Monday, May 27, 2013

สายพันธ์ไก่ชน

ไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้านกับไก่ชน



ข้อมูลจากตำราทั้งเก่าและใหม่ รวมกับข้อมูลที่ได้จากการซักถามพูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่และคนที่ชอบเลี้ยงไก่ชน ทำให้เราสรุปได้ว่า ”ไก่ชนกับไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้านก็คือไก่ประเภทเดียวกัน” จนอาจพูดเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า ”ไก่ชนก็คือไก่บ้านดีๆ นี่เอง หรือไก่ชนกับไก่บ้านก็คือไก่อันเดียวกันนั่นแล” เพียงแต่ว่าไก่ที่จะนำไปชนกันนั้นเป็นไก่ที่เก่ง ผ่านการคัดเลือก ผ่านการฝึกฝนหรือเก็บเนื้อเก็บตัวมาแล้ว ไก่ที่นำไปชนจึงเก่งผิดจากไก่บ้านตัวอื่นๆ และจากไก่ตัวเมียตัวผู้ที่เก่งๆ นี่เองชาวบ้านมักจะเลี้ยงไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ลูกหลานไก่ที่เกิดมาก็มักจะเก่งเหมือนพ่อแม่ไก่ ชาวบ้านก็เลยเรียกไก่พื้นบ้านเหล่านี้ว่า ”พันธุ์ไก่ชน” ด้วยเหตุนี้แหละจึงทำให้พวกเราซึ่งเกิดทีหลังรู้สึกสับสนระหว่างคำว่า ”ไก่พื้นบ้านกับไก่ชน”
ไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้านมาจากไหน
จากการค้นคว้าพบว่า ไก่พื้นบ้านหรือไก่ชนพัฒนาสายพันธุ์มาจากไก่ป่า(ไก่ป่าทั่วไป, ไก่ป่าตุ้มหูขาว, ไก่ป่าตุ้มหูแดง, ไก่ป่าตุ้มหูเหลือง และอาจจะมีอีกหลายชนิด) โดยธรรมชาติแล้วไก่ป่าจะมีนิสัยหวงถิ่นหรือพื้นที่อันเป็นเขตแดนของตน โดยเฉพาะไก่ป่าตุ้มหูแดงนั้นหลายตำราบอกว่าจะหวงถิ่นมากเป็นพิเศษ มักจะขับไล่ไก่ตัวอื่นที่ลุกล้ำอาณาเขตเสมอ ต่อมาเมื่อคนยุคโบราณเห็นถึงข้อดีความเก่งความเป็นนักต่อสู้ เลยจับไก่ป่ามาเลี้ยงและในยามว่างงานก็นำไก่มาตีกัน(ซึ่งต่อมาเรียกว่า ”การชนไก่”) ไก่ตัวไหนดีตัวไหนเก่งชาวบ้านก็เก็บไว้ทำพ่อแม่พันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์มา เรื่อยๆ จนลูกหลานไก่ป่าคุ้นเคยกับผู้คน จากไก่ป่ากลายเป็นไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้าน เหล่ากอหรือเผ่าพันธุ์ไหนเก่งก็เรียกว่า ”พันธุ์ไก่ชน” การชนไก่ถือว่าเป็นการละเล่นขณะพักผ่อนยามว่างงาน เป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษสืบมาจนถึงทุกวันนี้

ไก่ป่าตุ้มหูขาว

ไก่ป่าตุ้มหูขาว

ไก่ป่าตุ้มหูแดง

ไกป่าตุ้มหูขาวผสมไก่พื้นบ้านหลายชั้น
ไก่เหลืองหางขาว
มีถิ่นกำหนดเดิมอยู่ที่บ้านหัวเท ตำบลบ้านกร่าง จังหวัดพิษณุโลก ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่ที่ฉลาดปราดเปรียว อดทน ลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเหมือนกันตลอด มีจุดขาว 5 แห่ง คือ ที่ท้ายทอย หัวปีกทั้งสองข้าง ที่ข้อขาทั้งสองข้าง บางตำราเรียกว่า ”พระเจ้า 5 พระองค์” เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นสีเหลืองเหมือนกันตลอด ขนสีตัวเป็นสีดำ ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีขาวอมเหลืองคล้ายสีงาช้าง ลูกตาสีเหลืองอ่อน ”เรียกว่าตาปลาหมอตาย” ส่วนเพศเมียมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดมีกระขาว 2 หย่อมเหมือนกัน
ไก่เหลืองหางขาว
ไก่ประดู่หางดำ
มีถิ่นกำหนดแถวภาคกลาง เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปี สร้อยหลังและขนปิดหูเป็นสีประดู่ ถ้าสีแก่จะเรียกว่า ”ประดู่เมล็ดมะขามคั่ว” ถ้าสีอ่อนจะเรียกว่า ”ประดู่แดง” หางพัด และกะลวยสีดำปลอด ไม่มีขาวแซม พื้นสีลำตัวไม่มีสีอื่นแซม ตาสีไพร ส่วนปาก แข้ง เดือย เป็นสีเขียวอมดำ หรือดำสนิท เพศเมีย มีขนสีดำสนิทรับกันทั้งตัว ไม่มีสีขาวแซม บางตัวมีขลิบสร้อยคอสีประดู่ ถือว่าเป็นไก่พันธ์แท้ ส่วนปาก แข้ง เดือย ลักษณะเหมือนเพศผู้
ไก่ประดู่หางดำ
ไก่ประดู่แสมดำ
มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบพื้นที่ภาคกลางเป็นหลัก อาจมีพบในภูมิภาคอื่นบ้างปะปราย ซึ่งในปัจจุบันพบเห็นได้น้อยมาก ลักษณะ เพศผู้จะมีสีสร้อยคอ สนับปีก สร้อยหลังรวมถึงขนปิดหู เป็นสีประดู่ ซึ่งมีทั้งสีประดู่แดงและประดู่เม็ดมะขาม ขนพื้น ตัวเป็นสีดำ ปีกและหางพัดรวมถึงหางกะลวยเป็นสีดำปราศจากสีขาวแซม ปาก และสีตาดำสนิท แข้ง เล็บ เดือย เป็น สีดำ ใบ หน้าจะมีสีแดงคล้ำ(แดงอมดำ) ขอบตาดำ ผิวหนังบริเวณลำตัวจะเป็นสีคล้ำ(แดงอมดำ) ในช่วงที่ยังเล็กอยู่มักจะมีสีผิวดำ ทั้งใบหน้า และบริเวณลำตัวไก่ประดู่แสมดำเพศเมียจะมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดตัว ใบหน้าจะมีสีดำชัดเจนมากกว่าตัวผู้มาก ปาก แข้ง เล็บ มีสีดำสนิท
ไก่ประดู่แสมดำ
ไก่เขียวหรือเขียวแมลงภู่
เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนปิดหู สีเขียวอมดำคล้ายสีแมลงภู่ สีขนพื้นตัวเป็นสีมันดำ หางพัด และหางกะลวยสี ดำตลอด ส่วนปาก แข้ง เล็บ ตา มีสีเขียวอมดำ ส่วนเพศเมียมีพื้นสีตัวเป็นสีดำ ปลายขนเป็นเงาออกเขียวส่วนอื่นๆ เหมือนเพศผู้
ไก่เขียวหรือเขียวแมลงภู่
ไก่ประดู่เลาหางขาว
เพศผู้ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปี หางพัดสีขาวปนดำ หางกะลวยกลางสีขาว ส่วนคู่อื่นๆ มีสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปี สร้อย หลัง มีสีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาวปลายสร้อยสีประดู่ ปาก แข้ง เดือย มีสีขาวอมเหลือง ไก่ประดู่เลาหางขาว มี 4 เฉดสี คือ ประดู่เลาใหญ่ ประดู่เลาเล็ก ประดู่เลาแดง และประดู่เลาดำ
ไก่ประดู่เลาหางขาว
ไก่เขียวเลาหางขาว
เพศผู้ขนพื้นตัวสีดำ และขนปีกหางสีดำ หางกะลวยคู่สีขาว ส่วนคู่อื่นๆ มีสีขาวปลายดำ สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว องปลายสีเขียว ส่วนปาก แข้ง เล็บ สีขาวอมเหลืองหรือขาวงาช้าง มี 3 สายพันธุ์ คือ 1.เขียวเลา ใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ 2.เขียวเลาเล็กหางขาว 3.เขียวเลาดอกหางขาว
