Monday, May 27, 2013

การฝึกซ้อมและออกกำลังกายไก่ชน


        การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไก่และซ้อมไก่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งบางครั้งต้องให้โอกาสไก่ด้วย ไม่ใช่ว่าซ้อมไม่เก่งแล้วก็ปล่อยทิ้งไม่ทำการซ้อมติดต่อกันการซ้อมจะต้อง ซ้อมถึง 5 ครั้งแล้วสังเกตดูลีลาว่าลีลาชั้นเชิงเป็นอย่างไรเพราะไก่ไม่เหมือนนักมวย ตรงที่ว่าไก่จะตีตามความถนัดของตน การซ้อมแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าท่านตั้งหน้าตั้งตาซ้อมอย่างเดียว ต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาเป็นอย่างดีต้องมีความสมบูรณ์ ไก่ที่มีความสมบูรณ์และสมบูรณ์ดีพอทำการซ้อมครบ 5ครั้งไม่มีอะไรดีขึ้นไม่มีการพัฒนาขึ้นมาท่านก็ควรพิจารณา
การฝึกไก่ชนตามชั้นเชิง ไก่ชนแต่ละซุ้มที่เลี้ยงกันอยู่นั้นปัจจุบันมีมากมายหลายเชิงหลายลีลาบาง ชั้นเชิงดีลีลาสวยแต่ตีไก่ไม่เจ็บ บางตัวไม่สวยชั้นเชิงไม่มากแต่ตีไก่เจ็บ ตีหนัก ทำให้คู่ต่อสู้ออกอาการ ฉะนั้นการฝึกไก่เราต้องฝึกให้ไก่เคยชินกับเชิงของมันเสียก่อน เช่น ไก่ชนที่มีเชิงขี่ทับล็อคคอ เราต้องหาคู่ซ้อมที่เรียกว่าครูฝึก ไก่ที่จะเป็นครูฝึกต้องเป็นไก่เชิงลายหัวหรือลงให้เตี้ยกว่าตัวขี่ เมื่อเราเอามาทำการฝึก ตัวขี่ล็อคคอมันจะเคยชิน ต้องซ้อมนวมหรือลงนวมแล้วไก่ตัวเชิงดีมันจะเคยชินกับชั้นเชิงของมันถ้าเรา เอาที่ตัวชั้นเชิงเหมือนกันมาฝึกไม่ตัวใดตัวหนึ่งต้องสียเชิง พูดง่ายๆว่าเสียไก่ไปหนึ่งตัว เพราะว่าตัวที่เสียเชิงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆจะสู้ไม่ได้ ก็เลยลายหัวลงไปให้คู่ต่อสู้ขี่ล็อคคอทับเอาก็กลายเป็นเสียเชิง นานๆเข้าก็ติดเป็นนิสัย หรือที่เรียกกันว่า "เสียไก่" ไก่ชนลูกหนุ่มเราเห็นแววว่าเก่ง เราไม่ควรทำการซ้อมหนัก ควรซ้อมเบาๆไปก่อน ถ้านำไปซ้อมหนัก มันก็จะเสียไก่หรือเรียกว่าถอดใจไม่คิดสู้
การซ้อมไก่ชนถี่มากเกินไป การซ้อมไก่ชนถ้าซ้อมพอดี ก็จะเป็นประโยชน์ต่อไก่ของท่าน แต่ถ้าการซ้อมนั้นมีมากเกินไปจะไม่ดีและยังจะมีโทษต่อไก่ชนอีกต่างหาก การซ้อมไก่ชนถี่ๆและมากเกินไป จะทำให้ไก่ชนของท่านอ่อนแอและไม่มีความสมบูรณ์ เมื่อนำซ้อมครั้งต่อไป จะทำให้ไก่ชนของท่านคิดแต่จะหนีการซ้อมแต่ละครั้งเราควรต้องดูความสมบูรณ์ ของไก่ด้วย ถ้าไม่มีความสมบูรณ์จะทำให้ไก่ทรุดโทรมลงไปอีก เมื่อไก่ทรุดโทรมผู้เลี้ยไก่บางท่านอาจจะปล่อยปละละเลยกลายเป็นไก่หมดสภาพ ทันที ไก่ชนแต่ละตัวจะมีความดีในตัวมันเอง การเข้าชนมันถนัดไม่เหมือนกัน บางตัวเข้าชนลายหัวให้แต่กลับตีไม่ถูกบางตัวเตี้ยแต่เวลาเข้าชนกับตะกาย เหมือนจะกินกระหม่อมเพราะความถนัดของมันแต่ละตัว และเชิงชนของมันไม่เหมือนกันนั้นเอง ไก่ชนที่ท่านนำไปซ้อมเมื่อสู้คู่ต่อสู่ไม่ไหวท่านต้องเลิกทำการซ้อมทันที ถ้าท่านปล่อยไว้จนมันทนไม่ไหวจะทำให้มันทรุดและเลี้ยงไม่ขึ้น และเมื่อทำการซ้อมไก่เสร็จท่านควรหายาแก้ซ้ำในให้ไก่กิน
บริหารลำคอ
ไก่ชนเวลาเข้าชน ลำคอเป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้ ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา คอยหลอกล่อ หลบหลีก และจู่โจม และยังเป็นเป้าหมายในการโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ไก่ตัวใดที่มีลำคอไม่แข็งแกร่งมักจะเป็นโอกาสที่คู่ต่อสู้จะตีฝ่ายเดียวอัน เป็นหนทางสู่ความพ่ายแพ้ การบริหารลำคอผู้ฝึกจะต้องนั่งลง เอามือซ้ายโอบรอบตัวไก่ให้แนบกับลำตัวมือขวาจับข้อต่อลำคอของไก่นวดเฟ้นลำคอ ตั้งแต่โคนคอขึ้นไปจนถึงหัว การนวดจะต้องนวดอย่างแผ่วเบา ต้องนวดขึ้นลงครั้งละ 20 - 30 หน ขณะที่นวดควรจับคอไก่โยกไปทางซ้ายทีขวาที ไปข้างหน้าและข้างหลัง สลับกันไปมา 20 - 30 ครั้งเพื่อให้คอไก่แข็งแรง เป็นการกระตุ้นลำคอเพื่อให้เกิดความต้านทานเวลาเข้าชน หรืออีกวิธีหนึ่งจับไก่ให้อยู่ระหว่างขาของผู้ฝึกให้ไก่หันหน้าไปทางเดียว กันกับผู้ฝึกใช้มือซ้ายโอบตัวไก่หรือจับที่ต้นคอหลวมๆมือขวาจับคอยืดและหด ออกหลายๆครั้ง โยกไปทางซ้ายทีขวาทีหน้าหลังสลับกันไปมา 20 - 30 ครั้ง แรกๆบริหารลำคอ 6 - 8 ครั้งก็พอแล้วค่อยเพิ่มขึ้นเมื่อไก่เริ่มชิน และเริ่มนวดขยำให้แรงขึ้นกว่าเดิม แต่อย่าแรงเกินไปจนทำให้ไก่หายใจลำบาก
การบริหารปีก
ปีกนอกจากจะใช้ในการกระพือแล้วยังช่วยในการพยุงตัวและเข้าชนอีก ด้วย หลังจากลูบน้ำและบริหารลำคอเรียบร้อยแล้ว ทำการบริหารปีกโดยการโอบไก่เข้าหาตัว ใช้มือซ้ายจับที่โคนปีกพอหลวมๆมือขวาจับตรงกลางข้อต่อของปีก จากนั้นให้นวดเฟ้นบริเวณตั้งแต่โคนปีกเรื่อยขึ้นไปจนถึงข้อต่อและปลายปีก เฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหนัง ทำทั้งสองปีกสลับกันไปมาประมาณ 10 - 15 นาที หรือสอดมือทั้งสองข้างเข้าใต้ปีกซ้ายขวาพร้อมกันโดยหงายมือจับข้อต่อของปีก ไก่ทั้งสองข้างแล้วดึงออกจนสุดปลายปีกพร้อมกับยกให้ไก่ตีนสูงขึ้นพ้นพื้นดิน หรือจะจับทีละปีกปละหิ้วดึงขึ้นให้สูงให้ตีนพ้นดินสลับกันไปมาข้างละประมาณ 10 ครั้ง
บริหารขา
