Saturday, November 24, 2012

ฟาร์มไก่มาตรฐาน

ฟาร์มไก่มาตรฐาน

สำหรับท่านใดที่มี ฟาร์ม หรือ ซุ้มไก่ชน ต้องการที่จะแก้ไข หรือ เพิ่มข้อมูลใน หน้าฟาร์มไก่ชน ให้แจ้งข้อมูลมาได้ที่นี่
No. ฟาร์ม / ซุ้ม เจ้าของ / ผจก. / ผอ. ที่อยู่ โทรศัพท์
1 ฟาร์มไก่ชนกำนันวิเชียร กำนันวิเชียร ตันศิริ หมู่ 9 หนองจอก (02)5431425
2 เจ้าพระยาฟาร์ม ณฐพล (สม) ร่วมทรัพย์ ถนนปทุม - สามโคก ปทุมธานี 01-8741107
3 ศูนย์อนุรักษ์ไก่ฯพิษณุโลก ภิเษก บูรณเขตต์ อ.เมืองพิษณุโลก 01-8863272
4 ตลาดนัดไก่พื้นเมือง มาโนช บุญประสิทธิ์ โพธิ์ทอง อ่างทอง 01-9355910
5 ซุ้มไก่ราชวิถี อ.วีระเดช พะเยาศิริพงษ์ ซอยราชวิถี 24 (02)6682665
6 ชัยปราการ เอก  ปากน้ำ สุขุมวิท กม30ปากน้ำ 02-3955716
7 โชคบัญชา บัญชา ปัญญาวานิชกุล ดอนยายหอม นครปฐม 034-229147
8 พญาเจ้าฟ้า สมาน ทองคำ ดอนเมือง กทม 01-4100811
9 เพชรพญาฟาร์ม สมนิตย์ งามวุฒิวร กรุงเทพฯ - สุพรรณบุรี 01- 6137944
10 ชมรมบ้านดาวเทียม สมชัย ยะหัตตะ ศรีราชา ชลบุรี 038-352070
11 ขุนพลไก่ไทย สมชาย (จิว)โชครุ่งเริญยิ่ง บางบัวทอง นนทบุรี (02)5717208
12 สมบัติฟาร์ม สมบัติ สุขปาน สิงห์บุรี 01-8533844
13 ประทุมฟาร์ม ประทุม คงคำ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 055-311385
14 นครอุดรธานี วิชัย มะลิจักร์ หนองไผ่ เมืองอุดร 042-207898
16 ทรัพย์ประเสริฐ รุ่งโรจน์ กลั่นเกษร บางบัวทอง นนทบุรี  
17 ขิง อยุธยา องอาจ (ขิง) วิสุทธิธรรม ข้างวัดพนมยงค์ อยุธยา 01- 2747118
18 ฟาร์มวังโค้ง ปัญญา บุญสมบุญ 50 ม1 วังโค้ง เพชรบูรณ์ 01-9625733
19 เอกศักดิ์ฟาร์ม เอกศักดิ์ ศิวบุณย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 01-9253036
20 ชมรมฯ เขื่อนยันฮี จักรกฤช ช้างรบ เขื่อนภูมิพล ตาก 055-549420
21 ชมรมอนุรักษ์ท่าม่วง ถกล อริยะพงศ์ ท่าม่วง กาญจนบุรี (034)561700
22 ฟาร์มศรีกรุง ศรีกรุง (02)5343421 (02)5653306
23 ฟาร์มไก่ไทย สายัณห์ ประทุม ชัยบาดาล ลพบุรี 01-9566385
24 ศยามไทย ศยาม นาครทรรพ (02)5432328 (02)3781931
25 ศิริมงคล เล็ก เรืองรัตนตรัย ท่าพริก เมืองตราด 039-540163
26 หนองแซง อนันต์ รัตนจิตร หนองแซง สระบุรี 036-366294
27 อาร์.เอส.ฟาร์ม เริงศักดิ์ กลับประสิทธิ์ อ.เมือง จ.เชียงราย 01-8465305
28 แสงเพชร โอภาส สินศุภฤกษ์ ต.ศรีสำราญ อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี 01-9759226
29 นารายณ์ไก่ชน ชาตรี สุรนานันท์ บ้านโป่ง ราชบุรี 01-4863410
30 ซุ้มไก่ชนลูกทองแดง อัศวิน ไทยรัตน์ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 053-388690
31 ประดู่ลาย หนูจันทร์ มีสา ต.หนองแวง อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี 01-2601056
32 ตลาดไก่ชนแปดริ้ว ประยุทธ์ เอื้ออารีย์ ข้าง ร.พ.โสธรวราเวช 038-514080
33 ซุ้มไก่ชนเพชรกลาโหม ร.อ. วสันต์ จันทร์เชื้อ และทีมงาน 41/1 หมู่ 5 ตง บ้านกร่าง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 089-7056312
34 ซุ้มจันแดง นายจักรกฤษณ์ บุรีรัตน์ 224 ม.9 ต.บางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 081-1426126
