพกรีฑา 1 ตัว และที่อื่นๆ


ชื่อ / Name
 รายละเอียด / Description หมายเหตุ / Remark

กวนอู
อายุ 11 เดือน เป็นลูกของอีตุ้ม ชุดแรกๆที่ออกมาสร้างชื่อเสียง สถิติ 4 ไฟท์ ตีไก่ตายมาแล้ว 3 ตัว ไฟท์แรกเสมอ
สีออกเป็นสีเยียร์แดง รอย 3.0
 
 
เตียวหุย
 อายุ 11 เดือน เป็นไก่สีออกเทา (เยียร์เทา) มีลำหัก ลำชัก ซ้อมปล้ำตีไก่หัก มาแล้วถึง 2 ตัว ระหว่างไล่อัน ปัจจุบันกำลังเตรียมทำตัวต่อไป
รอย 3.1
 
 
จูล่ง
 เป็นไก่เยียร์สีเขียว มีลำหัก ลำชัก อายุได้ 9 เดือน กำลังจับเลี้ยงทำเนื้อทำตัว ปล้ำซ้อมมา 3 อัน ไม่เคยเกิน 12 นาที....
1.  ครั้งแรกเจอกันเอง กับเจ้าขงเบ้ง ไก่เหล่าเดียวกัน ตีหัก ตีชัก เป็นเหตุให้เราไม่นำไก่เหล่าอีตุ้มด้วยกันมา ซ้อมกันเองอีกเลย...ยืนได้ประมาณ 17 นาที
http://www.youtube.com/watch?v=8tP-DHaP9Pk
2. ครั้งที่ 2 ปล้ำกับไก่ เยียร์ด้วยกัน ตี กระเดือก ตีลำโต ปล้ำได้ เพียง 7 นาที ตีคู่ต่อสู้หางบานทุกดอก มีหักทุกลำ เจ้าของขอจับออกก่อนๆที่จะโดนหนัก
http://www.youtube.com/watch?v=lxlvQxEANFU
3. ครั้งที่ 3 ปล้ำกับไก่พม่า ได้แค่ 8 นาทีกว่าๆ มีหัก มีชัก คู่ต่อสู้ตั้งใจจะมาปราบเหล่าอีตุ้ม ผลปรากฏว่ากระโดดออกจากสังเวียน หนีตายในนาทีที่ 8
http://www.youtube.com/watch?v=sY_exlRl84s
ปัจจุบันเจ้าจูล่ง เริ่มเลี้ยงทำตัวแล้ว รอย 3.0
 
 
เจ้าขงเบ้ง
 เป็นไก่เยียร์สีน้ำตาลเทา อายุได้ 9 เดือน ปล้ำซ้อมมาแล้ว 1 ครั้ง พอดีโดนดึงขนหางหลุด ตอนไล่จับเข้าสุ่ม เลยไม่ได้นำออกทำตัว ใช้เป็นพ่อไก่ คาดว่าหลังจากถ่ายแล้วขนหางขึ้นจะนำมาใช้ทำตัวต่อไป
ปล้ำได้เพียง 5 นาทีกว่าๆ คู่ต่อสู้โดนลูกกระเดือก วิ่งออกทันที
รอย 3.4
 
 
เจ้าเล่าปี่
 ปัจจุบันปล้ำซ้อมไปแล้ว 3-4 ครั้ง ตีไก่หัก ชัก ดิ้น มา 2 ตัว อายุเพิ่งจะได้ 10 เดือน เลยยังไม่ได้เคี่ยวเข็ญนัก
รอย 3.0
 

โจโฉ
อายุได้ 9 เดือนเศษ ปล้ำไล่แข็งมา 7-8 อัน แล้วเตรียมออกเร็วๆนี้ ตีไก่ ตาปิด บอดมาแล้ว มีหัก ชัก ดิ้น เห็นๆ