ทำโดยการบีบนวด ขยำ บริเวณกล้ามเนื้อที่ขาทั้งสองข้าง โดยนวดลูบลงเบาๆ ประมาณ 15 - 20 นาที เสร็จจากการนวดให้รวบขาทั้งสองข้างเข้าหากันยกขึ้นตรงๆบีบเข้าหากันสัก 2 - 3 ครั้ง จากนั้นพับตรงข้อต่อระหว่างแข้งขาเข้าหากันที่ละข้างโดยใช้นิ้วมือคั่นไว้ ระหว่างกลางทำสลับกันทั้งสองขา นวดที่แข้ง นิ้วและดัดเบาๆ
ฝึกวิ่งทางตรง
ถ้าอยากให้ไก่มีร่างกายแข็งแรงจะต้องปล่อยให้วิ่งและบินในตอนเช้า เป็นประจำ นำไก่ไปปล่อยไว้ในที่โล่งเริ่มจากยกตัวไก่สูงขึ้น จับตัวยกขึ้นยกลงอย่าให้เร็วหรือช้าเกินไป ไก่จะกางปีกพยุงตัวตามจังหวะที่ยกขึ้นลงเมื่อชินแล้วยกตัวไก่ขึ้นสูงๆปล่อย ให้กางปีกบินถลาไปไกลๆ หรือยกตัวไก่ขึ้นกลางอากาศ ฝึกแรกๆ อย่าให้สูงนักการยกขึ้นลงควรได้จังหวะแล้วโยนขึ้นไปบนอากาศให้ไก่บินเองอีก วิธีหนึ่งก็คือ ให้ไก่ล่อจับใส่กระเป๋าล่อ ให้ไก่ฝึกตีเจ้าของไก่พาไก่ล่อวิ่งทางตรงทันทีที่เจ้าของไก่ออกวิ่งไก่ชนจะ วิ่งตามใช้เวลาฝึกประมาณ 20 นาที
ฝึกล่อเป้า
คือการฝึกให้ไก่ตีคู่ต่อสู้โดยที่คู่ต่อสู้ไม่โต้ตอบเพื่อให้ไก่ชน ได้มีประสบการณ์ ได้ออกกำลังกาย ฝึกความคล่องตัว ฝึกนิสัย การไล่ตีคู่ต่อสู้รู้จักใช้ปากและสายตา ฝึกหลบหลีก เป็นการยั่วยุให้ไก่ดุ และได้ใจ การฝึกโดยวิธีนี้จะทำให้ไก่หลักไม่บอบช้ำ
วิ่งวงล้อ
ไก่ชนบางตัวอาจยังไม่ชินกับการวิ่งวงล้อ ไก่อาจตกใจ การแก้ไขไม่ให้ไก่ตกใจนั้น ให้นำไก่ขี้ตกใจนั้นเข้าขังในวงล้อแล้วล็อกวงล้อให้อยู่นิ่งอย่าให้วงล้อ หมุนเมื่อไก่คุ้นเคยกับวงล้อแล้วไม่มีอาการตกใจก็ปล่อยให้วงล้อวิ่งช้าๆก่อน จนกว่าไก่จะคุ้นเคยมากกว่านี้สำหรับไก่ที่ชินแล้วจะวิ่งในวงล้อเป็นชั่วโมง ท่านต้องผ่อนวงล้อให้วิ่งช้าๆก่อนไก่วิ่งวงล้อจะมีกล้ามขาที่แข็งแกร่งแต่ ต้องลงนวมหรือซ้อมนวมด้วย
การวิ่งสุ่ม
การวิ่งสุ่มเป็นเทคนิควิธีหนึ่งที่ใช้หลอกล่อไก่ให้ออกกำลัง โดยเฉพาะตรงส่วนขา เป็นการฝึกระบบหายใจของไก่ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับไก่มากยิ่งขึ้น ที่เซียนไก่มักพูดกันว่า “ทำให้ไก่ได้ใจ” การวิ่งสุ่มจะทำให้ไก่ดุ โกรธ อยากตีไก่มากขึ้น โดยใช้ไก่ในสุ่มเป็นตัวล่อให้วิ่งเลาะในสุ่ม และให้ไก่ตัวที่อยู่ด้านนอกหรือตัวที่เราเลี้ยงวิ่งไล่เลาะรอบสุ่ม ไก่จะวิ่งเลาะสุ่มไปเรื่อยๆ ควรใช้สุ่มตาถี่ จับเวลาประมาณ 20 - 30 นาที
บินหลุมหรือโดดกล่อง
ขุดบ่อลึกประมาณ 50-60 เซนติเมตรเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตรถ้าท่านไม่มีลานที่เป็นพื้นดินก็ทำเป็นกล่องไม้สูงประมาณ120 เซนติเมตร ใช้ผ้ากระสอบป่านกั้น 1 ด้านสูงเทียมอก ใส่ทรายลงไปที่ก้นหลุมหรือจะเป็นกระสอบปูแทนก็ได้เวลาฝึกจับไก่ลงไปให้ไก่ บินขึ้นมาทำวันละ 100 - 200 ครั้งจะทำให้ไก่บินเก่งเป็นการฝึกกล้ามเนื้อขาและปีกไปในตัว
การฝึกโยนเบาะ
เพื่อให้ไก่ได้ออกกำลังปีกกำลังขา จะทำให้ปีกแข็งแรง เดินดี ตีแม่น บินดี วิธีนี้ให้ฝึกกับไก่ที่ชอบแปะหน้าตี เกี่ยวหัวตี ตีเท้าบ่า จะได้ผลดี ส่วนไก่เชิงขี่ ล็อค ม้าล่อ วิ่งชน จะไม่ดี วิธีการฝึกให้ให้วางเบาะหรือฟูก เอาไว้ ผู้ฝึกนั่งบนเก้าอี้ หงายมือซ้ายในลักษณะแบมือพยุงหน้าอกไก่ไว้ มือขวาคว่ำจับตรงโคนหางไก่เอาไว้จังหวะแรกมือซ้ายดันหน้าอกไก่โยนขึ้นให้ลอย พร้อมมือขวากดหางไก่ไว้ไก่จะลอยตัวขึ้นพร้อมกางปีกพยุงตัวซอยขาเพื่อเตรียม ยืด ทำเช่นนี้ต่อกันวันแรก 20 ครั้งวันต่อมาเพิ่มทีละ 10 จนถึง 100 ครั้งเมื่อเห็นว่าไก่ไม่เหนื่อยให้ฝึกวันละ 100 ครั้ง
หลังจากทำการฝึกซ้อมไก่แล้วก็ควรให้ไก่ได้พักผ่อน การพักผ่อนเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับไก่ กล้ามเนื้อ ประสาททุกส่วนต้องการที่จะพักผ่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวเพราะถ้ากล้ามเนื้อไก่ฉีก เราจะไม่มีวันรู้เลยเพราะไก่พูดไม่ได้ ช่วงพักผ่อนควรให้ไก่อยู่เฉยๆอย่าให้ไก่ออกกำลังกายเป็นอันขาดช่วงนี้อย่า ให้ไก่เครียด อย่าเสียงดังจะทำให้ไก่ตกใจการฝึกซ้อมไก่ควรทำตารางการฝึกไว้ด้วยจะเป็น การดีมาก
เลือดลงแข้ง
เป็นอาการที่เกิดจากการซ้ำบวมของขาไก่ ไม่ใช่โรคร้ายที่จะทำให้ไก่ถึงกับตายอย่างเฉียบพลันแต่อาจจะทำให้ถึงกับ พิการได้เหมือนกันหากมีความรุนแรงมากจึงควรรีบรักษาเสียแต่เนิ่นๆ
สาเหตุ เกิดจากการสมบุกสมบันมากจนเกินไปในการใช้ขาอย่างไม่รู้จักบันยะบันยังของไก่ เอง หรืออาจจะเกิดจากความบกพร่องของคนเลี้ยงที่อาจจะมีการออกกำลังกายหรือหักโหม ให้ไก่ใช้ขามากจนเกินไป อันนี้ก็สามารถที่จะทำให้เกิดเลือดลงแข้งได้เหมือนกัน
อาการ บริเวณแข้งหรือขาของไก่จะมีการบวม สัมผัสดูจะรู้สึกได้ถึงความนิ่มของแข้งอย่างชัดเจน ประกอบกับมองดูก็จะเห็นถึง ลักษณะของแข้งรวมไปจนถึงเกล็ดมีอาการช้ำ จนเกล็ดมีสีแดงอมเลือดเลยทีเดียว
การป้องกัน เพียงแต่การออกกำลังกายให้ระวังในเรื่องนี้ และคอยควบคุมป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเลือดลงแข้ง วิธีการนี้จะถือว่าดีที่สุด เพราะเลือดลงแข้งจะเป็นอาการของการช้ำลำแข้ง หรือที่เรียกกันว่ารองช้ำในไก่ก็ได้
รักษาพยาบาล