35 ซุ้ม m100 คุณลี - คุณนาฟ หลังหมู่บ้านนักกีฬา วงเเหวนรอบนอก 081-4226595
36 ซุ้ม แสนหมาน นายสมนึก ชายเจริญ (จอมมารบู) 7 หมู่ 2 ต.ขามเฒ่า อ.เมือง จ. นครพนม 48000 และ 68 ม. 5 ต.โพนทอง อ. บ้านแพง จ.นครพนม 48140 08-9842-4416, 08-9842-2081
37 สระบัวเจริญฟาร์ม คุณศุภฤกษ์ สุวรรณนที (ผู้บริหาร) 1022 ถ.เพชรเกษม ต.ห้วยจรเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม 081-9420841
38 ซุ้มตระกูลลี พิทักษ์ ลีวงศักดิ์ (สังกัดซุ้มตระกูลลีโคราช) 61/1 ต.บางบุตร อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 21000 085-5542669
39 อยุธยาป่าก๋อย ไก่ป่าก๋อย สายเพชรยืนยง เจ อยุธยาป่าก๋อย 634 / 44 หมู่ 5 ซ.พยอม7 ต.พยอม อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13180 087-0991346
40 ดอกไม้ไทย ธนาคม ธนกาญจน์ 20/8 ม. 19 ต. ดอนฉิมพลี อ. บางน้ำเปรี้ยว จ. ฉะเชิงเทรา 24170 081-8247648
41 พยัคฆ์ใต้ Mr.ALAMDAR 8/2 ม.4 ต.ซากอ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส 96210 080-7015679
42 สายน้ำปาว นายสัญชัย ชัยศิริ 82 ถ.ประดิษฐ์ ซ.3 อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000 081-8714200
43 สำนักไก่ชนพยัคฆ์มังกร คุณเฉลิมพร จำวัน 6 หมู่ 9 บ้านนามั่ง ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี  
44 ฟาร์มไก่ชน เพชรบางจาก (แพร่บางจาก) พ่อเลี้ยงนอง สุนทรเมือง / นายเจษฏาพร สุนทรเมือง 122/2 ม.5 ต.ป่าแมต อ.เมือง จ.แพร่ี  
45 ซุ้มเบบี้มายด์ นู๋แหม่ ร้านเบบี้มายด์บิวตี้ ถ. เอกชัย ซ. เอกชัย 70 ตรงข้ามครัวแสวงซีฟู๊ด 2 นู๋แหม่ โทร 088-503-2257 นเรศ โทร 085-135-4746
46 ซุ้มโชคชัยอนันต์ นายชัยอนันต์ ราชชมภู สวนป่าสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยอนันต์ โทร 085-4994563
47 ซุ้ม อั๋นพม่าเขลางค์ วังน้ำลี้ อั๋น 167/1 ม.7 ต.ท่าผา อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130 อั๋น โทร 085-7233873
48 ซุ้มวังน้ำลี้โคราช   6/1 หมู่3 บ้านดอนทะแยง ต.บ้านปรางค์ อ.คง จ.นครราชสีมา โทร 080-7258064
49 ซุ้มบ้านโนนสง่าพัฒนา คุณใหญ่ บ้านโนนสง่าพัฒนา อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ โทร 087-8321641
50 ซุ้ม ส.สยาม   52/2 (ข้ามสะพานตรงข้ามวัดราชโกษา) ซอยแก้วเจริญ แยก 1-2 ถนนขุมทอง-ลำต้อยติ่ง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. โทร 02-212-7161, 081-3000-735
51 ซุ้มเพชรการะเวก คุณสมทรง การะเวก (เอ้ ) 92 หมู่ 5 ต.ทัพหลวง อ.เมือง จ.นครปฐม โทร 081-0076349,085-1451238 e-mail / msn: benzaudio@hotmail.com
52 ซุ้มเพชรน้ำลี้ นาย วิชัย อุชุปัจ <พ่อหนานชัย> 30 หมู่ 9 ตำบลเหล่ายาว อ.บ้านโฮ๋ง จังหวัดลำพูน 51130 โทร 0817730875
53 ซุ้ม ส.เอกา พิษณุโลก นาย ชนินทร์ รัตนะทิพย์ 123/62427 หมู่ 2 ตำบล อรัญญิก อำเภอเมื่อง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร 0881742689 เกมส์ ส.เอกา พิษณุโลก
54 ซุ้มดาบหมานลำพูน ดต.สมาน อินธรรมขันธ์ 169 หมู่ 2 บ้านห้วยปันจ๊อย ต.หนองยวง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน 51120 โทร 089-6347149 ดต.สมาน อินธรรมขันธ์