รอย 2.8
 

ลิโป้
อายุได้ 10 เดือนเศษ เป็นไก่ตัวใหญ่ที่สุดในรุ่น น้ำหนักอยู่ที่ 3.7 ยังไม่สามารถหาคู่ซ้อมได้ ลองเอาไก่ลูกอายุ รอยใกล้เคียงกัน เตะดูปรากฏว่า ตีไก่ลูกอายุ หัก...ลมแบบไม่ต้องยืน เบอร์แข้งหนักสุดๆ ปัจจุบันใช้เป็นพ่อพันธุ์ อยู่ คาดว่าลูกชุดแรกจะออกประมาณ กลางเดือน กุมภาพันธุ์ 2553  

เตียวเสี้ยน
เป็นตัวเมีย อายุ ได้ 9 เดือนเศษ กำลังทดลองผสมกับพ่อไก่ ได้ไฟท์ มาแล้ว 4ไฟท์ ปัจจุบันถ่ายอยู่ เลยนำเข้าผสมพันธุ์ก่อน คาดว่าลูกชุดแรกจะเกิด เดือน กุมภาพันธ์ 2553 เช่นกัน  
     

 ชุดลูกอีตุ้ม ชุดถัดไป เข้ากับเหล่าเพชรดำ ใช้ชื่อรุ่นว่า รุ่น " มังกรหยก" ชุดนี้มี 7 ตัว
Name / Picture Description Remark

ก้วยเจ๋ง
ตัวนี้ไปอยู่อุบล  

มารบูรพา
ตัวนี้ส่งไปอยู่ที่ยะลา  

ยาจกอุดร
ตัวนี้ไม่แน่ใจนะครับ แต่น่าจะกทม แถวพระราม 9  

พิษประจิม
ตัวนี้ส่งไปโคราช  


   เปิดจำหน่ายอยู่นะครับ
   เปิดจำหน่ายอยู่นะครับ
   ตัวเมีย ชุดมังกรหยกนี้ ส่งไป ลพบุรี 1 ตัวครับ  

 ชุดต่อไป ตั้งชื่อว่า ชุด " เพชรพระอุมา " เข้ากับแม่สายมณีแดง ร้อยเอ็ด และ แม่ง่อน(โยกเยก) ชุดนี้มี 7 ตัว
Name / Picture Description Remark

รพินทร์ ไพรวัลย์
ชุดนี้สีออกเทา และดำ มีบางตัวติดสร้อยแดง มาด้วย  จำหน่ายไปแล้ว

จามเทวี
ตัวนี้คาดว่าจะส่งไปอยุธยานะครับ  

แม่แหม่ม
 ไปอยู่สุรินทร์ นะครับ  จำหน่ายไปแล้ว
 
แงซาย
 สีออกสีเขียว นะครับ ทั้งตัว  เปิดจำหน่ายอยู่ครับ

ตาเกิ่น
  เปิดจำหน่ายอยู่ครับ


 ยังไงจะทยอยลงให้ชมทุกชุดนะครับ แต่ละชุดมีน้อยมากๆครับ....

ไก่ที่ชนได้ทุก สไตล์


 

ไก่ที่ชนได้ทุก สไตล์มีไหมเป็นอีกคำถามที่รอคำตอบจากหลายท่าน ...ในความเป็นจริงแทบไม่มีเลย ไก่ที่สามารถชนได้ทุกสไตล์นั้นส่วนมากเป็นไก่ที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว จะหาในสายเลือดใดเลือดหนึ่งคงพบยาก แต่หลายท่านก็ได้แต่แสวงหา...ประสบการณ์กว่า 30 ปีในวงการสอนให้รู้ว่าไก่ที่สามารถชนได้ทุกสไตล์นั้นเป็นเพียงไก่บางตัวที่ มีลักษณะพิเศษเท่านั้น เมื่อเวลาถ่ายทอดสายเลือดมันจะไม่สามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นทั้งหมดอันเป็น ลักษณะพิเศษของมันไปยังลูกหลานได้ทั้งหมด

