"ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง"
ชาวพิษณุโลกได้ยินได้พูดคำคล้องจองนี้มาตั้งแต่โบราณกาล
แสดงว่าไก่สกุลเหลืองหางขาวเป็นไก่สกุลสูงรูปร่างสวยงามและยังชนเก่ง
เป็นไก่ที่ผูกขาดการเลี้ยงในวังและเจ้านายในวังเท่านั้น
เมื่อเวลาล่วงเลยมาหลายร้อยปี
ไก่สกุลเหลืองหางขาวได้แพร่พันธุ์มาสู่เกษตรกรราษฎรชาวไทยทั่วประเทศ
และความเก่งของไก่เหลืองหางขาวยังเป็นที่ยอมรับของนักเลงไก่ทั่วไป
จึงมีคำพังเพยว่า "ไก่เหลืองหางขาวกินเหล้าเชื่อ" นี่เป็นที่เลื่องลือกัน ถ้าไก่เหลืองหางขาวเปรียบได้คู่ตี แล้วไปสั่งเหล้ามากินก่อนได้
430 ปี แล้วที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ชนไก่พระมหาอุปราชา เมื่อพระชนมายุได้ 23 พรรษา ตรงกับ พ.ศ. 2121
ซึ่งนับถึงปัจจุบันจะได้ 430 ปีพอดี
เมื่อเราย้อนอดีตจะเห็นได้ว่าพระปรีชาสามารถของท่านที่กล้าท้าพระมหาอุปราชา
ชนไก่พนันเอาบ้านเมืองเป็นเดิมพัน ไก่ชนของเราต้องเก่งจริงๆ
แล้วมาถึงปัจจุบันลูกหลานคนไทยเราได้ทำอะไรบ้างเกี่ยวกับไก่ชนสายพันธุ์นี้
เราต้องกระตุ้นเตือนให้นักเลงไก่ชนนักอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และผู้บริหารระดับ
สูงให้หันมาสนใจไก่ชนพระนเรศวรสายพันธุ์ที่เก่งและมีบุญคุณอันสูงส่งต่อ
ประเทศไทย และความเป็นคนไทยของเราวันที่ 29 กรกฎาคม 2533
สิบสองปีมาแล้วที่จังหวัดพิษณุโลกจัดประกวดไก่ชนพระนเรศวรครั้งแรกของประเทศ
ไทย เป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่และท้าทายที่สุด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เพราะว่าในการประกวดไก่ครั้งนี้
ผู้ส่งไก่เข้าประกวดยังไม่รู้เลยว่าไก่ชนพระนเรศวรหน้าตาเป็นอย่างไร
เพียงแต่ทราบข่าวว่ามีการประกวดไก่ชนพระนเรศวรก็นำไก่ที่ตัวเองเลี้ยงไว้มา
ประกวดถึง 633 ตัว ส่วนการตัดสินนั้นผู้เขียนได้ศึกษามาแล้วก่อนล่วงหน้า
ตั้งแต่มาทำงานที่พิษณุโลก
และมีเป้าหมายที่ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่ชนพระนเรศวร
คณะกรรมการตัดสินก็ลงความเห็นเช่นเดียวกัน
จึงเกิดมีการประกวดแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาปี พ.ศ. 2535
ผู้เขียนได้เขียน "เรื่องไก่ชนพระนเรศวร"
และตั้งกลุ่มอนุรักษ์ขึ้นมาจึงทำให้เราได้ใช้มาตราฐานพันธุ์ (อุดมทัศนีย์)
ตามที่ได้เผยแพร่มาจนปัจจุบัน เป็นที่น่าดีใจที่ รศ.ดร.อภิชัย รัตนวราหะ
ได้ก่อตั้ง "สมาคมอนุรักษ์ และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทย" ในปี พ.ศ. 2540 ให้เป็นศูนย์รวมผู้สนใจผู้เลี้ยง นักเลงไก่ ตลอดจนชมรมต่างๆ ทั่วประเทศไทยอาจารย์ประดิษฐ์ เชื้อสิงห์ นับว่าเป็นผู้ที่ร่วมก่อตั้งชมรม
และการประกวดไก่ชนพระนเรศวร คู่กับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกตลอดมา
เป็นผู้ที่ยอมรับนับถือของนักเลี้ยงไก่ชน และการประกวดไก่ชนทั่วประเทศ
ท่านเป็นผู้ที่เสียสละและทุ่มเทเกี่ยวกับเรื่องไก่ชนพระนเรศวร
ในงานแสดงละครกลางแจ้งของทุกปีที่แสดงพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในฉากชนไก่ อาจารย์ประดิษฐ์ เชื้อสิงห์
จะต้องจัดหาไก่และเข้าฉากแสดงทุกครั้ง
ที่ขาดไม่ได้เลยในพิธีบวงสรวงพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรฯ ในวันที่ 25
มกราคมของทุกปี ท่านอาจารย์จะรับหน้าที่จัดหาไก่ชนพระนเรศวร
และไก่พม่ามาตีกันและเข้าร่วมในพิธีทุกครั้งเช่นกันที่ได้เล่ามาทั้งหมดนี้ เป็นการจุดประกายให้พวกเราได้คิดว่า 430
ปีแล้ว เราทำงานได้ 12 ปี มีผลงานนิดเเดียว
เราน่าจะทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ชนไก่ "วันที่เท่าไร" "เดือนอะไร"
อยากให้พวกเราได้คนคว้าจะได้มาจัดงานตรงกับวันที่ท่านชนไก่ชนะให้ยิ่งใหญ่
ทุกๆ ปี
นอกจากนี้นักอนุรักษ์ของเราได้ผสมพันธุ์สายพันธุ์นี้ได้นิ่งแล้วหรือยัง
นิ่งหมายความว่าลูกไก่ในฟาร์มที่เกิดมาต้องเป็นไก่เหลืองหางขาวทุกตัว
นี่เป็นเรื่องใหญ่ เป็นงานหนักของพวกเราที่ต้องทำให้ได้
ซึ่งจะนำผลไปสู่การศึกษาเรื่อง ดี.เอ็น.เอ การจดลิขสิทธิ์พันธุ์
ตลอดจนการเก็บอนุรักษ์ยีนส์ไว้ เรื่องนี้กรมปศุสัตว์กำลังดำเนินการอยู่
จะเห็นว่างานข้างหน้าที่พวกเรากำลังเดินอยู่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งกำลังกายและ
กำลังความคิด ขอให้พวกเราช่วยกันก็จะประสบความสำเร็จเป็นแน่แท้
|
ไก่ชนต้นแบบที่ชนะเลิศการประกวดในงานฉลองครองราชย์ 400 ปี สมเด็จพระนเรศวร ปี 2533 |
0 comments:
Post a Comment