สมุดประจำตัวไก่ชน

สมุดประจำตัวไก่ชน

การจัดทำสมุดประจำตัว ไก่ชนของกรมปศุสัตว์นี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันโรค และเพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ความ เข้าใจในการบันทึกประวัติไก่ ของตน เนื่องจากไก่ชนเป็นไก่ที่เลี้ยงไว้เพื่อการกีฬา จะมีการเคลื่อนย้าย หรือนำไปแข่งขันในต่างพื้นที่เป็นประจำ ความจำเป็นในการควบคุมโรคจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีการเกิดโรคระบาดของสัตว์ปีก อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการฝังไมโครชิพ แต่จะต้องพัฒนาการฝังชิพไม่ให้ไก่ชนเกิดความรำคาญ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการชนของไก่เปลี่ยนไปได้
กรมปศุสัตว์ได้กำหนดมาตาการเฝ้าระวังและ ควบคุมเคลื่อนย้าย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ดังนี้
  1. ผู้เลี้ยงไก่ชนทั้งที่เป็นลักษณะฟาร์มและไม่เป็นลักษณะฟาร์มต้องขึ้น ทะเบียน กับกรมปศุสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพื้นที่ทุกจังหวัด
  2. สัตวแพทย์สำนักงานปศุสุตว์จังหวัด จะดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างจากทุกฟาร์มหรือ ทุกบ้านที่มีการเลี้ยงไก่ชนเป็นประจำทุก ๒ เดือน เพื่อตรวจเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์ปีก ซึ่งการดำเนินการเฝ้าระวังเช่นนี้จะดำเนินการกับการเลี้ยงสัตว์ปีกทุกประเภท ไม่เฉพาะการเลี้ยงไก่ชน
  3. ไก่ที่มีไว้เพื่อชน ต้องทำสมุดประจำตัวไก่ชน และต้องแสดงสมุดประจำตัวไก่ชน ต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ในระหว่างทางการเคลื่อนย้าย หรือเมื่อเคลื่อนย้ายถึงปลายทาง เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบแหล่งที่มาของไก่ชนว่ามีโรคระบาดหรือไม่ และเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้เลี้ยงไก่ชนในการลดขั้นตอนการขออนุญาต เคลื่อนย้าย นอกจากนี้การจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน ยังเป็นการเพิ่มมาตรฐานการเลี้ยงไก่ชนในประเทศไทยด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าไก่ชนทั้งภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศได้มาก
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหลัง
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหลัง

ขั้นตอนการจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน

  1. ปศุสัตว์จังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงไก่ชนทราบถึงรายละเอียด การจัดทำ สมุดประจำตัวไก่ชน รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ
  2. ไก่ชนที่จะทำสมุดประจำตัว ต้องมีอายุตั้งแต่ ๘ เดือนขึ้นไป
  3. เจ้าของไก่ชน ยื่นแบบคำขอ ทำสมุดประจำตัวไก่ชน (แบบ กช.๑) ที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักปศุสัตว์อำเภอ
  4. เจ้าหน้าที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักปศุสัตว์อำเภอ จะนัดหมายเข้าของไก่ชน เพื่อตรวจสุขภาพไก่ชน เก็บตัวอย่างเพื่อนำไปทดสอบโรค และ ตรวจประวัติการได้รับวัคซีน พร้อมถ่ายรูปไก่ชน จำนวน ๓ รูป คือ
    • รูปทั้งตัว ๑ รูป
    • รูปถ่ายส่วนหัวด้านซ้าย หรือ ด้านขวา ๑ รูป
    • รูปถ่ายแข้ง ๒ ข้าง ๑ รูป โดยถ่ายภาพ ด้านหน้าของแข้งให้เห็นเกร็ดชัดเจน
  5. รูปถ่ายไก่ชน เมื่อติดในสมุดประจำตัวไก่ชน แล้ว ให้ประทับตราสำนักปศุสัตว์จังหวัด ที่ขอบของรูปถ่ายทั้ง ๓ รูป เพื่อป้องกันการเปลี่ยนรูปถ่าย
  6. การกรอกข้อมูลประวัติไก่ชน
    • พันธุ์ หมายถึง พันธุ์ของไก่ชน ได้แก่ ไทย หรือ พม่า หรือ เวียดนาม หรือ ลูกผสมไทย-พม่า เป็นต้น
    • สี หมายถึง สีที่ปรากฏจริง เช่น ขนคอแดง ขนหลังแดง และ หางดำ หรือ ระบุ ตามภาษาไก่ชน เช่น ประดู่หางดำ หรือ เหลืองหางขาว หรือ นกกรด เป็นต้น
    • ตำหนิ หมายถึง ลักษณะที่ไม่สามารถ ลบเลือนได้ เช่น ตาลาย หรือ เดือยดำ หรือ นิ้วก้อยซ้ายหัก เป็นต้น
    • ส่วนสูง หมายถึง วัดจากพื้นที่ไก่ยืนถึงหัวปีก โดยให้ไก่ยืนท่าปรกติ
  7. เจ้าหน้าที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด เก็บตัวอย่างโดยวิธี Cloacal Swab เพื่อนำไปตรวจ ทดสอบโรค
  8. เมื่อได้รับผลการทดสอบโรคเป็นลบ จึงมอบสมุดประจำตัวไก่ชน ให้กับเจ้าของ โดยระบุเลขประจำตัวไก่ชน ๘ หลัก (ID Number) ดังนี้
    • หลักที่ ๑ และ ๒ เป็น อักษรย่อของจังหวัด
    • หลักที่ ๓ และ ๔ เป็น ปี พ.ศ.
    • หลักที่ ๕ ถึง ๘ เป็น ลำดับการออก สมุดประจำตัว
    เช่น กท ๔๗ ๐๐๐๑, ปท ๔๗ ๐๐๑๙

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza)

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza)

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) เป็น โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Avian Influenza virus type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมี surface antigens ที่สำคัญ ได้แก่ haemagglutinin (H) มี ๑๕ ชนิด และ neuraminidase (N) มี ๙ ชนิด เชื้อไวรัส Influenza แบ่งเป็น ๓ type ได้แก่
Type A แบ่งย่อยเป็น ๑๕ subtype ตามความแตกต่างของ H และ N antigen พบได้ในคนและสัตว์ต่างๆ เช่น สุกร ม้า และสัตว์ปีกทุกชนิด
Type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน
Type C ไม่มี subtype พบเฉพาะในคนและสุกร