สรุปก็คือมันจะถ่ายทอดสาย เลือดแบบขาด ๆ เกิน ๆ ในบางสิ่งบางอย่างเสมอ ดังนั้นเราจึงพบว่าไก่ เก่ง ๆ จะมีมีลูกที่เก่งเหมือนตัวพ่อเลยสักตัว อย่างมากก็ใกล้เคียง

แต่บาง ตัวเมื่อผสมกับแม่สายเลือดถูกทางกันก็จะได้ความพิเศษที่เหนือกว่าตัว พ่อ..คือเก่งกว่าพ่อ แต่ลักษณะเด่นของพ่อที่มีทั้งหมดก็ไม่ปรากฎในรุ่นลูกทั้งหมดเช่นกัน

ดัง นั้นเราจึงพบว่าในการเลี้ยงชนจริง ๆ จะปรากฎในทุกเห่าทุกเชิงทุกปีไป เพียงแต่ว่าไก่สไตล์ใดจะมีมากมีน้อยตามกระแสที่คนเลี้ยงเพาะพัฒนาขึ้นมาเท่า นั้นเอง อย่างคนเลี้ยงไก่จะพบว่าตอนนี้ป่าก๋อยก็มาแรงเพราะสามารถปะทะพม่าได้อย่าง สนุก ในขณะที่คนเลี้ยงไก่เชิงไทยก็พลอยดีใจเพราจะได้เลี้ยงไก่ไทยไปตีกับป่าก๋อย ส่วนพวกเลี้ยงลูกผสมและพม่าก็หวังว่าจะมาตีกับไก่ไทยดังนี้เป็นต้น

จึงสรุปว่าเก่งที่สุดไม่มีมีแต่งูกินหางกันเรื่อยไป


การส่งไก่ชนไทย ไปต่างประเทศ

การส่งไก่ชนไทย ไปต่างประเทศ

การเลี้ยงไก่ชน สัตว์เศรษฐกิจที่มาแรงขณะนี้ นอกจากตลาดในประเทศแล้วยังมีตลาดต่างประเทศอีกด้วย ตลาดต่างประเทศเป็นตลาดที่มีศักยภาพ มีแนวโน้มที่เติบโตมาก จากสถิติตัวเลขของกรมปศุสัตว์ ระบุว่า ปี ค.ศ.1999 มีการส่งไก่ชนไทยไปต่างประเทศตลอดทั้งปี รวม 3,628 ตัว( คงไม่นับรวมที่เดินข้ามแถบชายแดน) เป็นมูลค่าเท่าไรก็ต้องประมาณการเอาเอง ประเทศที่ส่งไปนั้นจากรายงานของกรมปศุสัตว์เช่นกันแจ้งว่าเมื่อปี 1999 มีการส่งไก่ชนไทยไป อินโดนีเซีย ( 3,513 ตัว ) บรูไน ( 26 ตัว ) กัมพูชา ( 20 ตัว ) สหรัฐอเมริกา (6 ตัว ) ฯลฯ ผู้ค้ารายใหญ่คงไม่มีปัญหาสำหรับการส่งออกหรือนำเข้า แต่รายใหม่รายย่อยหรือผู้สนใจอยากส่งไก่ไปขายเมืองนอก หรือสั่งไก่ชนจากต่างประเทศเข้ามาบ้างนั้นคงต้องศึกษาหาวิธีก่อน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ท่านผู้อ่านจึงขอนำระเบียบของกรมปศุสัตว์ เกี่ยวกับการส่งสัตว์ไปต่างประเทศ และการนำเข้ามาเสนอให้ทราบกันเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจ

การนำออกสิ่งมีชีวิต

การดำเนินการล่วงหน้า

ผู้ขออนุญาตนำสัตว์มีชีวิตไปยังประเทศใด ให้ติดต่อกับประเทศนั้นเพื่อขอทราบเงื่อนไข (Requirement) การนำสัตว์มีชีวิต เข้าประเทศนั้น ผู้ขออนุญาตฯ นำเงื่อนไข (Requirement) ที่ได้รับมาขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าออก ที่ จะนำสัตว์ออก เพื่อเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์จะได้ดำเนินการตรวจสอบโรคสัตว์ ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์และอื่น ๆตามเงื่อนไขที่ประเทศปลายทาง กำหนดให้ถูกต้องเรียบร้อยตามความประสงค์ของประเทศปลายทางนั้น ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้องขอนำสัตว์ออกนอกประเทศด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนนำออก ตามแบบฟอร์มที่กรมปศุสัตว์กำหนด ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าออกนั้น พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว หากไม่สามารถติดต่อด้วยตนเองได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจพร้อม แบบสำเนาบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบมาด้วย ในกรณีที่สัตว์จะนำออกได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด หรือได้รับการทดสอบโรคระบาดแล้ว ให้ผู้ขออนุญาตนำหลักฐานการฉีด วัคซีน หลักฐานการทดสอบโรค มาแสดงประกอบขณะยื่นคำร้องต่อสัตวแพทย์ประจำด่านกักกันสัตว์ เพื่อพิจารณาอนุญาตนำออกราชอาณาจักรด้วย ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรเพื่อการค้า ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำการค้าสัตว์ตามแบบฟอร์มของกรมปศุสัตว์ และแนบ ใบแสดงราคาสัตว์มาด้วยทุกครั้ง ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาราจักรต้องเขียนชื่ผู้ส่งออกและผู้รับปลายทาง เป็นภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตรงกับเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสือเดินทางเพื่อเจ้าหน้าที่ใช้ประกอบในการพิจารณาออกใบรับรอง สุขภาพสัตว์

การดำเนินการช่วงนำออก

เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกหนังสือใบอนุญาตนำออกฯ (แบบ ร.9) และหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ ( Health Certificate) ฉบับภาษา อังกฤษให้ผู้ขออนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ขออนุญาตนำไปแสดงต่อสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ (ท่าเข้า) ของประเทศปลายทาง ผู้ขออนุญาตนำออกต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สายการบิน หรือเจ้าหน้าที่เรือสินค้า และเจ้าหน้าที่ศุลกากรด้วยตนเอง โดยนำเอกสารหนังสือใบ อนุญาต (แบบ ร.9) ของกรมปศุสัตว์ไปแสดง ผู้นำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำออกฯ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499
ขั้นตอนการส่งสัตว์เลี้ยงออกนอกราชอาณาจักร
  • ยื่นคำร้องขอส่งสัตว์ออก (แบบ ร.1/1)
  • ตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนการเดินทางไม่เกิน 2-3 วัน ด่าน ฯ
  • ออกใบอนุญาตส่งสัตว์ออก (แบบ ร.9) พร้อมเอกสารรับรองสุขภาพสัตว์ (HEALTH CERTIFICATE)
คำแนะนำ ในการยื่นคำร้องขออนุญาตส่งสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร ควรมีเอกสารประกอบดังนี้
  • สำเนาพาสปอร์ตเจ้าของสัตว์ สำเนาบัตรประจำตัวผู้ดำเนินพิธีการส่งออก
  • สำเนาใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (RABIES VACCINATION CERTIFICATE)
กรณีสุนัข แมว ส่งออก ถ้าเป็นนก หรือสัตว์ชนิดอื่น ต้องมีเอกสารรับรองการส่งออกจากกรมป่าไม้ หรือคำยินยอมให้ส่งออกได้จากเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์ป่าท่าอากาศยานกรุงเทพฯ และหรือมีเอกสาร CITES กำกับ