ขั้นที่ 1 ใช้น้ำอุ่นประคบเพื่อให้มีการคลายของกล้ามเนื้อเสียก่อน หลังจากนั้นรอให้แข้งเย็น
สักหน่อย แล้วใช้น้ำเย็นประคบตามทุกครั้ง ภายหลังจากการประคบด้วยน้ำอุ่น

ขั้นที่ 2 ทาน้ำมันมวยหรือครีมอะไรก็ได้ที่ทาแล้วแก้อาการช้ำบวมได้ และนวดเบาๆบริเวณ
ที่ช้ำบวม
ข้อควรระวัง

ห้ามทำการนวดแรงๆโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดอักเสบ ช้ำบวมมากยิ่งขึ้น เสร็จแล้ว
ก็ต้องระวังให้ไก่อยู่อย่างสงบ อย่าให้ไก่ใช้กำลังขามากจนเกินไป เดี๋ยวจะเกิดการช้ำบวมขึ้นมาอีก พยายาม
ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งคัดอาการก็จะทุเลาและหายไปในทีสุด

อาการเลือดลงแข้งสำหรับในไก่ที่เคยเป็นมาแล้ว อาการนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ใหม่ในทุกเวลา
หากเกิดมีการหักโหมอีก จึงควรระวังให้มากเลยทีเดียว

การเลี้ยงลูกไก่ชน

การเลี้ยงลูกไก่ชน   

http://img62.imageshack.us/img62/982/171og4.jpg

    ธรรมชาติของไก่พื้นบ้าน เมื่อฟักลูกไก่ออกแล้วยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู โดยหาอาหารตาม ธรรมชาติและป้องกันภยันตรายทั้งหลายจนลูกไก่อายุประมาณระหว่าง 6 - 10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกหากินตามอิสระ การที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่นั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้นได้ดังนี้ ในระหว่างการเลี้ยงลูกนั้น แม่ไก่จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิง ทำให้การออกไข่ของชุดต่อไปล่าช้า อัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจากร้อนจัดแล้วฝนตก ทำให้ลูกไก่ได้รับสภาวะเครียด ถ้าปรับตัวไม่ทันมักจะตาย ในแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ย่อมทำให้ลูกไก่ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำลง เป็นผลทำให้ลูกไก่ตายด้วยโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จำนวนลูกไก่ที่ฟักได้ต่อปีต่อแม่ไก่ลดลง ผลเสียดังกล่าวข้างต้น โดยปกติเกษตรกรมักมองข้ามและไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะราคาไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง ๆ
    อย่างไรก็ตามถ้าเกษตรกรจะยอมลงทุนบ้างและให้ความเอาใจใส่เพิ่มขึ้นอีกเล้กน้อยก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าวได้มากพอควร ซึ่งอาจเพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขทำได้โดยการแยกลูกไก่จากแม่ไก่มากเองภายในคอกไก่ การกกลูกไก่ คือการให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่โดยอาศัยความอบอุ่นจากหลอดไฟฟ้า หรือลวดร้อน หรือเตาถ่าน เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเสมือน บริเวณใต้ปีกไก่ของแม่ไก่ที่คอยให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ นั่นเอง อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้สำหรับการกกลูกไก่ประกอบด้วย
    วัสดุรองพื้นคอก ที่นิยมใช้คือ แกลบเพราะหาได้สะดวก หรือจะเป็นพวกขี้เลื่อย หรือฟางข้าวแห้งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวพอประมาณก็ได้
    แผงกั้นกกลูกไก่ อุปกรณ์ชนิดนี้มีไว้สำหรับจำกัดบริเวณลูกไก่ให้อยู่เฉพาะบริเวณที่มีความอบอุ่น และมีอาหาร ลูกไก่แรกเกิดนั้น จะยังไม่คุ้นเคยว่าบริเวณใดอบอุ่น ถ้าไม่มีแผงกั้นกก ลูกไก่อาจเดินหลงไปตามมุมคอกไก่ซึ่งความอบอุ่นไปไม่ถึง ย่อมส่งผลสูญเสียต่อการเลี้ยง แผงกั้นกกอาจทำจากไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดใดก็ได้ที่กั้นแล้วลูกไก่ลอดผ่านไม่ได้ โดยมากมักวางแผงกั้นกกเป็นรูปวงกลมจะดีกว่าวางเป็นรูปเหลี่ยม
    หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ 100 วัตต์พร้อมฝาโป๊ะ 1 ชุด สามารถใช้กกลูกไก่ได้ประมาณ 10 - 50 ตัว แต่ในหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า อาจดัดแปลงใช้เตาถ่านที่ยังมีความร้อนอยู่วางไว้บริเวณกึ่งกลางของแผงกั้นกกแล้วใช้แผ่นสังกะสีล้อมรอบเตาถ่ายนั้น ไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เดินชน หรือโดดลงไปในเตาถ่าน
    ม่านกั้นคอกไก่ มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ลมฝนผ่านเข้าในคอกในระยะการกก ม่านนั้นอาจทำจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น พวกถุงปุ๋ยเก่า ๆ หรือพวกพลาสติก ซึ่งต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำเป็นม่าน
    ที่ให้น้ำและอาหาร อาจทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก หรือทำจากยางรถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ ก็ได้ แต่ขนาดของยางไม่ควรกว้างและลึกเกินไป การกกลูกไก่นั้น จะใช้เวลาประมาณ 3 - 5 สัปดาห์ ส่วนในฤดูร้อนจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ การกกในฤดูร้อนในช่วงกลางวันไม่จำเป็นต้องเปิดกกเพราะอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว บางครั้งยังต้องเปิดม่านเพื่อให้ลมพัดผ่านระบายความร้อนภายในคอกออกไปด้วย ส่วนในเวลากลางคืน ควรเปิดกกและปิดม่านให้เรียบร้อย
    การอนุบาลลูกไก่ชน
    ปัญหาการเลี้ยงไก่ แล้วลูกไก่มักจะตายมากกว่าการรอด การเลี้ยงไก่ชนนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด การอนุบาลลูกไก่โดยเฉพาะหน้าฝน เป็นช่วงที่เลี้ยงลูกไก่ยากมากเพราะลูกไก่มักจะเป็นหวัด แล้วโรคอื่นๆจะแทรกประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนทำให้เชื้อโรคทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสต่างๆ แพร่กระจายได้รวดเร็วที่สุด การเลี้ยงหรืออนุบาลลูกไก่มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
    ต้องให้ความอบอุ่นเพียงพอในกรณีที่เลี้ยงเอง ไม่ได้ให้แม่ของมันเลี้ยง โดยการกกไฟและอยู่ในสุ่มไม่ให้ถูกละอองฝน
    หากให้แม่มันเลี้ยงต้องขังสุ่ม ไว้ในที่ไม่โดนฝน หากให้แม่มันเลี้ยงแล้วปล่อยให้แม่ของมันพาไป ตากลมตากฝน ก็มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย
    ต้องมีการทำวัคซีน ให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่กรมปศุสัตว์กำหนด คือ
    นิวคาสเซิล ทำวัคซีนนิวคาสเซิลเมื่อลูกไก่มีอายุ 3 - 7 วัน โดยการหยอดจมูกหรือตาของลูกไก่
    จำนวน 2 - 3 หยด เมื่อครบ 3 เดือนทำอีกครั้งหนึ่ง
    หลอดลมอักเสบ ทำวัคซีนหลอดลมอักเสบ เมื่อลูกไก่อายุได้ 7 - 15 วัน โดยการหยอดจมูก
    หรือตา จำนวน 2 - 3 หยด
    หวัดหน้าบวม ทำวัคซีนหวัดหน้าบวม เมื่อลูกไก่อายุได้ 2 เดือน โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
    ตัวละ 0.5 ซีซี
    อหิวาต์ ทำวัคซีนอหิวาต์ เมื่อลูกไก่อายุได้ 3 เดือน โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 1.0 ซีซี
    ข้อควรระวังในการทำวัคซีน
    การทำวัคซีนทุกครั้ง โดยเฉพาะเชื้อเป็น ควรทำในที่ร่มอย่าทำในที่แดดจ้า เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อม
    การทำวัคซีนทุกครั้ง โดยเฉพาะเชื้อเป็น ต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง หากเกินกำหนดวัคซีนจะเสื่อม
    อย่าเทวัคซีนที่เหลือลงพื้นดิน เพราะจะทำให้เชื้อนั้นเจริญเติบโตได้ในที่ชื้นแฉะ กลายเป็นเชื้อโรคแพร่ระบาดต่อไป
    วัคซีนต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิไม่เกิน 5 - 8 องศาเซลเซียส มิฉะนั้นวัคซีนจะเสื่อม
    การทำวัคซีนต้องทำกับไก่ที่มีสุขภาพแข็งแรง หากทำในไก่ที่ไม่สบายเช่นเป็นหวัด ถือเป็นข้อห้ามเพราะเท่ากับไปเพิ่มเชื้อโรคในไก่ ทำให้ไก่อ่อนแอ บางครั้งถึงตายได้
    การทำวัคซีนไก่รุ่นและไก่ใหญ่ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาตั้งแต่เล็ก บางตัวจะมีการแพ้ ดังนั้นควรให้กินยาพาราเซทตามอล สักครึ่งเม็ดหลังจากทำวัคซีนโดยเฉพาะวัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดที่แทงปีกหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง รวมทั้งชนิดเชื้อตายด้วย