อาการ

โรคไข้หวัดนก อาการที่แสดงนั้นมีความผันแปรตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส และสัตว์ที่ได้รับเชื้อ สัตว์อาจจะไม่แสดงอาการป่วย แต่จะมีระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น (Seroconverion) ภายใน 10-14 วัน จึงสามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรค สัตว์อาจจะแสดงอาการดังนี้
กินอาหารลดลง ปริมาณไข่ลดในไก่ไข่ นอกจากนี้อาจจะมีอาการ ไอ จาม ขนร่วง มีไข้ หน้าบวม ซึม ท้องเสีย ในรายที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงอาจตายกระทันหัน ซึ่งมีอัตราตายสูง ๑๐๐%
ไวรัสชนิดนี้จะไม่ทำให้เป็ดป่วย แต่อาจทำให้สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ป่วยได้ เช่น ไก่งวง

แหล่งของไวรัส

สัตว์ปีกทุกชนิดมีความไวต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สามารถที่จะแยกเชื้อได้จากนกน้ำ รวมทั้ง นกชายทะเล นกนางนวล ห่าน และนกป่า เป็ดป่าสามารถที่จะนำเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยที่จะไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญในสัตว์ปีก
ความเสี่ยงของการระบาดโรคไข้หวัดนกจากนกน้ำ โรคไข้หวัดนกมีการระบาดในนกป่าและเป็ด นกน้ำเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ไก่งวงยังเป็นแหล่งกักโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคไข้หวัดนกได้ ความเสี่ยงของไก่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันที่มีโอกาสสัมผัสกับนกน้ำเป็นความเสี่ยงสูง แต่ยังไม่ทราบว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้การระบาดไม่แน่นอนในแต่ละพื้นที่นั้น

วิธีติดต่อของโรค

  1. การติดต่อของโรคจากการสัมผัสกับอุจจาระ เป็นวิธีติดต่อที่สำคัญระหว่างนกด้วยกัน นกป่าจะ เป็นตัวนำเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไปยังนกในโรงเรือนที่เปิดได้ โดยผ่านทางการปนเปื้อนของอุจจาระ
  2. การติดเชื้อโดยทางการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค (Mechanical Transmission) มูลของนกเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสที่สำคัญ การขับเชื้อไวรัสทางมูลเป็นเวลา ๗๑๔ วัน หลังการติดเชื้อ แต่ไม่พบเชื้อไวรัสในสิ่งปูรองได้ในระยะเวลานานถึง ๔ สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ไวรัสสามารถจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง ๑๐๕ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง ดังนั้น วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ คน และสัตว์ เช่น นกป่า หนู แมลง นกกระจอก จึงเป็นปัจจัยในการกระจายของโรคได้
  3. การติดเชื้อจากการหายใจเอาสิ่งคัดหลั่งของตัวป่วย ก็เป็นได้
  4. ไวรัสไข้หวัดนกสามารถพบในเปลือกไข่ชั้นในและชั้นนอก อย่างไรก็ตาม การติดต่อจากแม่ไก่ผ่านมายังลูกไก่ทางไข่ (Vertical transmission) ยังไม่มีการรายงาน ส่วนการติดโรคผ่านไข่ไปยังฟาร์มอื่นนั้นมักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อที่เปลือกไข่ หรือถาดไข่ และจัดเป็นการติดต่อที่สำคัญวิธีหนึ่ง