การนำเข้าสัตว์มีชีวิต

การดำเนินการล่วงหน้า

ติดต่อ สอบถาม ขอคำแนะนำเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้น เนื่องจากสัตว์นำเข้าต้องผ่านการกักตรวจจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่าง ประเทศ ณ คอกกักกันสัตว์ของด่าน หากผู้นำเข้าประสงค์จะกักกันสัตว์ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ตรวจ รับรองความเหมาะสมให้เรียบร้อยก่อน
การยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าฯ ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันและควรจะติดต่อด้วยตนเอง โดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัว ผู้มอบอำนาจแนบมาด้วยทุกครั้ง
กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริง จึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการ อนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การนำเข้าของสัตว์นั้น
ผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำเข้า ฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) ของกรมปศุสัตว์แล้วให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อประเทศต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด (เงื่อนไขประกอบการนำสัตว์เข้าประเทศของกรมปศุสัตว์ จะปรับปรุงสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นปัจจุบัน และป้องกันมิให้โรคระบาดสัตว์ ทุกชนิดจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย)
ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึงเพื่อสัตวแพทย์ควบคุมรถบรรทุกสัตว์ไปยังสถานกักกัน สัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด และออกเอกสารใบแจ้ง อนุมัตินำเข้า (ร.6) ให้ผู้ขออนุญาตนำไปติดต่อ ดำเนินการทางพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น สัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต้นทาง หรือเจ้าหน้าที่สถานฑูตประเทศต้นทาง ประจำประเทศไทย หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ต้องตรงตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์กำหนด ทุกประการ ถ้ามีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ไม่ตรงตาม เงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด สัตว์นั้นจะไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศไทย สัตว์ที่นำเข้ามาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree) แนบมาด้วยทุกครั้ง
ผู้นำเข้าต้องเตรียมสำเนาเอกสารแสดงราคาสัตว์ มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำเข้าราชอาณาจักร การดำเนินการช่วงนำเข้า ผู้นำสัตว์เข้าราชอาณาจักรที่มิใช่สัตว์พันธุ์ หรือเป็นสัตว์พันธุ์แต่ไม่มีหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติสัตว์นำเข้าฯ ประกอบมา ผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าราชอาณาจักรที่กำหนดในกฏกระทรวงฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542 เมื่อเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้ว จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า นำสัตว์ไปกักตรวจ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กำหนด
การดำเนินการหลังการนำเข้า สัตว์จะถูกนำไปกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ในระยะเวลาที่นักวิชาการสัตวแพทย์จะพิจารณา เพื่อให้นักวิชาการสัตวแพทย์ เก็บตัวอย่างต่าง ๆ จากสัตว์ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าปลอดโรค และผ่านพ้นระยะเวลาการกักกันแล้ว จึงจะอนุญาตเคลื่อนย้าย ออกจากสถานกักกันสัตว์ได้ โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกใบอนุญาตนำเข้า (ร. 7) มอบให้ผู้นำเข้าไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีสัตว์ป่วย สัตว์ตาย ขณะเดินทางมาถึง หรือระหว่างกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ทันที เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและ เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อชันสูตรโรคต่อไป

ชีวิตที่ต้องชน

 เมื่อการชนไก่กลายสภาพจากกีฬาพื้นบ้านสู่ธุรกิจที่ ให้ผลตอบแทนงาม จนทำให้สังเวียนไก่ชนเป็นมากกว่าสนามกีฬา นักสู้ติดปีกผู้ไม่อาจเลือกทางเดินสายอื่นคงไม่เคยรู้ว่า เลือดเนื้อที่มันต้องสังเวยจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นผลประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือใคร

 