ไก่เขียวเลาหางขาว
ไก่ลายหางขาว
เพศผู้ขนพื้นตัวลาย ขนปีก ขนหางพัดลาย หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายลาย ส่วนปาก แข้ง เล็บ เป็นสีขาว อมเหลือง
ไก่ลายหางขาว
ไก่ขาวหรือไก่ชี
ชีเพศผู้ขนพื้นตัวสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นระย้าสีขาวรับกันกับปาก แข้ง เล็บ และมีเดือย สีขาวอมเหลือง หางดัด กางกะลวยเป็นสีขาว ส่วนลักษณะเพศเมียเหมือนเพศผู้ ไก่ขาวแบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ ไก่ชีขาว แพรขาว ขาวกระดำ และขาวกระแดง
ไก่ขาวหรือไก่ชี
ไก่นกแดง
เพศผู้ขนพื้นลำตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงเพลิงตลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ด้านขนสีแดง หางพัด หาง กะลวย ก้านหางสีแดง และเป็นรู้หางม้า ปากสีเหลืองอมแดง รับกับสีแข้ง เล็บ และเดือย ไก่นกแดงมี 4 เฉดสี คือ แดงชาด แดงทับทิม แดงเพลิง และแดงนาก ส่วนเพศเมีย ขนพื้นตัว ขนหลัง ขนหาง และขนสร้อยคอ มีสีแดงรับกันตลอดทั้งตัว ปาก แข้ง เดือย เหมือนเพศผู้
ไก่นกแดง
ไก่เทา
เพศผู้มีขนสร้อยคอ สร้อยหลังสีเหลือง หางพัด และหางกะลวยสีเทาปนขาวสลับดำ ขนพื้นตัวสีเทาตลอดส่วนปาก แข้ง เดือยสี ขาวอมเหลือง สีเทาอมดำ เรียกว่า ”เท่าขี้ควาย” สีเทาอมขาวเรียกว่า ”เทาขี้เถ้า” และสีเทาสร้อยเหลือง เป็นไก่เทายอดนิยมเรียก ว่า ”เทาฤๅษี” หรือ ”เทาทอง” เพศเมียขนพื้นตัว ขนหลัง ขนปีก ขนหาง และขนสร้อยคอเป็นสีเทากันตลอดทั้งตัว ส่วนปาก แข้ง เดือย เหมือนเพศผู้
ไก่เทา
ไก่นกกรด
เพศผู้ ขนพื้นลำตัวสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปี สร้อยหลังระย้าเป็นสีแดงอมน้ำตาลอ่อนๆ ขนหางพัด หางกะลวยสีดำปลอด ไม่มีสีอื่นแซม แต่ก้านขนจะมีสีแดงเข้ม ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองแกมแดง ไก่นกกรดแบ่งได้ 4 สี ได้แก่ นกกรดแดง นกกรดดำ นกกรดเหลือง และนกกรดกะปูด ส่วนเพศเมียขนพื้นลำตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย ขนสร้อยคอ ขนหลัง ขนปีก มีสีน้ำตาล ปลายปีกสีน้ำตาลเข้ม ส่วนอื่นๆ เหมือนเพสผู้
ไก่นกกรด
ไก่ทองแดง
เพศผู้ ขนพื้นตัวตั้งแต่บริเวณหน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้องเป็นสีแดง หางพัด กะลวยสีดำสนิทไม่มีสีอื่นแซม หางยาวพุ่งตรง สวยงาม ส่วนปาก แข้ง เล็ด มีสีเหลืองอมแดง ดวงตาสีแดง ไก่ทองแดงหางดำ แบ่งได้ 4 สี ได้แก่ ทองแดงใหญ่ ทองแดง ตะเภาทอง ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ส่วนเพศเมียขนสีพื้นตัวด้านล่าง หน้าคอ หน้าอก ในปีก ใ ต้ท้อง ก้นมีสีแดง และส่วนอื่นๆ เหมือนเพศผู้
ไก่ทองแดง
ไก่สีดอกหมากหางขาวหรือลีโย
ไก่พันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดทางภาคกลาง คล้ายไก่เหลืองหางขาวผสม ลักษณะสร้อยคอปลายขนจะออกขาวอมเหลือง คล้ายสีดอก หมาก กะลวยหางสีขาวปลอดสีดำที่ปลายหาง พื้นตัวสีดำ เดือยและก้านปีกสีขาวอมเหลือง
ไก่สีดอกหมากหางขาวหรือลีโย
ไก่พม่า
เป็นไก่ที่นำเข้าจากพม่า ตัวเล็กน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ปากแหลมสีดำ ขนสีดอกหมาก สร้อยคอสร้อยสร้อยปีกเป็นสีดอก หมาก หางสีดำ แข้งเล็กสีดำ หรือบางตัวจะเป็นไก่สีกรดมีความว่องไวมาก กระโดดสูง นิยมเลี้ยงกันทางภาคเหนือ ส่วนภาค อื่นๆ นิยมนำมาเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผสมสายพันธ์ตามชั้นเชิงที่ต้องการ
ไก่พม่า
ไก่ด่างเบญจรงค์
ไก่ด่างเบญจรงค์
ไก่เหล่าป่าก๋อย
ไก่เหล่าป่าก๋อย

0 comments:

Post a Comment