การติดต่อโรค จากสัตว์ปีกมาสู่คน

การติดต่อโรคนี้จากสัตว์ปีกมาสู่คน เป็นไปได้ยาก จากข้อมูลการเกิดโรคในคนที่ประเทศฮ่องกง และประเทศอื่นๆ พบว่าเป็นการติดต่อโดยตรงจากตัวสัตว์ปีกมีชีวิต ไม่มีรายงานการติดต่อมายังคน โดยการบริโภคเนื้อไก่ และ ไข่ มาตรการการป้องกันการแพร่กระจายของโรค โรคไข้หวัดนก ในฟาร์มที่มีโรคระบาด ประกอบด้วย ๓ หลักการที่สำคัญ คือ
  1. การป้องกันการกระจายของเชื้อ
    1. ไม่ให้มีการนำสัตว์ปีกเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีการระบาดของโรคภายหลังจากการกำจัดสัตว์ป่วย ในระยะเวลา ๒๑ วัน
    2. กำจัดวัชพืชรอบโรงเรือน และกำจัดสิ่งปูรองตลอดจนอาหารของสัตว์ป่วยนั้น
    3. มีโปรแกรมควบคุมพาหะของโรค เข่น แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หนู และนก เนื่องจากสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวนำพาเชื้อโรคจากอุจจาระของสัตว์ป่วยไปยังที่ต่างๆได้
    4. ป้องกันการสะสมของแหล่งน้ำภายในฟาร์ม ซึ่งเพิ่มปริมาณของนกที่เคลื่อนย้ายเข้ามา และมีโอกาสเป็นสื่อให้การแพร่กระจายของโรคขยายวงออกไป
    5. จำกัดแหล่งอาหารซึ่งเป็นปัจจัยให้นกเคลื่อนย้ายมาอาศัย
    6. ให้ความรู้พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังที่ต่างๆ
  2. การควบคุมการเคลื่อนย้าย
    1. จัดระบบควบคุมการเข้า-ออกฟาร์มของบุคคลภายนอกและบุคคลภายในฟาร์ม
    2. ลดการเคลื่อนย้ายระหว่างภายในฟาร์มและภายนอกฟาร์ม โดยใช้ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์และโทรสาร
    3. ให้ใช้มาตรการทำลายเชื้อโรคคนที่เข้า-ออกฟาร์ม
    4. ไม่อนุญาตให้พนักงานขับรถยนต์ พนักงานขนส่งเข้า-ออกฟาร์มโดยที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
  3. การรักษาสุขอนามัย
    1. ใช้ยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค และควบคุมไม่ให้มีการปนเปื้อนอุจจาระไปกับรถหรือยานพาหนะ
    2. ล้างวัสดุ อุปกรณ์และยานพาหนะด้วยผงซักฟอก และยาฆ่าเชื้อ
    ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการควบคุมและลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสคือ
    1. Formaldehyde
    2. Iodine compound
    3. Quaternary ammonium compound
    4. สารที่เป็นกรด
    5. ความร้อน ๙๐ °C เวลา ๓ ชั่วโมง หรือ ๑๐๐ °C เวลา ๓๐ นาที
    6. ความแห้ง
มาตรการสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ หรือผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสัตว์ในฟาร์มที่มีการระบาด โรงฆ่าสัตว์ปีก ผู้รับซื้อสัตว์ปีกซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดโรคนั้นควรปฏิบัติดังนี้
มาตรการสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง
  1. ควบคุมการเข้า - ออก ของคน สัตว์ ไม่ให้ยานพาหนะและคน โดยเฉพาะรถรับซื้อไก่ รถรับซื้อไข่ รถรับซื้อขี้ไก่ รวมถึงคนรับซื้อไก่ ไข่ หรือ ขี้ไก่เข้ามาในฟาร์ม หรือบริเวณบ้าน
  2. งดซื้อไก่จากพื้นที่อื่นๆเข้ามาเลี้ยง
  3. รักษาความสะอาดในโรงเรือน ทำโรงเรือนแบบปิด หรือใช้ตาข่ายคลุม และกำจัดเศษอาหาร เพื่อ ป้องกันไม่ให้สัตว์อื่น ๆ รวมทั้งนก หนูเข้ามาในโรงเรือน เพราะอาจนำเชื้อโรคเข้ามาในฟาร์ม
  4. ไม่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะเช่นแม่น้ำลำคลอง เลี้ยงไก่ หากจำเป็นให้ผสมยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน
  5. หากมีไก่ป่วยหรือตายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที ไม่นำไก่ที่ป่วยหรือตายออกมาจำหน่าย อย่าทิ้งซากสัตว์ลงในแหล่งน้ำ หรือที่สาธารณะ ต้องกำจัดทิ้งโดยการเผา หรือฝังในหลุมลึกไม่น้อยกว่า ๕ เมตร ณ จุดเกิดโรค รวมทั้งมูลไก่ ไข่ และอาหารสัตว์ด้วย แล้วราดด้วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  6. ก่อนเข้าไปในฟาร์ม สัมผัสสัตว์ป่วย ซากสัตว์ที่ตาย หรือทำลายสัตว์ ควรสวมผ้าพลาสติกกันเปื้อน ผ้าปิดปาก จมูก ถุงมือ หมวก หลังเสร็จงานรีบอาบน้ำด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว พลาสติก หรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือต้องถอดทิ้ง หรือนำไปซักหรือล้างให้สะอาดก่อนนำมาใช้อีก
  7. ทำลายเชื้อโรคในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดโดยการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณฟาร์ม กรง เล้า พื้นคอก และรอบๆ เช้า เย็น ทุกวัน
มาตรการสำหรับฟาร์มไก่เนื้อและไก่ไข่
  1. ห้ามนำยานพาหนะต่างๆ โดยเฉพาะรถส่งอาหารไก่ รถรับซื้อไก่ รถรับซื้อไข่ หรือ รถรับซื้อขี้ไก่ เข้ามาในฟาร์ม หรือบริเวณบ้านโดยไม่จำเป็น หากต้องเข้าฟาร์มต้องใช้ยาฆ่าเชื้อโรคฉีดพ่นยานพาหนะทุกครั้งก่อนเข้า และออกจากฟาร์ม
  2. ป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนคนที่เข้า-ออกฟาร์ม โดย
    • ห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าฟาร์มโดยไม่จำเป็น
    • บุคคลที่ต้องเข้า-ออกฟาร์ม ต้องจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม และให้เปลี่ยนรองเท้า ของฟาร์มที่เตรียมไว้
    • ไม่ควรเข้าไปในฟาร์มอื่นเพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคจากฟาร์มอื่นเข้มาในฟาร์ม
  3. รักษาความสะอาดในโรงเรือน ทำโรงเรือนแบบปิด หรือใช้ตาข่ายคลุม และกำจัดเศษอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์อื่น ๆ รวมทั้งนก หนูเข้ามาในโรงเรือน เพราะอาจนำเชื้อโรคเข้ามาในฟาร์ม
  4. ป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนไข่ และถาดไข่ในฟาร์มไข่ไก่โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ไข่และถาดไข่ทุกครั้งที่นำเข้าฟาร์ม
  5. หากมีไก่ป่วยหรือตายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีเพื่อรับซื้อไก่ที่เหลือใน ฟาร์มและปฏิบัติตามคำแนะนำของปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อมาสู่สัตว์อื่น ไม่นำไก่ที่ป่วยหรือตายออกมาจำหน่าย อย่าทิ้งซากสัตว์ที่ตายลงในแหล่งน้ำ หรือที่สาธารณะ ต้องกำจัดทิ้งโดยการเผา หรือฝังในหลุมลึกไม่น้อยกว่า ๕ เมตร ณ จุดเกิดโรค รวมทั้งมูลไก่ ไข่ และอาหารสัตว์ แล้วราดด้วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ผู้รับซื้อสัตว์ปีก
  1. ต้องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ตัวรถ ล้อรถ และกรงใส่สัตว์ปีกให้ทั่วถึงทุกซอกทุกมุม หลังจากนำสัตว์ปีกส่งโรงฆ่าแล้ว
  2. เมื่อซื้อสัตว์ปีกที่ใดแล้ว ไม่ควรแวะซื้อที่อื่นอีก หากจำเป็นไม่ควรควรนำยานพาหนะเข้าไปในฟาร์ม และต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อที่เสื้อผ้า รองเท้าและตัวคนจับสัตว์ปีก
  3. อย่าซื้อสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย หรือสัตว์ปีกจากฟาร์มที่มีสัตว์ปีกตายมากผิดปกติ
ผู้รับซื้อสัตว์ปีก
  1. ต้องงดซื้อสัตว์ปีกป่วยเข้าฆ่า
  2. ถ้ามีสัตว์ปีกตายให้ทำลายด้วยการฝัง เผา ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่บริเวณโรงฆ่า ทุกซอกทุกมุมหลังเสร็จสิ้นการฆ่าสัตว์ปีกทุกครั้ง
  3. หากพบสัตว์ปีกหรือเครื่องในมีความผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์โดยเร็ว