  แม้จะไม่มีใครสามารถระบุช่วงเวลาที่แน่ชัดของต้นกำเนิดไก่ชนในประเทศไทยได้ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บรรดาผู้ศึกษาตำนานไก่ชนมักนำมากล่าวอ้างอยู่ เสมอ คือภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงการเล่นชนไก่ของพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชาที่เมือง หงสาวดี ฝีมือพระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จัน จิตรกร) ภายในวิหารวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีคำบรรยายว่า "พระนเรศวรเมื่ออยู่หงสาวดี เล่นพนันไก่กับมังสามเกลียด มังสามเกลียดก็ว่าไก่เชลยเก่ง พระนเรศวรตรัสตอบว่า ไก่เชลยตัวนี้จะพนันเอาเมืองกัน ต่างองค์ต่างไม่พอใจในคำตรัส พ.ศ. 2121 พระชันษา 23 ปี"
        หากอ้างอิงตามข้อความดังกล่าวก็แสดงว่าคนไทยเลี้ยงและตีไก่ชนมาไม่น้อยกว่า 400 ปี ขณะที่ผู้รู้บางท่านเชื่อว่าน่าจะสืบย้อนไปได้ถึงสมัยสุโขทัยหรือศรีวิชัย เลยทีเดียว ส่วนประวัติศาสตร์ของชนชาติอื่นนั้นสามารถย้อนกลับไปถึงสมัยก่อนคริสตกาล ซึ่งถือว่าไก่ชนเป็นส้ตว์ที่ควรเคารพนับถือ บันทึกของดีโอโดรัส ซีคูลัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ระบุว่า ชาวซีเรียโบราณบูชาไก่ชนเยี่ยงเทพเจ้า ขณะที่ชาวกรีกและโรมันเชื่อมโยงไก่ชนกับเทพอพอลโล เมอร์คิวรีและมาร์ส
        ทว่าหน้าประวัติศาสตร์กลับไม่เคยบันทึกถึงจุดเริ่มต้นในการนำไก่มาชนกันเป็น เกมกีฬา ได้แต่ประมาณว่าเมื่อ 3,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยฟีนิเชียน ฮิบรูและคานาไนตส์ การชนไก่ไม่เพียงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง แต่การเลี้ยงไก่เพื่อลงชิงชัยในสังเวียนยังถือเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการค้าขายไก่ชนอีกด้วย ล่วงมาถึงยุคคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์ ทรงชักนำให้ชาวโรมันสนุกสนานกับกีฬาชนไก่และยังนำเข้าไปเผยแพร่ในเกาะอังกฤษ รวมทั้งประเทศในภาคพื้นยุโรปอย่างสเปน และฝรั่งเศสด้วย
        "พวกเอ็งมีอะไรดีนักหนาหรือ จึงพาให้ผู้คนหลงใหลได้ถึงเพียงนี้" ผมตั้งคำถามกับเจ้าสัตว์ปีกนักสู้ผู้ทระนง ที่กำลังยืนยืดอกโก่งคอคล้ายกำลังส่งเสียงขันกังวาลบนปกหน้านิตยสารไก่ชน เล่มหนึ่ง หลังจากพลิกผ่านตา ผมก็ต้องประหลาดใจ เพราะบทความและโฆษณาในเล่มล้วนบ่งบอกความเป็นธุรกิจของวงการไก่ชนมากกว่าที่ จะเป็นกิจกรรมเล็กๆ ในชุมชนห่างไกลความเจริญเช่นในอดีต หน้าโฆษณาสี่สีเกือบทั้งหมดเป็นการเสนอขายลูกไก่ชนสายพันธุ์แชมป์ ทั้งไทยแท้ ลูกผสมพม่า ลูกผสมเวียดนาม (ไซ่ง่อน) ของฟาร์มทั่วประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละแห่ง
        "เอก อิ๊ เอ้ก เอ้ก" เจ้าโต้งแข่งกันแผดเสียงขันก้องกังวาลอย่างที่คนเมื่องรุ่นใหม่อาจไม่เคยได้ ยินออกมาจากสุ่มที่วางเรียงรายหลายสิบลูกบนผืนพรม เสียงที่แว่วมาไม่ขาดสายตั้งแต่ผมขับรถเข้าใกล้โชคบัญชาฟาร์ม จังหวัดนครปฐม ช่วยทำให้ผมมั่นใจว่าคงไม่ต้องกลับรถอีกเป็นรอบที่สาม
        รถขับเคลื่อนสี่ล้อค่อยๆเคลื่อนผ่านแอ่งน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกตามมาตรการที่อาจเล็ดรอดเข้ามา ตามมาตรการที่เข้มงวดจนลูกค้าออกปากเหน็บแนมว่า "ยากยิ่งกว่าไปร้านทองเสียอีก" เมื่อรถผ่านน้ำยาเข้ามาแล้ว ยังต้องพ่นยาฆ่าเชื้อที่คน ซึ่งต้องสวมรองเท้าบูตและล้างมือให้สะอาดก่อนจะจับไก่ ในช่วงที่มีการระบาดของโรค นอกจากฉีดยาในฟาร์มทั้งเช้าและเย็นแล้ว ยังห้ามนำรถเข้ามาในฟาร์มเด็ดขาดด้วย "ความสะอาดคือสิ่งสำคัญครับ" บัญชา ปัญญาวานิชกุล เจ้าของฟาร์มและเกษตรกรดีเด่น สาขาเลี้ยงสัตว์ (ไก่ชน) ประจำปี 2546 ให้เหตุผล
        สำหรับความเสียหายของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ชนจากการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก นั้น  นายสัตวแพทย์ ชัย วัชรงค์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมอาชีพไก่ชนไทย บอกผมด้วยคำพูดสั้นๆคำเดียว แต่สีหน้าบ่งบอกความรู้สึกอย่างชัดเจนว่า "รุนแรง" เขาจำแนกปัญหาออกเป็น 3 กรณีว่า การไม่อนุญาตให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคทำให้ไก่พื้นเมืองและไก่ชนล้มตายไปไม่ น้อยกว่า 20 ล้านตัว การห้ามทำกิจกรรมชนไก่ส่งผลต่อชาวบ้านที่เพาะเลี้ยงไก่ชน เพราะไม่รู้จะเอาไปไก่ไปทำอะไร และการห้ามการเคลื่อนย้ายส่งทำให้กิจกรรมการชนไก่ซบเซา