    การให้อาหารลูกไก่ชน

    การให้อาหารลูกไก่สำคัญมาก เพราะลูกไก่ต่างอายุกัน ย่อมมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกัน วิธีให้อาหาร คือ
    ลูกไก่อายุ 1 วัน เมื่อเอาลงมาจากรังไข่ ยังไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกไก่มีอาหารสำรองอยู่ในกระเพาะแล้ว ควรให้กินแต่น้ำสะอาด และนำกรวดทรายเม็ดเล็กๆ มาวางไว้เพื่อให้ลูกไก่หัดจิกกิน
    ลูกไก่อายุ 2 - 7 วันควรให้กินปลายข้าวผสมกับหัวอาหาร ให้ทั้งเช้าและเย็น แต่ควรให้กินครั้งละน้อยๆเท่าที่ลูกไก่กินหมดภายใน 3 - 5นาทีเท่านั้น นำน้ำสะอาจและกรวดทรายเล็กๆ มาวางไว้ให้ลูกไก่กินตลอดเวลา
    ลูกไก่อายุ 2 สัปดาห์ ช่วงนี้ลูกไก่สามารถหาอาหารอย่างอื่นกินได้บ้างแล้ว แต่ก็ควรให้ปลายข้าวผสมหัวอาหาร อาหารหยาบ เช่น รำละเอียดผสมกับปลายข้าว กากถั่ว ข้าวโพดบด ปลาป่น กระดูกป่น เปลือกหอยป่น โดยผสมตามสูตรดังนี้ กระดูกป่น 0.1 กิโลกรัม เปลือกหอยป่น 0.2 กิโลกรัม อาจผสมเกลือแกงลงไปประมาณ 1 ช้อนชา ผสม พรีมิกซ์ไวตามินลงไปด้วยสักเล็กน้อย ควรหาเศษผัก หรือหญ้าสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โปรยให้ไก่กินวันละ 1-2 ครั้ง ที่สำคัญมากที่สุดก็คือน้ำสะอาดต้องมีตลอดเวลา คอยมั่นทำความ สะอาดบริเวณที่นอนของลูกไก่ อย่าให้สกปรก หมักหมม ควรให้ลูกไก่ถูกแสงแดดบ้างทั้งเช้าและเย็น
    ลูกไก่อายุย่างเข้า 3 - 6 สัปดาห์ ลูกไก่ที่อยู่ในระยะนี้ขนจะขึ้นสมบูรณ์แล้ว และที่สำคัญจะเริ่มมีการจิกกัน อาหารผักสดยังคงให้เหมือนเดิม อาจจะเพิ่มกรวดทรายให้กินเป็นอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
    ลูกไก่อายุ 7 - 8 สัปดาห์ ไก่ในช่วงเวลานี้จะเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม ควรแยกตัวผู้ และ ตัวเมียออกจากกัน ถ้าต้องการจะนำตัวผู้ไปตอน ก็ควรทำเสียตอนนี้เลย สำหรับการเลี้ยงดูควรให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอ คอยทำความสะอาดกรง หรือโรงเรือนอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นไก่จะไม่สบายตัว
    ลูกไก่อายุ 9 - 10 สัปดาห์ ระยะนี้การให้อาหารง่ายมาก ควรให้กินข้าวเปลือกได้แล้ว อย่างน้อยวันละครั้งในตอนบ่าย ปล่อยไว้ที่ลานซึ่งเป็นพื้นดินและพื้นหญ้า ควรปล่อยให้หาอาหารเองตามธรรมชาติ ควรเสริมอาหารเมื้อเช้าและเมื้อเที่ยงให้ด้วย มื้อเช้าให้จำพวกผักและเนื้อสัตว์ ตอนเที่ยงควรเป็นข้าวสารมื้อเย็นเป็นข้าวเปลือก เมื่อย่างเข้าฤดูร้อนและฤดูฝนไก่มักขาดสารอาหารควรให้อาหารเสริม เช่น ใบกระถินโดยนำไปตากแห้ง แล้วนำไปแช่ลงในน้ำสะอาด 1 วัน เพื่อลดสารพิษ เป็นการช่วยเสริมสารอาหารแก่ไก่เป็นอย่างดี
    ลูกไก่อายุ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป เมื่อโตถึงขั้นนี้แล้วจะมีความสามารถหาอาหาร ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี แต่ระยะนี้ไก่ให้ผลผลิตเพื่อสืบพันธุ์ไก่จึงมีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ควร ให้ปลายข้าว รำ ข้าวเปลือก เปลือกหอย กระดองปู เพื่อให้มีการเสริมธาตุ อาหารแคลเซียมยมและฟอสฟอรัส เมื่อได้มาแล้วให้นำมาทุบให้ละเอียดใส่ภาชนะตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินได้ ตลอดจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของไก่