วิธีการทำลายเชื้อ

สิ่งที่ต้องทำลายเชื้อ วิธีการทำลายเชื้อ
  1. ยานพาหนะ
    1. ใช้น้ำฉีดแรงดันสูงเพื่อทำความสะอาดยานพาหนะ
    2. พ่นยาฆ่าเชื้อบนรถและล้อรถด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มฟอร์มาลดีไฮด์ กลุ่ม กลูตาราลดีไฮด์ กลุ่มควอเตอร์นารีแอมโมเนียม กลุ่มฟีนอล หรือสารประกอบคลอรีน
  2. วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเรือน แช่อุปกรณ์ต่าง ๆ ในน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มคลอรีน กลุ่มควอเตอร์นารีแอมโมเนียม กลุ่มฟีนอลหรือกลุ่มกลูตาราลดีไฮด์
  3. โรงเรือน ฉีดพ่นบริเวณโรงเรือนและรอบโรงเรือนทุกวัน เช้า-เย็น ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเช่นเดียวกับที่ใช้ฉีดพ่นยานพาหนะ
  4. ถาดไข่
    1. แช่ถาดไข่ในน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มน้ำสบู่เช้มข้น ผงซักฟอก สารประกอบคลอรีน สารประกอบควอเตอร์นารีแอมโมเนียมหรือสารประกอบฟีนอล เป็นระยะเวลานาน 10-30 นาที หรือ
    2. รมควันถาดไข่ในห้องแบบปิด หรือใช้ผ้าพลาสติกคลุม โดยใช้ฟอร์มาลีน 40 % ผสมกับด่างทับทิม ในอัตราส่วนฟอร์มาลีน 50 มล. ต่อ ด่างทับทิม 10 กรัม ในพื้นที่ขนาด 2 x 2 x 2 เมตร เป็นระยะเวลา 24 ชม.
  5. ไข่
    1. จุ่มไข่ในน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มไฮโปคลอไรท์ หรือสารประกอบฟีนอล
    2. รมควันโดยใช้วิธีเดียวกับถาดไข่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือ โทร. ๐๒-๖๕๓๔๔๔๔ ต่อ ๔๑๔๑ หรือ ๔๑๑๕
มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการทั่วไปสำหรับการควบคุม ป้องกันโรคในสัตว์ปีก ที่เคยได้แนะนำเกษตรกรเมื่อเริ่มมีการระบาดของโรคมาแล้ว และต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดมากขึ้นในกรณีเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือ โทร. ๐๒-๖๕๓๔๔๔๔ ต่อ ๔๑๔๑ หรือ ๔๑๑๕
  1. หากพบว่าสัตว์ปีกเช่นไก่ เป็ด หรือนกที่เลี้ยงไว้ในบ้าน ป่วยตายอย่างรวดเร็วหรือ ผิดปกติมากกว่า 1 ตัวขึ้นไป หรือมีนกตกลงมาตายในบริเวณบ้านหรือใกล้บ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก ควรเก็บตัวอย่างซากสัตว์ที่ตายส่งตรวจหาสาเหตุการตาย โดยใส่ถุง พลาสติก 2 ชั้น มัดปากถุงให้แน่น เก็บใส่ภาชนะแช่น้ำแข็งส่งห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคของกรมปศุสัตว์ที่ อยู่ใกล้ที่สุด
  2. หากไม่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกอื่น ๆ ให้ทำการทำลายซากสัตว์ปีกดังกล่าว โดยการเผา หรือฝังในบริเวณที่พบสัตว์ตาย โดยขุดหลุมลึกพอประมาณที่สัตว์จะไม่สามารถคุ้ยซากขึ้นมาได้ ใส่ซาก สัตว์ปีกลงไป แล้วราดทับด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น น้ำคลอรีน หรือ ปูนขาว แล้วฝังกลบทับให้แน่น อาจใช้วัตถุหนักทับเพื่อความมั่นใจ
  3. ก่อนหยิบจับซากสัตว์ทุกครั้ง ต้องสวมผ้าปิดปาก จมูก สวมถุงมือ หรือใส่ถุงพลาสติก เพื่อป้องกันการสัมผัสกับซากสัตว์โดยตรง เมื่อฝังเสร็จให้ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด
  4. หลังการเก็บซากสัตว์แล้ว ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น จอบ เสียมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือทำลายถุงมือ ผ้าปิดปาก จมูก ทิ้งโดยเผา หรือฝัง
สามารถส่งซากสัตว์วินิจฉัยโรคได้ที่
  1. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. โทร 0-2589-7908-11
  2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออก (ชลบุรี) ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง ชลบุรี
  3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (สุรินทร์)
  4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ขอนแก่น) ต.ท่าพระ อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น
  5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนล่าง (พิษณุโลก) อ.เมือง พิษณุโลก
  6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาค เหนือตอนบน (ห้างฉัตร) อ.ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
  7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาค ตะวันตก (ราชบุรี) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จังหวัดราชบุรี
  8. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ (ทุ่งสง) อ.ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  9. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ 02-6534444 ต่อ 4141 หรือ 4115