ไก่ชนเหลืองหางขาว

ไก่ชนเหลืองหางขาว
ไก่ชน
เป็นไก่ชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะที่บ้านกร่าง จังหวัดพิษณุโลก ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงใช้ไก่ชนนี้เพื่อชนกับ ไก่ชนของพม่าและพระองค์ทรงเป็นฝ่ายชนะ ปัจจุบันไก่ชนนี้ไม่ได้เป็นเพียงที่รู้จักในประเทศไทย เท่านั้น ยังมีเป็นที่รู้จักในพม่าด้วย

Friday, July 20, 2012

การเล่นกีฬาชนไก่


 
การเล่นกีฬาชนไก่
การ เล่นกีฬาไก่ชนเป็น การละเล่นพื้นบ้านมายาวนานพร้อม ๆ กับการกำเนิดสังคมมนุษย์ แต่สำหรับสังคมไทยเท่าที่ศึกษาประวัติศาสตร์การเล่นไก่ชนพบว่ามีมาก่อนสมัย สุโขทัย เพราะพบมีภาพวาดภาพจารึกในชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในภูมิภาคนี้ หลักฐานชัดเจนปรากฎในชุมชนขอมที่มีการจารึกภาพบนแผ่นหินแสดงการชนไก่ในงาน ประเพณีต่าง ๆ ดังนั้นจึงกล่าวว่าการชนไก่เป็นการละเล่นที่มีมาอย่างยาวนาน

การ เล่นไก่ชนเป็นสิ่งล่อแหลมในมุมมมองของนักวิชาการหลายกลุ่ม ถ้าเป็นพวกนักกฎหมายนักปกครองก็จะมองว่าเป็นการพนันที่ผิกฎมาย ถ้าเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็จะมองว่าเป็นการทรมานสัตว์ ถ้าเป็นนนักมานุษยวิทยานักสังคมวิทยาก็จะมองว่าเป็นวิถีชีวิตชุมชน ในสังคมปัจจุบันเป็นยุคที่มนุษย์มีจำนวนมากกฎเกณฑ์การควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ จะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือหลักในการควบคุม ดังนั้นการละเล่นไก่ชนจึงถูกควบคุมโดยกฎหมายด้วยเพื่อจัดระเบียบการเล่นไก่ ชน