    การออกกำลังกายลูกไก่ชน
    การฝึกให้ไก่ออกกำลังเป็นเทคนิคหรือวิธีหนึ่งในการเลี้ยงไก่ให้เก่ง ไก่จะเก่งได้ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง กระดูก ข้อต่อและกล้ามเนื้อของไก่เป็นสิ่งที่สำคัญ การฝึกไก่ให้ออกกำลังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ ทำให้กล้ามเนื้อของไก่แน่นแข็งแรง พร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวในทุกลีลาชั้นเชิง การฝึกไก่ให้ออกกำลังสามารถทำได้ตั้งแต่ไก่ยังอายุน้อยเพื่อเป็นการวางรากฐานโครงสร้างที่ดีให้กับลูกไก่ การฝึกไก่ให้ออกกำลังนอกจากจะทำให้ไก่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของลูกไก่ได้อีกทางหนึ่งด้วย วิธีการฝึกลูกให้ออกกำลังมีหลายวิธี ดังนี้
    ติดดั้งและหมั่นปรับระดับภาชนะใส่น้ำให้สุงขึ้นตามความสูงของไก่ ปรับให้สุงประมาณระดับสายตาของไก่(ขณะที่ไก่ยืนยืดคอชูคอ) เวลาจะกินน้ำไก่จะเขย่งขา ยืดตัว ยืดอกและคอ ทำให้ไก่ได้ออกแรงยืดเส้นยืดสาย เป็นการบริหารขาและคอไปด้วยขณะกินน้ำ เมื่อไก่ยืดคอบ่อยๆ เป็นประจำ จะทำให้ไก่เคยชินจนติดเป็นนิสัย อาจส่งผลดีไปถึงชั้นเชิงของไก่ ทำให้ไก่ไม่ก้มหัวลงต่ำเวลาชน เป็นการส่งเสริมให้ไก่มีเชิงคุมบน ซึ่งเป็นเชิงดีนิยม
    หว่านอาหารลงบนพื้นดินให้ลูกไก่คุ้ยเขี่ยจิกกิน การให้อาหารไก่แบบใส่ภาชนะหรืองรางใส่อาหารแต่เพียงอย่างเดียว อาจทำให้ไก่ไม่ค่อยได้ใช้ขา ไม่ได้บริหารกล้ามเนื้อขา ผู้เลี้ยงไก่ชนควรหว่านอาหารลงบนพื้นดินบ้าง เพื่อให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยจิกหาอาหารที่ซุกซ่อยอยู่ตามพื้นดิน ทำให้ไก่ได้ออกกำลัง ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อขาของไก่แข็งแรง ไม่เป็นไก่ขาอ่อน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสายตาให้กับลูกไก่ได้อีกทางหนึ่งด้วย
    เอาอาหารที่ไก่ชอบโยนให้ลูกไก่กินบ้าง หากทำเป็นประจำได้ก็ยิ่งดี การเลี้ยงลูกไก่ไว้ในบริเวณที่จำกัด เช่น ในเล้าตาข่ายหรือในสุ่มอาจทำให้ไก่ไม่ค่อยได้วิ่งออกกำลัง วิธีการหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ก็คือ การเอาแมลงหรืออาหารแปลกๆ ที่ไก่ชอบโยนให้ไก่กิน ไก่จะวิ่งไล่จับแมลง และวิ่งไล่แย่งอาหารกันเอง ทำให้ไก่ได้ออกกำลัง ตัวอย่างแมลงที่ไก่ชอบ ได้แก่ แมลงกระชอน ตะขาบ เขียด จิ้งจก จิ้งหรีด เป็นต้น(หากอาหารชิ้นใหญ่กว่าปากไก่จะดีมากๆ เพราะในการจิกอาหารชิ้นใหญ่ ต้องใช้เวลามาก ทำให้ลูกไก่วิ่งไล่แย่งอาหารกันได้นานขึ้น)
    ผูกอาหารที่ไก่ชอบห้อยไว้ในเล้าตาข่ายหรือในสุ่ม โดยห้อยไว้ที่ระดับความสูงพอประมาณ ให้ไก่สามารถกระโดดและบินถึงได้ เมื่อไก่เห็นอาหารห้อยอยู่บนที่สูง ไก่ก็จะกระโดดและบินขึ้นจิกอาหารครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ไก่ได้ออกกำลังแทบทุกส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอ ขา และปีก อีกทั้งยังได้ฝึกการใช้ปากจิกอาหาร การใช้สายตาเพ่งเพื่อจู่โจมเป้าหมาย เป็นการเพิ่มประสบการณ์และความชำนาญให้กับลูกไก่ได้อีกทางหนึ่ง ตัวอย่างอาหารที่ไก่ชอบกิน ได้แก่ แตง ผักกาด ตลอดจนผักใบเขียวต่างๆ กล้วย แมลงกระชอน ตะขาบ เขียด จิ้งหรีด เป็นต้น(แมลงที่ดิ้นไปมาจะเรียกความสนใจของไก่ ทำให้ไก่อยากรู้อยากลองมากขึ้น)
    ทำคอนให้ไก่เหยียบ ลูกไก่มักมีความซุกซนอยากรู้อยากเห็นอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว หากเราทำคอนหรือกิ่งไม้ไว้ในเล้าตาข่ายหรือในสุ่ม ลูกไก่จะกระโดดบินขึ้นไปเหยียบเกาะบนคอนที่สูง ทำให้ไก่มีโอกาสได้ออกกำลังตลอดเวลา ลูกไก่จะได้บริหารทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก ปีกและขา ทำให้ไก่มีกำลังขา ไม่เป็นไก่ขาอ่อน ปีกก็แข็งแรงทำให้ไก่จิกบินตีได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว

การเพาะและพัฒนาสายพันธ์ไก่ชน

หลักการผสมพันธุ์
http://www.kaichons.com/upload/article/October_24_2011_9_55_569350835.jpg
    มี 2 แบบอย่างกว้างๆ คือ
    การผสมพันธุ์ระหว่าง พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ไม่เป็นญาติกัน
    การผสมกันระหว่างญาติพี่น้องสายเลือดใกล้ชิดกัน หรือเรียกว่าการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติเราจะหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิดค่อนข้างยาก เพราะเรามีจำนวนพ่อแม่พันธุ์จำกัด ในทางทฤษฎีก็ทำได้แต่อย่าให้เลือดชิดสูงเกิน 49% โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้ได้เลือดบริสุทธิ์หรือพันธุ์แม้ เราจะผสมพันธุ์ให้เลือดสูงถึง 49% ก็จะได้พันธุ์ใหม่ หรือพันธุ์ของเราเองซึ่งเป็นพันธุ์ไก่ที่มีคุณสมบัติเฉพาะพันธุ์ ในทางปฏิบัติทั่วๆ ไป เราจะพยายามให้เปอร์เซ็นต์การผสมเลือดชิดอยู่ระหว่าง 15-25% อัตราการผสมเลือดชิดนี้ จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ดังนั้นเราต้องวางแผนว่าในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้าเราจะให้ฝูงไก้ของเรามีเลือดชิดกี่เปอร์เซ็นต์ เพื่อนำไปคำนวณหาว่าเรา ควรจะมีพ่อ - แม่พันธุ์ในฝูงของเรากี่ตัว ซึ่งเกษตรกรส่วนมากไม่รู้ว่าฝูงไก่ของเราหรือในฟาร์มของเรา ควรจะเก็บพ่อ - แม่หรือไก่ทดแทนไว้กี่ตัว จึงจะทำการปรับปรุงพันธุ์ได้ ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้
    สูตร : อัตราการผสมเลือดชิดเพิ่มขึ้นต่อปี=100 x [(1/(8 x จำนวนพ่อพันธุ์)) + (1/(8 x จำนวนแม่พันธุ์))]%
    การคัดเลือกพ่อพันธุ์
    พ่อพันธุ์จะต้องมีอายุอยู่ในช่วง 1 ปีครึ่ง ถึง 3 ปี น้ำหนักตัวตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป ต้องมาจากสายเลือดที่บริสุทธิ์ มีรูปร่างลักษณะดี องอาจขนปีกและขนหางขึ้นเป็นระเบียบ นิสัยดี ไม่จิกตัวเมียและลูกไก่เล็ก สีตรงตามสายพันธุ์ เชิงชนหรือลีลาดี ตีแม่นยำ ลำหักลำโค่นดี จิตใจดีเหมียวแน่น ชนชนะบ่อยครั้ง
    การคัดเลือกแม่พันธุ์
    หน้าแหลมกลมกลึงแบบหน้านก ตาเรียวไม่ลึก ขอบตาสองชั้น ตาสีตามสายพันธุ์ หงอนบางเรียบกอดกระหม่อม ปากแหลมคม มีร่องน้ำ เหง้าปากใหญ่ ปากสีเดียวกับแข้ง หูรัด เหนียงเล็ก ไม่หย่อนยาน มีสายเลือดดี สีตรงตามสายพันธุ์หรือสีเดียวตลอดทั้งตัว ไม่ควรมีสีด่างหรือสีเปรอะ ขนสร้อยคอมีขลิบตามพันธุ์ มีโครงร่างดี จับยาวสองท่อน คอดกลาง บานหัว บานท้าย กระดูกอกใหญ่และไม่คดงอ บั้นท้ายโตแบน หลังยาว ปั้นขาใหญ่ คอยาวโค้งแบบคอม้าหรือคองูเห่า กระดูกปล้องคอถี่และใหญ่ กระปุกน้ำมันเดียว ขั้วหางใหญ่ดกและยาว แข้งขากลม เล็ก นิ้วกลมยาว เกล็ดเรียงกันเป็นระเบียบ ท้องแข้งเต็ม มีปุ่มเดือย แข้งสีเดียวกัน ไม่ดำด่าง สีแข้งรับกับปาก สะบัดหัวเล่นสร้อยตลอดเวลา จิตใจดี มีน้ำอดน้ำทน มีประวัติการให้ลูกเก่ง มีเชิงชนและลีลาดี คล่องแคล่วว่องไว
    การเตรียมรังสำหรับวางไข่
    การเตรียมรังสำหรับวางไข่นี้ ถือเป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่มีความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแตกต่างจากแม่ไก่ธรรมชาติ บางท่านอาจถือว่าไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่นักเลงไก่ในสมัยก่อนพยามปกปิดเป็นความลับมาเป็นเวลาช้านานไม่แพร่ให้บุคคลทั่วไปรับรู้ ซึ่งวิธีการทำรังไก่มีดังนี้
    ต้องทำรังไก่ในตอนเช้าวันอังคารกับวันเสาร์ เพราะเป็นวันแข็ง
    ห้ามให้สตรีเป็ผู้ทำรังไก่ไข่เป็นอันขาด เพราะเชื่อว่าจะทำให้ลูกไก่ที่เกิดมาอ่อนแอ
    ให้หันหน้ารังไก่ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    นำกระบุงที่ใช้สำหรับใส่ของมาทำรังไก่ ควรเป็นกระบุงที่ใช้ใส่ของขายแล้วขายดี ได้เงินมาก
    นำหนาม 5 อย่างต่อไปนี้ มาใส่ถุงแล้ววางไว้ใต้รัง หนามแดง หนาพุงตอ หนามส้ม หนามหวาย
    **และหนามไม้ร้อง เพื่อเป็นเคล็ดให้ไก่ตีแม่น
    ควรใช้ใบยาสูบหรือตะไคร้ตากแห้งรองที่ก้นรังไก่ เพื่อป้องกันแม่และลูกไก่จากพวกเห็บ เหาและไร
    หามูลฝอยและวัสดุมารองรังไก่ ประกอบด้วย
    หัวงูเห่าตากแห้ง เชื่อว่าจะช่วยให้ไก่ชนตีคู่ต่อสู้แล้วทำให้ตาของคู่ต่อสู้มืดมิดมองไม่เห็น
    ไม้คานที่หักคาบ่า เชื่อว่าจะทำให้ไก่ชนมีลำหักลำโค่นดี
    เศษใบไม้ใบหญ้าของลมหมุน เชื่อว่าจะทำให้ไก่ชนตีคู่ต่อสู้แล้ววนหักเหมือนลมหมุน
    ไม้ที่ถูกฟ้าผ่า เชื่อว่าจะทำให้ไก่ชนตีแรงจนทำให้คู่ต่อสู้ชักดิ้นชักงอ เหมือนโดนฟ้าผ่า
    หญ้าแพรก เชื่อว่าจะทำให้ไก่ชนที่ถูกตี ฟื้นตัวง่ายเหมือนกับหญ้าแพรก
    ไม้ที่เคยตีหรือขว้างปาไก่ตัวผู้ถึงกับชักหรือตายมาแล้ว วางขวางไว้หน้ารังไก่ ให้แม่ไก่ข้ามขึ้น
    ลงขณะไปวางไข่ เพื่อเป็นการตัดไม้ข่มนาม
    หัวงูเห่า หัวเสือปลา หัวพังพอน หัวเหยี่ยวนกเขาหรือเหยี่ยวหัวขาว เลือกเอาเพียงอย่างเดียว
    นำไปแขวนไว้ที่ใต้รังไก่
    ทองคำ เชื่อว่าจะทำให้ลูกไก่ชนที่เกิดมามีขนสร้อยสีสวยงามเหมือนทองคำ
    ใบเงิน ใบทอง ใช้ใบเงิน ใบทองอย่างละ 5 ใบ รองรังไก่ เพื่อเป็นเคล็ดให้ได้เงินทองมากๆ
    ใบขนุน ใช้ใบขนุนแห้ง 5 ใบ รองรังไก่ เพื่อเป็นเคล็ดให้เกื้อหนุน ให้ได้เงินทองมากๆ
    การคัดเลือกไข่
    เมื่อแม่ไก่ได้รับการผสมพันธุ์และวางไข่ไว้ภายในรังที่เตรียมเอาไว้แล้ว จะต้องคัดไข่ที่มีเปลือกบาง ผิวขรุขระ ไข่แฝด ฟองเล็กเกินไป และฟองที่มีรอยแตกร้าวออกไป เพราะไข่เหล่านี้ถือว่าเป็นไข่ที่ผิดปกติ อัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ถึงจะฟักออกเป็นตัวก็เป็นลูกไก่ที่ไม่สมบูรณ์ ไข่ที่คัดออกนี้สามารถนำไปประกอบอาหารได้ ถ้าไข่มีจำนวนมากเกินไป แม่ไก่จะกกไม่ทั่วถึง ไข่จะล้นอกแม่ไก่ทำให้ไข่เน่าเสีย ลูกไก่ที่เกิดมาจะไม่แข็งแรง และถ้าลูกไก่มีจำนวนมากเกินไปจะเกิดการแย่งอาหารกัน จึงคัดไข่ส่วนหนึ่งออก เหลือไว้เพียง 5 - 10 ฟอง