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์

อาหารไก่พื้นบ้าน

อาหารไก่พื้นบ้าน

ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ ส่วนในฤดูเก็บเกี่ยว และนวดข้าว ไก่ก็มีโอกาสที่จะได้รับเศษอาหารที่ตกหล่นมาก ทำให้ไก่มีสภาพร่างกายอ้วนท้วนสมบูณ์พอสมควร ส่วนในฤดูแล้งมักจะประสพปัญหาไก่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องน้ำซึ่งมักจะขาดอยู่เสมอ จำเป็นต้องเตรียมไว้ให้ไก่ด้วย หลักในการให้อาหารไก่พื้นบ้านมีดังต่อไปนี้
  1. ควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง
  2. การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่ด้วย
  3. ถ้าเป็นไปได้ควรเสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการจิกกินไข่ของแม่ไก่
  4. ควรนำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่าง ๆ เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น
  5. การใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหารโปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยัง เป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย
  6. ควรมีภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ โดยทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยางรถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่ อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง
  7. สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป
  8. ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ควรมีอาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ซึ่งจะช่วยให้แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ
  9. ในระยะการกกลูกไก่ในคอกนั้น จำเป็นต้องซื้ออาหารสูตรผสม (อาหารไก่เล็ก) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมาให้ลูกไก่กิน การให้อาหารพวกปลายข้าว
  10. ข้าวเปลือกหรือรำ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้รวมกันจะไม่ได้ผล เพราะจะทำให้ลูกไก่แคระแกรน ไม่แข็งแรง และตายในที่สุด
  11. ดังนั้นจึงควรหาซื้ออาหารสูตรผสมที่มีโปรตีนเมื่อพ้นระยะการกกแล้วใน
  12. ช่วงเวลากลางวันก็สามารถปล่อยให้ไก่ออกหาอาหารตามธรรมชาติบ้าง ในช่วงก่อนค่ำก็ไล่ไก่เข้าคอกและควรให้อาหารสูตรสำเร็จเสริมให้ไก่ หรือจะให้เศษอาหารที่เหลือ หรือพวกปลายข้าว รำข้าว ก็ได้
  13. ในกรณีที่เลี้ยงไก่จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือแหล่งอาหารตามธรรมชาติว่ามีเพียงพอต่อจำนวนไก่ หรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอก็ควรซื้ออาหารสูตรผสมให้กินเสริมด้วย มิเช่นนั้นจะพบว่าไก่ที่เลี้ยงจะผอม ไม่แข้งแรง และมักแสดงอาหารป่วยจนถึงตายในที่สุด
นอกจากการใช้สูตรอาหารสำเร็จมาใช้เลี้ยงไก่แล้ว ยังมีอาหารอีกรูปแบบหนึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ในรูปเข้มข้น หรือเรียกกันว่าหัวอาหาร ซึ่งสามารถซื้อนำมาผสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด หรือมันสำปะหลังตากแห้ง เป็นต้น การผสมมักจะคำนึงถึงสูตรอาหารที่จะใช้ว่าจะเลี้ยงในระยะลูกไก่หรือไก่รุ่น เมื่อทราบอายุไก่ที่เลี้ยงแล้วก็นำหัวอาหาร และวัตถุดิบที่มีอยู่มาผสมกันตามสัดส่วนที่คำนวณไว้ดังตัวอย่างเช่น ถ้าหัวอาหารประกอบด้วยโปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาผสมกับปลายข้าวที่ประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำเป็นสูตรอาหารให้ได้โปรตีน 19 เปอร์เซ็นต์
เพื่อใช้เลี้ยงลูกไก่ การผสมแบบนี้สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการคำนวณ คือ
  1. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของหัวอาหาร กับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้อง การผสมในกรณีนี้คือ 42-19 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 23
  2. หาความแตกต่างระหว่างเปอร์เซ็นต์โปรตีนของปลายข้าวกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนของสูตรอาหารที่ต้องการผสม คือ 19-8 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11
  3. จากข้อ 1 และข้อ 2 สรุปผลได้ดังนี้คือ ถ้าเรานำหัวอาหาร จำนวน 11 ส่วน มาผสมกับปลายข้าว จำนวน 23 ส่วน เราก็สามารถผสมสูตรอาหารไก่ที่ประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ได้