พฤติกรรมการละเล่นของมนุษย์มีความผูกพันกับการเล่นการพนันทุกยุค ทุกสมัย การเล่นไก่ชนก็เช่นเดียวกันจากการชนเพื่อความสนุกสนานก็มีการพนันเกิดขึ้น ซึ่งก็เหมือนกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่เมื่อมีการแข่งขันการพนันก็เกิดขึ้น คนรวยมักจะมีการเล่นการพนันตามแบบตะวันตกเพราะรับวัฒนธรรมมาจากตะวันตก เช่นการเล่นกอล์ฟ การเล่นสนุกเกอร์ รวมทั้งการพนันในรูปแบบอื่น ๆ จนสามารถเปิดเป็นบ่อนคาสิโนได้ ส่วนชาวบ้านก็เล่นการพนันตามแบบชาวบ้านเช่นการชนไก่ การกัดปลา เป็นต้น

สรุป ได้ว่าการละเล่นกับการพนันมีความเกี่ยวข้องกันเสมอมาไม่อาจจะแยกได้ บางทีวันที่ภรรยาคลอดลูกมันยังเสียพนันไปหลายบาทเพราะลุ้นว่าจะเป็นหญิงเป็น ชาย ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งบ้านนอกคอกนา ตามสถานที่พักผ่อนทั่วไปก็เห็นเล่นการพนันกันทั่วเมืองซึ่งเป็นการเล่นเพื่อ พักผ่อนให้มีความพอประมาณพอดีไม่เดือดร้อน

เมื่อการพนันเป็นส่วน หนึ่งของวิถีชีวิตคนเล่นจึงต้องฉลาดเล่น เล่นอย่างมีความพอประมาณมีกฎกติกาในการเล่นที่ชัดเจน ขีวิตก็จะไม่เดือดร้อนเงินพนันเป็นเงินร้อนเดี๋ยวไปเด๊ยวมา. . . เป็นที่น่า สังเกตว่าคนเล่นพนันมือเติบมักจะเป็นคนรวบ เพราะคนรวยมีนิสัยพื้นฐานเป็นคนชอบเสี่ยง กล้าคิดกล้าทำกล้าลงทุน อย่างการชนไก่ส่วนมากคนรวยจะเป็นเจ้าของซุ้มเจ้าของค่ายไก่ชน ส่วนคนจนเป็นคนเลี้ยงไก่รับจ้าง พอมีงานทำมีอาชีพหรือได้ขายไก่ชนเวลาไก่ออกชนก็ได้ค่าเลี้ยงค่าดูแลไก่ เป็นต้น

ดังนั้นการส่งเสริมกีฬาไก่ชนจึงเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านมี ช่องทางในการทำงานและการขายไก่ เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ไก่พื้นเมืองโดยแท้ หากไม่มีกีฬาไก่ชนก็สามารถบอกได้เลยว่าไม่เกิน 10 ปีไก่พื้นเมืองจะถูกทอดทิ้งและล้มหายตายจากไปโดยไม่มีมรดกทางด้านพันธุกรรม ไว้ให้ลูกหลานพัฒนาต่อไปอย่างแน่นอน . . . เมื่อถึงวันนั้นไก่ในทุกประเทศจะกลายเป็นไก่เนื้อจากโรงงานทั้งหมด คนที่คิดจะพัฒนาต่อยอดทางพันธุกรรมเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ ก็จะไม่มี ไก่สามสายสี่สายที่มีเนื้อแน่น ๆ รสชาดดี ๆ มีคอเรสเตอรอลต่ำ ๆ ก็จะไม่มีบริโภคเพราะเราจะบริภาคไก่เนื้อแบบGMO กันทั้งหมด. . . เมื่อถึงวันนั้นเราจะคิดถึงไก่ชน