http://www.kaisiam.com/webboard/A3016679.jpg
    การฟักไข่
    การให้แม่ไก่กกไข่เองนั้นมีข้อดีอยู่หลายประการ เช่น เป็นการประหยัดต้นทุน ประหยัดเวลา และที่สำคัญคือลูกไก่จะได้รับความอบอุ่นและเรียนรู้สัญชาตญาณจากแม่ไก่ ดังนั้นไก่ชนจึงไม่สมควรที่จะใช้ตู้ฟักไข่ เมื่อแม่ไก่วางไข่จนฟองสุดท้ายแล้วก็จะเริ่มกกไข่เอง ใช้เวลาประมาณ 18 – 21 วัน ไข่ก็จะฟักออกเป็นตัว ซึ่งวิธีการฟักไข่ที่ได้รับความนิยมมี 2 วิธี
    วิธีธรรมชาติโดยใช้แม่ไก่กกเอง เป็นวิธีที่ประหยัดและนิยมทำกันมากที่สุด ระยะเริ่มแรกของการฟักไข่ แม่ไก่จะใช้เวลาเกือบทั้งวันในการกกไข่และคอยกลับไข่ ในช่วงนี้ต้องคอยระมัดระวังไม่ให้แม่ไก่ถูกรบกวน ต้องคอยดูแลเติมน้ำและให้อาหารแก่แม่ไก่อย่างพอเพียง เพราะถ้าแม่ไก่เกิดความเครียดหรือหิวอาจจะจิกกินไข่ของตนเองได้ เมื่อแม่ไก่กกไข่ได้ประมาณ 10 วัน ให้ใช้ไฟฉายส่องไข่ดูว่ามีตัวอ่อนหรือไม่ จากนั้นคัดไข่ที่ไม่มีตัวอ่อนหรือผสมไม่ติดออกไป แล้วให้แม่ไก่กกไข่ต่อไปอีก ประมาณ 8 - 11 วัน ไข่ก็จะฟักออกเป็นตัว จากนั้นจะปล่อยให้แม่ไก่เลี้ยงลูกเองหรือจะแยกเลี้ยงก็ได้
    วิธีจัดการให้แม่ไก่ตัวอื่นฟักแทน เป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาแม่ไก่จิกกินไข่ของตนเองหรือจิกกินลูกไก่ที่ฟักออกมา ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากความเครียดจากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ดีหรืออาจจะเป็นนิสัยส่วนตัวของแม่ไก่ก็ได้ ปัญหานี้แก้ไขได้โดยเก็บไข่ไปฝากให้แม่ไก่ตัวอื่นกกแทน วิธีนี้เรียกว่า ”ใช้มือปืน” ซึ่งก็หมายความว่าให้แม่ไก่ตัวอื่นกกไข่แทนนั่นเอง

สายพันธ์ไก่ชน

ไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้านกับไก่ชน



ข้อมูลจากตำราทั้งเก่าและใหม่ รวมกับข้อมูลที่ได้จากการซักถามพูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่และคนที่ชอบเลี้ยงไก่ชน ทำให้เราสรุปได้ว่า ”ไก่ชนกับไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้านก็คือไก่ประเภทเดียวกัน” จนอาจพูดเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า ”ไก่ชนก็คือไก่บ้านดีๆ นี่เอง หรือไก่ชนกับไก่บ้านก็คือไก่อันเดียวกันนั่นแล” เพียงแต่ว่าไก่ที่จะนำไปชนกันนั้นเป็นไก่ที่เก่ง ผ่านการคัดเลือก ผ่านการฝึกฝนหรือเก็บเนื้อเก็บตัวมาแล้ว ไก่ที่นำไปชนจึงเก่งผิดจากไก่บ้านตัวอื่นๆ และจากไก่ตัวเมียตัวผู้ที่เก่งๆ นี่เองชาวบ้านมักจะเลี้ยงไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ลูกหลานไก่ที่เกิดมาก็มักจะเก่งเหมือนพ่อแม่ไก่ ชาวบ้านก็เลยเรียกไก่พื้นบ้านเหล่านี้ว่า ”พันธุ์ไก่ชน” ด้วยเหตุนี้แหละจึงทำให้พวกเราซึ่งเกิดทีหลังรู้สึกสับสนระหว่างคำว่า ”ไก่พื้นบ้านกับไก่ชน”
ไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้านมาจากไหน
จากการค้นคว้าพบว่า ไก่พื้นบ้านหรือไก่ชนพัฒนาสายพันธุ์มาจากไก่ป่า(ไก่ป่าทั่วไป, ไก่ป่าตุ้มหูขาว, ไก่ป่าตุ้มหูแดง, ไก่ป่าตุ้มหูเหลือง และอาจจะมีอีกหลายชนิด) โดยธรรมชาติแล้วไก่ป่าจะมีนิสัยหวงถิ่นหรือพื้นที่อันเป็นเขตแดนของตน โดยเฉพาะไก่ป่าตุ้มหูแดงนั้นหลายตำราบอกว่าจะหวงถิ่นมากเป็นพิเศษ มักจะขับไล่ไก่ตัวอื่นที่ลุกล้ำอาณาเขตเสมอ ต่อมาเมื่อคนยุคโบราณเห็นถึงข้อดีความเก่งความเป็นนักต่อสู้ เลยจับไก่ป่ามาเลี้ยงและในยามว่างงานก็นำไก่มาตีกัน(ซึ่งต่อมาเรียกว่า ”การชนไก่”) ไก่ตัวไหนดีตัวไหนเก่งชาวบ้านก็เก็บไว้ทำพ่อแม่พันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์มา เรื่อยๆ จนลูกหลานไก่ป่าคุ้นเคยกับผู้คน จากไก่ป่ากลายเป็นไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้าน เหล่ากอหรือเผ่าพันธุ์ไหนเก่งก็เรียกว่า ”พันธุ์ไก่ชน” การชนไก่ถือว่าเป็นการละเล่นขณะพักผ่อนยามว่างงาน เป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษสืบมาจนถึงทุกวันนี้

ไก่ป่าตุ้มหูขาว

ไก่ป่าตุ้มหูขาว

ไก่ป่าตุ้มหูแดง

ไกป่าตุ้มหูขาวผสมไก่พื้นบ้านหลายชั้น
ไก่เหลืองหางขาว
มีถิ่นกำหนดเดิมอยู่ที่บ้านหัวเท ตำบลบ้านกร่าง จังหวัดพิษณุโลก ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่ที่ฉลาดปราดเปรียว อดทน ลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเหมือนกันตลอด มีจุดขาว 5 แห่ง คือ ที่ท้ายทอย หัวปีกทั้งสองข้าง ที่ข้อขาทั้งสองข้าง บางตำราเรียกว่า ”พระเจ้า 5 พระองค์” เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นสีเหลืองเหมือนกันตลอด ขนสีตัวเป็นสีดำ ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีขาวอมเหลืองคล้ายสีงาช้าง ลูกตาสีเหลืองอ่อน ”เรียกว่าตาปลาหมอตาย” ส่วนเพศเมียมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดมีกระขาว 2 หย่อมเหมือนกัน
ไก่เหลืองหางขาว
ไก่ประดู่หางดำ
มีถิ่นกำหนดแถวภาคกลาง เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปี สร้อยหลังและขนปิดหูเป็นสีประดู่ ถ้าสีแก่จะเรียกว่า ”ประดู่เมล็ดมะขามคั่ว” ถ้าสีอ่อนจะเรียกว่า ”ประดู่แดง” หางพัด และกะลวยสีดำปลอด ไม่มีขาวแซม พื้นสีลำตัวไม่มีสีอื่นแซม ตาสีไพร ส่วนปาก แข้ง เดือย เป็นสีเขียวอมดำ หรือดำสนิท เพศเมีย มีขนสีดำสนิทรับกันทั้งตัว ไม่มีสีขาวแซม บางตัวมีขลิบสร้อยคอสีประดู่ ถือว่าเป็นไก่พันธ์แท้ ส่วนปาก แข้ง เดือย ลักษณะเหมือนเพศผู้
ไก่ประดู่หางดำ
ไก่ประดู่แสมดำ
มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบพื้นที่ภาคกลางเป็นหลัก อาจมีพบในภูมิภาคอื่นบ้างปะปราย ซึ่งในปัจจุบันพบเห็นได้น้อยมาก ลักษณะ เพศผู้จะมีสีสร้อยคอ สนับปีก สร้อยหลังรวมถึงขนปิดหู เป็นสีประดู่ ซึ่งมีทั้งสีประดู่แดงและประดู่เม็ดมะขาม ขนพื้น ตัวเป็นสีดำ ปีกและหางพัดรวมถึงหางกะลวยเป็นสีดำปราศจากสีขาวแซม ปาก และสีตาดำสนิท แข้ง เล็บ เดือย เป็น สีดำ ใบ หน้าจะมีสีแดงคล้ำ(แดงอมดำ) ขอบตาดำ ผิวหนังบริเวณลำตัวจะเป็นสีคล้ำ(แดงอมดำ) ในช่วงที่ยังเล็กอยู่มักจะมีสีผิวดำ ทั้งใบหน้า และบริเวณลำตัวไก่ประดู่แสมดำเพศเมียจะมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดตัว ใบหน้าจะมีสีดำชัดเจนมากกว่าตัวผู้มาก ปาก แข้ง เล็บ มีสีดำสนิท
ไก่ประดู่แสมดำ
ไก่เขียวหรือเขียวแมลงภู่
เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนปิดหู สีเขียวอมดำคล้ายสีแมลงภู่ สีขนพื้นตัวเป็นสีมันดำ หางพัด และหางกะลวยสี ดำตลอด ส่วนปาก แข้ง เล็บ ตา มีสีเขียวอมดำ ส่วนเพศเมียมีพื้นสีตัวเป็นสีดำ ปลายขนเป็นเงาออกเขียวส่วนอื่นๆ เหมือนเพศผู้
ไก่เขียวหรือเขียวแมลงภู่
ไก่ประดู่เลาหางขาว
เพศผู้ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปี หางพัดสีขาวปนดำ หางกะลวยกลางสีขาว ส่วนคู่อื่นๆ มีสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปี สร้อย หลัง มีสีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาวปลายสร้อยสีประดู่ ปาก แข้ง เดือย มีสีขาวอมเหลือง ไก่ประดู่เลาหางขาว มี 4 เฉดสี คือ ประดู่เลาใหญ่ ประดู่เลาเล็ก ประดู่เลาแดง และประดู่เลาดำ
ไก่ประดู่เลาหางขาว
ไก่เขียวเลาหางขาว
เพศผู้ขนพื้นตัวสีดำ และขนปีกหางสีดำ หางกะลวยคู่สีขาว ส่วนคู่อื่นๆ มีสีขาวปลายดำ สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว องปลายสีเขียว ส่วนปาก แข้ง เล็บ สีขาวอมเหลืองหรือขาวงาช้าง มี 3 สายพันธุ์ คือ 1.เขียวเลา ใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ 2.เขียวเลาเล็กหางขาว 3.เขียวเลาดอกหางขาว
ไก่เขียวเลาหางขาว
ไก่ลายหางขาว
เพศผู้ขนพื้นตัวลาย ขนปีก ขนหางพัดลาย หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายลาย ส่วนปาก แข้ง เล็บ เป็นสีขาว อมเหลือง
ไก่ลายหางขาว
ไก่ขาวหรือไก่ชี
ชีเพศผู้ขนพื้นตัวสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นระย้าสีขาวรับกันกับปาก แข้ง เล็บ และมีเดือย สีขาวอมเหลือง หางดัด กางกะลวยเป็นสีขาว ส่วนลักษณะเพศเมียเหมือนเพศผู้ ไก่ขาวแบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ ไก่ชีขาว แพรขาว ขาวกระดำ และขาวกระแดง
ไก่ขาวหรือไก่ชี
ไก่นกแดง
เพศผู้ขนพื้นลำตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงเพลิงตลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ด้านขนสีแดง หางพัด หาง กะลวย ก้านหางสีแดง และเป็นรู้หางม้า ปากสีเหลืองอมแดง รับกับสีแข้ง เล็บ และเดือย ไก่นกแดงมี 4 เฉดสี คือ แดงชาด แดงทับทิม แดงเพลิง และแดงนาก ส่วนเพศเมีย ขนพื้นตัว ขนหลัง ขนหาง และขนสร้อยคอ มีสีแดงรับกันตลอดทั้งตัว ปาก แข้ง เดือย เหมือนเพศผู้
ไก่นกแดง
ไก่เทา
เพศผู้มีขนสร้อยคอ สร้อยหลังสีเหลือง หางพัด และหางกะลวยสีเทาปนขาวสลับดำ ขนพื้นตัวสีเทาตลอดส่วนปาก แข้ง เดือยสี ขาวอมเหลือง สีเทาอมดำ เรียกว่า ”เท่าขี้ควาย” สีเทาอมขาวเรียกว่า ”เทาขี้เถ้า” และสีเทาสร้อยเหลือง เป็นไก่เทายอดนิยมเรียก ว่า ”เทาฤๅษี” หรือ ”เทาทอง” เพศเมียขนพื้นตัว ขนหลัง ขนปีก ขนหาง และขนสร้อยคอเป็นสีเทากันตลอดทั้งตัว ส่วนปาก แข้ง เดือย เหมือนเพศผู้
ไก่เทา
ไก่นกกรด
เพศผู้ ขนพื้นลำตัวสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปี สร้อยหลังระย้าเป็นสีแดงอมน้ำตาลอ่อนๆ ขนหางพัด หางกะลวยสีดำปลอด ไม่มีสีอื่นแซม แต่ก้านขนจะมีสีแดงเข้ม ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองแกมแดง ไก่นกกรดแบ่งได้ 4 สี ได้แก่ นกกรดแดง นกกรดดำ นกกรดเหลือง และนกกรดกะปูด ส่วนเพศเมียขนพื้นลำตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย ขนสร้อยคอ ขนหลัง ขนปีก มีสีน้ำตาล ปลายปีกสีน้ำตาลเข้ม ส่วนอื่นๆ เหมือนเพสผู้
ไก่นกกรด
ไก่ทองแดง
เพศผู้ ขนพื้นตัวตั้งแต่บริเวณหน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้องเป็นสีแดง หางพัด กะลวยสีดำสนิทไม่มีสีอื่นแซม หางยาวพุ่งตรง สวยงาม ส่วนปาก แข้ง เล็ด มีสีเหลืองอมแดง ดวงตาสีแดง ไก่ทองแดงหางดำ แบ่งได้ 4 สี ได้แก่ ทองแดงใหญ่ ทองแดง ตะเภาทอง ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ส่วนเพศเมียขนสีพื้นตัวด้านล่าง หน้าคอ หน้าอก ในปีก ใ ต้ท้อง ก้นมีสีแดง และส่วนอื่นๆ เหมือนเพศผู้
ไก่ทองแดง
ไก่สีดอกหมากหางขาวหรือลีโย
ไก่พันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดทางภาคกลาง คล้ายไก่เหลืองหางขาวผสม ลักษณะสร้อยคอปลายขนจะออกขาวอมเหลือง คล้ายสีดอก หมาก กะลวยหางสีขาวปลอดสีดำที่ปลายหาง พื้นตัวสีดำ เดือยและก้านปีกสีขาวอมเหลือง
ไก่สีดอกหมากหางขาวหรือลีโย
ไก่พม่า
เป็นไก่ที่นำเข้าจากพม่า ตัวเล็กน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ปากแหลมสีดำ ขนสีดอกหมาก สร้อยคอสร้อยสร้อยปีกเป็นสีดอก หมาก หางสีดำ แข้งเล็กสีดำ หรือบางตัวจะเป็นไก่สีกรดมีความว่องไวมาก กระโดดสูง นิยมเลี้ยงกันทางภาคเหนือ ส่วนภาค อื่นๆ นิยมนำมาเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผสมสายพันธ์ตามชั้นเชิงที่ต้องการ
ไก่พม่า
ไก่ด่างเบญจรงค์
ไก่ด่างเบญจรงค์
ไก่เหล่าป่าก๋อย
ไก่เหล่าป่าก๋อย