อาหารไก่พื้นบ้าน 2


ก่อนอื่นเกษตรกรต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ไก่ต้องการอาหารเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หายใจ เดิน วิ่ง และการกินอาหาร ใช้ในการสร้างกระดูก เนื้อ หนัง ขน เล็บ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใช้ในการสร้างไข่ และผลิตลูกไก่ ดังนั้น การที่ไก่จะเจริญเติบโตดี มีความแข็งแรง และให้ไข่มาก ไก่ จะต้องได้กินอาหารเพียงพอ และได้กินอาหารดี โดยสม่ำเสมอทุกวัน ไก่ต้องการอาหารประเภทใดบ้าง ความต้องการอาหารของไก่คล้ายกับคนมาก ไก่ต้องการอาหารทั้งหมด 6 อย่าง คือ
  1. อาหารประเภทแป้ง เพื่อนำไปสร้างกำลัง ใช้ในการเดิน การวิ่ง อาหารประเภทนี้ได้จากรำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวเปลือก กากมันสำปะหลัง
  2. อาหารประเภทเนื้อ เพื่อนำไปสร้างขน เล็บ เลือด เนื้อหนัง อาหารประเภทนี้ได้จากแมลง ไส้เดือน ปลา ปลาป่น
  3. อาหารประเภทไขมัน นำไปสร้างความร้อนให้ร่างกาย อบอุ่นได้จากกากถั่ว กากมะพร้าว ไขสัตว์ น้ำมันหมู กากงา
  4. อาหารประเภทแร่ธาตุ ไก่ต้องการอาหารแร่ธาตุไปสร้างกระดูก เลือด และเปลือกไข่ แร่ธาตุต่าง ๆ ได้จากเปลือกหอยป่น กระดูกป่น
  5. อาหารประเภทไวตามิน สร้างความแข็งแรง และกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และ บำรุงระบบประสาท มีในหญ้าสด ใบกระถิน ข้าวโพด รำข้าว ปลาป่น
  6. น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดต่อร่างกาย ถ้าขาดน้ำไก่จะตายภายใน 24 ชั่วโมง ต้องมีน้ำให้ไก่กินตลอดเวลา การปล่อยให้ไก่หาอาหารเองตามธรรมชาติจนเคยชิน ทำให้เกษตรกรเข้าใจว่าไก่กินรำและปลายข้าวและอาหารตามธรรมชาติก็ เป็นการเพียงพอแล้วแต่การที่จะเลี้ยงไก่ให้ได้ผลดีนั้นเกษตรกร
จะต้องให้การเอาใจใส่เรื่องอาหารและน้ำให้มากขึ้นโดยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
  1. ให้น้ำสะอาดตั้งไว้ให้ไก่กินตลอดวัน และคอยเปลี่ยนน้ำทุกๆ วัน
  2. ให้อาหารผสมทุกเช้าเย็นเพิ่มเติมจากอาหารที่ไก่หากินได้ตามปกติ
  3. ให้อาหารไก่หลาย ๆ ชนิดผสมกัน เช่น ปลายข้าว รำข้าว ข้าวโพดป่น ปลาป่น ข้าวเปลือก กากถั่ว กากมะพร้าว หัวอาหารไก่สำเร็จรูปชนิดเม็ดหรือชนิดผง
  4. มีเปลือกหอยป่นผสมเกลือป่นตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินตลอดเวลา
  5. ให้หญ้าสด ใบกระถิน หรือผักสดให้ไก่กินทุกวัน
  6. ในฤดูแล้ง ไก่มักจะขาดหญ้ากินเกษตรกรควรปลูกกระถินไว้บริเวณใกล้ๆ คอก วิธีปลูกนั้นให้นำเมล็ดกระถินมาลวกด้วยน้ำร้อนนาน 2 ถึง 3 นาที แล้วนำไปแช่น้ำเย็น เสร็จแล้วจึงนำไปเพาะในดินใส่ถุงพลาสติก จนกระทั่งต้นกระถินสูงประมาณ 1 เมตร
  7. จึงย้ายไปปลูกเป็นแถวหรือแนวรั้ว เมื่อต้นกระถินติดดีแล้ว ควรตัดให้ต้นต่ำ ๆ เพื่อไก่จะได้กินถึงหรือจะคอยตัดให้ไก่กินก็ได้ นอกจากนั้นเราอาจเพาะข้าวเปลือกหรือถั่วเขียวให้ไก่กินก็ได้ การเพาะถั่วเขียวให้เอาเมล็ดถั่วเขียวแช่เย็นไว้ 12 ชั่วโมง ล้างใส่ไหคว่ำไว้หมั่นรดน้ำทุก 2-3 ชั่วโมง พอครบ 3 วันก็เอาออกให้ไก่กินได้ ถั่วเขียว 4 กระป๋องนมให้แม่ไก่กินได้ประมาณ 100 ตัว
  8. การใช้หัวอาหารไก่สำเร็จรูปผสมลงในรำข้าวหรือปลายข้าวเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายและผสมได้สะดวกเป็นวิธีที่จะเสริมให้ไก่เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้น
  9. การสังเกตว่าไก่ได้อาหารเพียงพอหรือไม่ให้ดูว่าในระยะแรกที่ให้อาหารไก่จะรีบกินและมีการแย่งกัน ถ้าไก่กินอาหารไปเรื่อย ๆ และเลิกแย่งกันกินอาหารช้าลง มีการคุ้ยเขี่ย แสดงว่าไก่ได้กินอาหารเพียงพอแล้ว
ข้อมูลจาก กรมปศุสัตว์